คมนาคม แจงยิบกรณีค้านสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว กระทรวงคมนาคมโดยนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม พร้อมผู้บริหารกรมการขนส่งทางรางและผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ได้แถลงข่าวกรณีการเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เรื่อง ขอความเห็นชอบผลการเจรจาและเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 16.00 น ณ ห้องราชดำเนิน กระทรวงคมนาคม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
กระทรวงคมนาคมเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยยึดหลักความถูกต้อง และประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนพึงจะได้รับเป็นลำดับแรก ดังนั้น จะเห็นได้ว่าความเห็นของกระทรวงคมนาคมจึงให้ความสำคัญกับอัตราค่าโดยสารที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างยั่งยืนจากปัจจุบันไปสู่อนาคตถึงปี 2602 การกำหนดเงื่อนไขของการเข้าระบบตั๋วร่วมที่ครอบคลุมทุกโครงข่าย และความถูกต้องครบถ้วนของขั้นตอนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นสำคัญ และจะทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ โดยมีปริมาณผู้โดยสารมากขึ้นจากอัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรม โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้กรุงเทพมหานครเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือที่ทำร่วมกันไว้ กำหนดไว้ชัดเจนว่าอนุญาตให้กรุงเทพมหานครเข้าพื้นที่และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ซึ่งไม่ได้หมายรวมถึงกรณีที่กรุงเทพมหานครจะไปว่าจ้างเอกชนรายใดมาดำเนินการ ดังนั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจึงไม่รับทราบหนี้สินของกรุงเทพมหานครในส่วนที่ไปว่าจ้างบริษัทเอกชนดำเนินการ กรมการขนส่งทางราง ได้ชี้แจงในรายละเอียดถึงเหตุผลที่กระทรวงคมนาคมเห็นว่าผลการเจรจาและร่างสัญญาที่กรุงเทพมหานครเสนอคณะรัฐมนตรี ยังไม่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและทางราชการ ดังนี้ 3.1 เงื่อนไขการจัดเก็บค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อ ผลการเจรจาต่อรองผู้รับสัมปทาน ข้อ 4.4 กำหนดจะยกเว้นค่าแรกเข้าเฉพาะระบบเปลี่ยนถ่ายมาจากโครงการฯ ภายใต้ระบบตั๋วร่วมเท่านั้น โดยที่ระบบตั๋วร่วมจะต้องไม่มีการแก้ไขระบบที่ติดตั้งไว้เดิม ซึ่งไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจำหน่ายทรัพย์สินและโอนภาระทางการเงิน โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ และช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต (MOU) ของ รฟม. กับ กรุงเทพมหานครฯ เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2561 ข้อ 7 ที่กำหนดให้ กทม. รับทราบนโยบายของรัฐบาล เรื่องค่าแรกเข้าระบบ และระบบตั๋วร่วม โดยกรุงเทพมหานครฯ จะดำเนินการให้มีการยกเว้นค่าแรกเข้าระบบหรือค่าธรรมเนียมในลักษณะเดียวกัน หากผู้โดยสารเปลี่ยนถ่ายจากรถไฟฟ้าสายอื่นของ รฟม. โดยระบบโครงการรถไฟฟ้าที่ผู้โดยสารขึ้นลำดับแรกจะเป็นผู้ได้รับค่าแรกเข้าระบบ ดังนั้น การดำเนินงานเรื่องระบบตั๋วร่วม หากไม่มีการแก้ไขระบบที่ติดตั้งไว้เดิม จะไม่เกิดระบบตั๋วร่วมในการเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีเขียว อาจทำให้เป็นข้อจำกัดที่จะยกเว้นค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อได้ โดยกระทรวงคมนาคม มีข้อกำหนดการจัดเก็บค่าแรกเข้าของรถไฟฟ้า ดังนี้ การกำหนดการจัดเก็บอัตราค่าแรกเข้าในการเดินทางเชื่อมต่อของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อเป็นเกณฑ์มาตฐานให้ผู้ให้บริการขนส่งทางรางนำไปใช้ในการจัดเก็บอัตราค่าแรกเข้าเมื่อการเดินทางเชื่อมต่อของโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ให้ผู้ให้บริการเดินรถจัดเก็บค่าโดยสารแรกเข้าเพียงครั้งเดียวไม่ว่าผู้โดยสาร จะเดินทางรถไฟฟ้าเส้นทางเดียว หรือหลายเส้นทาง กรณีผู้ใช้บริการขนส่งทางรางเดินทางเปลี่ยนถ่ายระหว่างเส้นทางรถไฟฟ้าของ ผู้ให้บริการขนส่งทางราง ไม่ว่ากี่เส้นทางให้ผู้ใช้บริการเสียค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว 3.2 รายได้กรณีรัฐดำเนินการเอง การใช้สินทรัพย์ของรัฐที่ได้รับโอนจากเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรพิจารณาถึงการใช้สินทรัพย์ว่ารัฐควรได้ประโยชน์จากการขยายสัมปทานเป็นจำนวนเท่าไหร่ อย่างไร จนกว่าจะครบอายุสัญญา โดยคำนึงถึงค่าโดยสารที่เหมาะสมและเป็นธรรมกับผู้ใช้บริการเพื่อส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากรายงานการศึกษาแนวทางการดำเนินการและผลสรุปการเจรจาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว บทที่ 5 มีผลสรุปว่า กรณีรัฐดำเนินการเอง รวมปี 2562–2602 จะมีรายได้รวม 1,577,141 ล้านบาท มีค่าใช้จ่าย 1,109,312 ล้านบาท ทำให้มีกระแสเงินสดสุทธิ 467,822 ล้านบาท กรณีเอกชนดำเนินการ พบว่า ภาครัฐจะมีกระแสเงินสดสุทธิเพียง 32,690 ล้านบาท ดังนั้น จึงสรุปได้ว่ากรณีรัฐเป็นผู้จ้างเดินรถ จะทำให้รัฐมีกระแสเงินสดสุทธิมากกว่า กรณีให้เอกชนดำเนินการสูงถึง 435,132 ล้านบาท 3.3 การคิดอัตราค่าโดยสารไม่เป็นไปตาม MRT Assessment Standardization การกำหนดค่าโดยสารสูงสุดที่ 65 บาท ตามร่างสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว มีเงื่อนไขจะเริ่มใช้หลังวันที่ 5 ธันวาคม 2572 ดังนั้น ช่วงระหว่างรอต่อสัญญาทำให้ปัจจุบัน การกำหนดค่าโดยสารตลอดสายอยู่ที่ 158 บาท แต่ กทม. มีการยกเว้นค่าแรกเข้า จึงคงเหลืออัตราค่าโดยสารที่ 104 บาท ปัจจุบันไทยใช้รูปแบบค่าโดยสารรถไฟฟ้าตามระยะทาง (Distance – Base Fare) ตามมาตรฐาน MRT Assessment Standardization ซึ่งค่าโดยสารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ค่าแรกเข้า และค่าโดยสารตามระยะทาง โดยใช้ดัชนี CPI :Non Food & Beverages ประกอบการคำนวณอัตราค่าแรกเข้า ทั้งนี้ โครงสร้างอัตราค่าโดยสารในปี 2563 จึงควรมีอัตราค่าแรกเข้าที่ 12 บาท และค่าโดยสารตามระยะทาง 2 บาท (โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร คือ 12+2X) ในขณะที่ผลการเจรจาต่อรองผู้รับสัมปทาน ข้อ 4 กำหนดอัตราค่าโดยสารแรกเข้า 15 บาท ค่าโดยสารต่อสถานี 3 บาท (โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร คือ 15+3X) โดยใช้ Headline CPI หรือ ดัชนีราคาที่รวมสินค้าทุกหมวด ทำให้อัตราค่าโดยสารสูงกว่าการใช้ ดัชนี CPI : Non Food & Beverages เมื่อเปรียบเทียบรายได้ค่าโดยสารจากสูตร MRT Assessment Standardization และข้อเสนอของ BTS พบว่า ข้อเสนอของ BTS จะมีรายได้ค่าโดยสารมากกว่าแบบ MRT Assessment Standardization ประมาณ 4.6 แสนล้านบาท ดังนั้น โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร คือ 12+2X ของ MRT Assessment Standardization จะทำให้ผู้โดยสารจะได้รับประโยชน์จากค่าโดยสารที่ถูกลง และรัฐบาลจะสามารถช่วยลด ค่าครองชีพ ให้ผู้โดยสารได้ปีละ 15,000 ล้านบาท 3.4 ข้อเสนอเพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน เนื่องจาก ร่างสัญญาสัมปทาน ไม่มีเงื่อนไขที่ระบุชัดเจนถึงมาตรการส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยมาใช้บริการ รวมถึงมาตรการส่งเสริมการเดินทางด้วยบัตรโดยสารรายเดือนเพราะเป็นดุลพินิจ ของเอกชน โดยภาครัฐไม่มีส่วนในการกำกับดูแล ดังนั้น กทม. ควรมีมาตรการส่งเสริมการเดินทาง เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชน และประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด รฟม. ได้ยืนยันถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสิ่งก่อสร้างและที่ดินตลอดแนวโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 ช่วง เนื่องจาก ปัจจุบัน รฟม. ยังไม่สามารถโอนหนี้สินจากการก่อสร้าง ช่วงหมอชิต-คูคตให้แก่ กทม. อันเป็นผลจากยังไม่สามารถสรุปรายละเอียดด้านการเงินช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ทำให้ ไม่สามารถโอนโครงการได้ และได้ดำเนินการติดตามการจัดทำรายละเอียดเป็นหนังสือถึง กทม. เป็นระยะ แต่ยังคงไม่ได้รับคำตอบ กระทรวงคมนาคมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กรุงเทพมหานครจะพิจารณาทบทวนการดำเนินการโดยมุ่งเน้นที่ประโยชน์สูงสุดที่ประชาชนและภาครัฐพึงได้รับจากการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งระบบ โดยดำเนินการให้ครบถ้วน และถูกต้องตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และหลักธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ต่อไป
Recent Posts สิงคโปร์ เตรียมเป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพระดับโลก GITEX ASIA เป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 23 - 25 เมษายน 2568 ณ มารีน่า เบย์ แซนด์ส…
“กรุงศรี ออโต้” ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญ ด้วยผลงานพอร์ตสินเชื่อรถจักรยานยนต์ประจำปี 2567 ที่เติบโตอย่างโดดเด่นถึง 10% สวนทางกับภาพรวมตลาดที่หดตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยอดสินเชื่อใหม่ที่ดำเนินการผ่านช่องทางดิจิทัลเติบโตสูงถึง 22% สะท้อนถึงความแข็งแกร่งและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อบริการของกรุงศรี มอเตอร์ไซค์ ชญาน์ธิป พันธุ์มณี…
ดีป้า เผยผลสำรวจล่าสุด ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลไตรมาสแรกปี 2568 กลับสู่แดนบวกที่ระดับ 50.1 หลังอานิสงส์มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ยนโยบายผ่อนคลาย และการแข่งขันเทคโนโลยี AI ระดับโลก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความกังวลเรื่องค่าแรงขั้นต่ำ กีดกันการค้า และการปรับตัวไม่ทันเทคโนโลยีใหม่…
เทศกาลสงกรานต์ปี 2568 ที่เซ็นทรัลพัฒนาจัดขึ้นทั่วประเทศภายใต้ชื่องาน ‘Thailand’s Songkran Festival 2025’ ปิดฉากลงอย่างสวยงาม สร้างปรากฏการณ์ความสนุกและความประทับใจครั้งยิ่งใหญ่ ด้วยยอดผู้เข้าร่วมงานรวมทั่วประเทศกว่า 10 ล้านคน ตอกย้ำความเป็นผู้นำ Festive Landmark…
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยความสำเร็จอันงดงามของการจัดงาน "Maha Songkran World Water Festival 2025" ณ บริเวณท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร โดยในช่วง 3 วันแรกของการจัดงาน…
กรมการขนส่งทางรางเผยวันที่สาม (13 เมษายน 2568) ของวันหยุดยาวต่อเนื่องของเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 มีผู้ใช้บริการระบบราง รวม 1.10 ล้านคน-เที่ยว ไม่มีเหตุอันตรายต่อการเดินรถไฟ สะสม 3 วัน…
This website uses cookies.
Accept