นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าผลการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะ 2 (M-MAP 2) ว่าปัจจุบันกระทรวงคมนาคมอยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 1 ซึ่งจากการดำเนินการโครงการรถฟ้าก่อให้เกิดการพัฒนาพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงาน
ย่านธุรกิจ ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทรวงคมนาคมจึงได้มอบหมายให้ สนข. ทำการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะ 2 (M-MAP 2) โดยเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้บันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation : MOC) ด้านการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งดำเนินการโดย กระทรวงคมนาคมของไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism : MLIT)
นายชัยวัฒน์ฯ กล่าวต่อว่า การศึกษาและจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะ 2 (M-MAP 2) มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายการพัฒนาแผนแม่บท M-MAP 2 เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะ 2 และปรับปรุงแบบจำลองการเดินทาง ระดับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (extended Bangkok Urban Model : eBUM) สำหรับใช้วิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณความต้องการการเดินทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งจัดทำแผน
การดำเนินงานระยะกลางและระยะยาว โดยในระยะที่ 1 : ปี 2560-2561 เป็นการจัดทำทิศทางและนโยบายการพัฒนาฯ พร้อมทั้งปรับปรุงแบบจำลอง eBUM ส่วนระยะที่ 2 : ปี 2562 เริ่มลงพื้นที่สำรวจและเก็บข้อมูลรายละเอียดที่ใช้ในการพัฒนาแผนแม่บทฯ และในระยะที่ 3 : ปี 2563 จะเป็นการจัดทำแผนแม่บท M-MAP 2 อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ทิศทางการพัฒนาแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะ 2 (M-MAP 2) แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย
1.เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร โดยการเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับการคมนาคมขนส่งของระบบขนส่งมวลชนทางรางในปัจจุบันให้สูงขึ้น เช่น การเพิ่มขบวนรถไฟฟ้าและความถี่ในการให้บริการ พร้อมทั้งขับเคลื่อนให้มีการดำเนินการตามแผนระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่ 1 (M-MAP) อย่างครบถ้วน มีการเพิ่มโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่ศูนย์กลางเมืองที่ยังไม่มีโครงข่ายเข้าถึง และการส่งเสริมให้มีรูปแบบการขนส่งสาธารณะต่อเนื่องหลายรูปแบบ
2.เพื่อส่งเสริมและพัฒนาโครงข่ายรถไฟในภาพรวมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในพื้นที่ที่มีความต้องการการเดินทางสูงแต่โครงข่ายยังเข้าไม่ถึง และพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีการเชื่อมโยงระหว่างศูนย์กลางเมืองและเมืองรอง ส่งเสริมให้มีการใช้โครงข่ายรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในปัจจุบัน ให้มีการเชื่อมต่อกับโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน
รวมทั้งส่งเสริมให้มีสถานีขนส่งสำหรับเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างศูนย์กลางเมืองและเมืองรอง ตลอดจนการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีโดยรอบ
3.เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงสถานี โดยการพัฒนาจุดเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการเดินทาง (Inter-modal facilities) เพื่อให้มีความสะดวกและความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ พร้อมกับบูรณาการการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี
4.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะ โดยให้ผู้โดยสารสามารถเข้าถึงข้อมูลการเดินทางได้อย่างสะดวก มีนโยบายอัตราค่าโดยสารที่ดึงดูดผู้ใช้บริการและเงินสวัสดิการสนับสนุนค่าใช้จ่าย
การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะจากนายจ้างประจำ และนโยบายด้านความปลอดภัยและสิ่งอำนวยความสะดวก รวมไปถึงความรวดเร็วในการเดินทาง และมีมาตรการในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาเมื่อประสบเหตุฉุกเฉินต่างๆ
5.เพื่อเพิ่มการเข้าถึงสนามบิน (Global gateways) โดยการจัดเตรียมแนวเส้นทางที่เหมาะสมในการเดินทางเข้าสู่สนามบิน เพื่อลดระยะเวลาในการเดินทางเข้าสู่สนามบิน เช่น จัดให้มีรถไฟขบวนด่วนพิเศษ เป็นต้น
นายชัยวัฒน์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการกำหนดนโยบายและมาตรการ เพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพิ่มมากขึ้นนั้น จะต้องมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนเห็นประโยชน์และความสำคัญ เช่น การให้ใบรับรองแก่บริษัทที่สนับสนุนให้พนักงานใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ให้ความรู้ในเรื่องการใช้
ระบบขนส่งสาธารณะในโรงเรียน มีการสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้พนักงานแต่ละบริษัทเดินทางมาทำงานโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การไม่ส่งเสริมให้ขับรถยนต์มาทำงานสำหรับพนักงานที่อาศัยอยู่ในรัศมีไม่เกิน 2 กิโลเมตร
จากที่ทำงาน และให้มีการลดค่าโดยสารในช่วงเวลาไม่เร่งด่วนหรือเมื่อใช้บัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะให้มีความปลอดภัยในการใช้บริการ เช่น การใช้บริการรถไฟฟ้าของเด็กนักเรียน เมื่อเด็กนักเรียนใช้บริการรถไฟฟ้าด้วยบัตรรถไฟฟ้าระบบจะส่งข้อความผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่แจ้งให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้บริการ ตลอดจนมีการกำหนดมาตรการจำกัดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยการจำกัดที่จอดรถและเพิ่มค่าจอดรถในย่านใจกลางเมือง กำหนดวันปลอดรถยนต์ (Car free day) และเพิ่มอัตราภาษีรถยนต์ เป็นต้น
นายชัยวัฒน์ฯ กล่าวตอนท้ายว่า เมื่อการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะ 2 (M-MAP 2) ดำเนินการแล้วเสร็จ จะใช้ในการวางแผนพัฒนาระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ประชาชนจะสามารถเดินทางได้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย ลดการใช้พลังงานในภาคขนส่ง ส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจ เกิดการพัฒนาพื้นที่ แก้ไขปัญหาการจราจร ตลอดจนจะเป็นระบบคมนาคมหลักที่สามารถรองรับการเดินทางที่เพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยสำนักงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สปอ.) ลงพื้นที่ตรวจความปลอดภัยในการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี บริเวณสถานีอิมแพ็คเมืองทองธานี (MT01) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02) ทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน…
วันนี้ (22 เมษายน 2568) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration) หรือ FAA ได้ประกาศผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ…
vivo ตอกย้ำผู้นำสมาร์ทโฟนแบตเตอรี่อึด เปิดตัวน้องใหม่ V50 Lite มาพร้อมสโลแกน "แบตอึด จนขอท้า" และแบตเตอรี่ BlueVolt 6500mAh สุดทนทาน เสริมทัพด้วยสมาร์ทวอตช์ดีไซน์ล้ำสมัย Watch GT…
มหกรรมฟินเทคระดับโลก Money20/20 เปิดฉากขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ ตอกย้ำสถานะของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมการเงินและเทคโนโลยีที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การกลับมาจัดงานครั้งนี้สะท้อนถึงความสำเร็จในการสร้างโอกาสทางธุรกิจอันมหาศาลให้กับผู้เข้าร่วมงานชั้นนำทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รายงานล่าสุดที่จัดทำโดย Money20/20 ร่วมกับ FXC Intelligence ซึ่งเปิดเผยเป็นครั้งแรกในงานนี้ คาดการณ์ว่า ปริมาณการชำระเงินระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตแบบก้าวกระโดด เกือบสองเท่าภายในปี พ.ศ.…
ซีเค พาวเวอร์ CKPower ผู้นำด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตอกย้ำเจตนารมณ์ในการสร้างคุณค่าสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง สานต่อ "โครงการหิ่งห้อย" เข้าสู่ปีที่ 8 ภายใต้แนวคิด "จุดประกายการเรียนรู้ เปิดประตูสู่ความยั่งยืน" โดยล่าสุดได้ส่งมอบอาคารห้องสมุดประหยัดพลังงานแห่งใหม่ พร้อมส่งเสริมองค์ความรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้แก่นักเรียน…
ซัมซุง (Samsung) เตรียมเขย่าวงการทีวีด้วยการประกาศเปิดตัว "ทีวี AI ตัวจริง - Samsung Vision AI is here" พร้อมยกทัพ Samsung AI…
This website uses cookies.