Categories: FinanceNews Update

คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี

คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นชั่วคราวจากราคาพลังงานเป็นหลัก แต่ยังต้องติดตามพัฒนาการเงินเฟ้อโลกและการส่งผ่านต้นทุน ทั้งนี้ การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron เป็นความเสี่ยงสำคัญต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโดยรวมในระยะข้างหน้า จึงจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป คณะกรรมการฯ เห็นว่านโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในภาพรวม จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ประกอบกับมาตรการทางการเงินการคลังที่มีความต่อเนื่องเน้นการฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้รายได้ฟื้นตัวอย่างเข้มแข็ง

คณะกรรมการฯ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 0.9 ในปี 2564 และจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2565 และ 2566 ที่ร้อยละ 3.4 และ 4.7 ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะทยอยกลับมามากขึ้น ทั้งนี้ การฟื้นตัวในหลายสาขาธุรกิจมีแนวโน้มปรับดีขึ้นสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ประเมินว่าการระบาดของสายพันธุ์ Omicron จะกระทบเศรษฐกิจในช่วงแรกของปี 2565 โดยยังมีความเสี่ยงด้านต่ำที่ผลกระทบอาจรุนแรงและยืดเยื้อกว่าคาด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดและความเข้มงวดของมาตรการควบคุม นอกจากนี้ ยังต้องติดตามการฟื้นตัวของตลาดแรงงาน โดยเฉพาะการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ยังอยู่ต่ำกว่าช่วงก่อน
การระบาด

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางคาดว่าจะอยู่ในกรอบเป้าหมาย และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2564 2565 และ 2566 จะอยู่ที่ร้อยละ 1.2 1.7 และ 1.4 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเพิ่มขึ้นชั่วคราวจากปัจจัยด้านอุปทานโดยเฉพาะราคาพลังงาน ซึ่งคาดว่าจะคลี่คลายในช่วงครึ่งหลังของ
ปี 2565 ทั้งนี้ โอกาสที่แรงกดดันเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่องยังมีไม่มากจากความสามารถในการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการที่ยังจำกัดจากเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว รวมถึงการจ้างงานและรายได้แรงงาน
ที่ยังเปราะบาง อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ ประเมินว่ายังมีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่าคาดในบริบทที่เงินเฟ้อโลกปรับสูงขึ้นเร็ว โดยจะติดตามพัฒนาการของปัจจัยข้างต้นอย่างใกล้ชิด

สภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง แต่ความเสี่ยงด้านเครดิตยังเป็นอุปสรรคต่อ
การกระจายตัวของสินเชื่อ โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ SMEs ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยรวมทรงตัว สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. ยังคงเคลื่อนไหวผันผวนในระดับสูงจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19 ที่อาจรุนแรงขึ้นและการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักภายใต้แรงกดดันเงินเฟ้อในระดับสูง คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ เห็นควรให้ผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของ

ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs ป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น
คณะกรรมการฯ เห็นว่ามาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยมาตรการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาดที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องยังมีความสำคัญ มาตรการการคลังควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างตรงจุด โดยเน้นการสร้างรายได้และเร่งเตรียมมาตรการเพื่อฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ ขณะที่นโยบายการเงินช่วยสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลายต่อเนื่อง สำหรับมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุดและลดภาระหนี้

อาทิ มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู มาตรการพักทรัพย์พักหนี้ และมาตรการอื่น ๆ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งสนับสนุน การรวมหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อรายย่อยอื่น ๆ (debt consolidation) และปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน (มาตรการแก้หนี้ระยะยาว 3 ก.ย. 64) ให้เห็นผลในวงกว้างและสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในระยะยาว

ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ยังคง
ให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ได้แก่ พัฒนาการของการกลายพันธุ์ของ COVID-19 ความเพียงพอของมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ และการส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้น โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมเพิ่มเติมหากจำเป็น

BizTalk NEWS

Recent Posts

AIS-True เปิดฉากระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ทั่วไทย พร้อมปฏิบัติการทันทีเมื่อรัฐบาลสั่งการ

AIS และ True Corporation สองผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ ได้ประกาศความพร้อมในการเปิดใช้งานระบบแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast และ SMS ครอบคลุมทั่วประเทศ พร้อมปฏิบัติการทันทีเมื่อหน่วยงานภาครัฐสั่งการ AIS: ระบบ Cell…

13 hours ago

ดีพร้อม-บางจากฯ ผนึก 5 พันธมิตรธุรกิจ ผลิต “น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน” 1 ล้านลิตรต่อวัน ดันไทยสู่ฮับการบินพลังงานสะอาด ชิงความได้เปรียบเศรษฐกิจโลก

กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) ประกาศความร่วมมือครั้งประวัติศาสตร์ จับมือ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ 5 องค์กรธุรกิจยักษ์ใหญ่ของประเทศ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU)…

15 hours ago

ก.อุตฯ ผนึก World Bank เปิดเกมรุก “Industrial Decarbonization” ดันไทยสู่ Hub ลงทุนสีเขียว

“เอกนัฏ พร้อมพันธุ์” เปิดเวที CEO Forum ชูแนวทาง Industrial Decarbonization ภายใต้โครงการ Low Carbon City หนุนผู้ประกอบการไทยลดคาร์บอน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมประกาศเจตนารมณ์ร่วมลดก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน…

17 hours ago

Tops เขย่าตลาด FMCG ปี 68 ทุ่ม 5,000 รายการ Own Brand ชูคุณภาพพรีเมียม ราคาโดนใจ ผนึกชุมชนโกอินเตอร์

ท็อปส์ (Tops) ประกาศศักดาผู้นำตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG) ปี 2568 ทุ่มงบไม่อั้น พัฒนาพอร์ตสินค้า Own Brand ทะลุ 5,000 รายการ ชูจุดแข็งด้านคุณภาพระดับพรีเมียม ในราคาที่เข้าถึงได้…

19 hours ago

รฟม. แจ้งรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู เปิดให้บริการเดินรถ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี (PK01) – สถานีตลาดมีนบุรี (PK29) และจัด Feeder รับ – ส่ง สถานีตลาดมีนบุรี (PK29) – สถานีมีนบุรี (PK30)

ตามที่ เกิดเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา โดยแรงสั่นสะเทือนได้ส่งผลกระทบมาถึงกรุงเทพมหานคร ทำให้รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู (MRT สายสีชมพู) ต้องงดให้บริการชั่วคราว เพื่อแก้ไขรางจ่ายไฟเพื่อความปลอดภัยในการเดินรถ นั้น จากการตรวจสอบพบว่าเกิดความเสียหายที่แผ่นปิดรอยต่อคานทางวิ่ง จำเป็นต้องซ่อมแซม ซึ่ง กระทรวงคมนาคม, กรมการขนส่งทางราง…

19 hours ago

“แสตมป์ กระจกเกรียบ” ศิลปะล้ำค่าแห่งสยาม ไปรษณีย์ไทยเปิดตัวแสตมป์ที่ระลึก วันอนุรักษ์มรดกไทย 2568 ดันไทยสู่สายตาโลก

ไปรษณีย์ไทย ได้เปิดตัวแสตมป์ที่ระลึกชุดพิเศษเนื่องในโอกาสวันอนุรักษ์มรดกไทย พุทธศักราช 2568 ด้วยการนำเสนอศิลปกรรมอันทรงคุณค่าที่กำลังจะเลือนหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ นั่นก็คือ "กระจกเกรียบ" ศิลปะแห่งสยามประเทศที่มีความงดงามเป็นเอกลักษณ์แต่กลับหาชมได้ยากยิ่งในปัจจุบัน โดยมีกำหนดการเปิดจำหน่ายทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พุทธศักราช 2568 เป็นต้นไป ในราคาดวงละ…

20 hours ago

This website uses cookies.