ดีพร้อม ปั้น “แลนด์มาร์คอาราบิก้า” รับมาร์เก็ตแชร์กว่า 4 หมื่นล้านผ่าน 6 โมเดล

การยกระดับกาแฟอาราบิก้าอย่างครบวงจรจากต้นสู่แก้ว (Coffee to Cup : C2C) ภายใต้อัตลักษณ์กาแฟภาคเหนือ โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน ได้ทำให้มูลค่าของตลาดกาแฟในภาคเหนือตอนบนเติบโตมากขึ้นถึง 5,000 ล้านบาท พร้อมเผยแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว รับการเติบโตของธุรกิจร้านเครื่องดื่ม (คาเฟ่) รวมถึงพฤติกรรมการเว้นระยะห่าง และการปรับรูปแบบการเลือกซื้อสินค้า อาทิ การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟ การเพิ่มโอกาสในการขยายตลาด พร้อมยกระดับกาแฟอาราบิก้าภาคเหนือตอนบนให้มีมาตรฐาน และเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญในระดับโลก

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้ขับเคลื่อนนโยบายเปิดประเทศ และในช่วงที่ประเทศไทยเริ่มกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้มอบนโยบายให้ดีพร้อมเร่งฟื้นฟูภาคส่วนสำคัญทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว รวมทั้งการเข้าถึงวิสาหกิจชุมชนในหลาย ๆ พื้นที่ โดยนโยบายที่สำคัญด้านหนึ่งคือการยกระดับกาแฟอาราบิก้าให้เกิดขึ้นอย่างครบวงจร ภายใต้อัตลักษณ์กาแฟภาคเหนือ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีคุณภาพและทำให้ภาคเหนือตอนบนเป็นแหล่งผลิตเมล็ดกาแฟที่มีชื่อเสียง ทั้งนี้ ตั้งแต่เริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าวในปี 2562 จนถึงปัจจุบันได้ผลักดันทักษะของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกาแฟในภาคการผลิตและภาคบริการให้ก้าวสู่ทิศทางที่ดีขึ้น
การพัฒนาดังกล่าว ยังเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มูลค่าของตลาดกาแฟของภาคเหนือตอนบน เติบโตมากขึ้นถึง 5,000 ล้านบาท พร้อมทั้งเป็นแรงผลักดันให้การเติบโตของอุตสาหกรรมกาแฟในประเทศไทยเฉลี่ยปีละ 10 – 15 % โดยตลาดกาแฟในประเทศไทยปี 2562 มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 37,000 – 38,000 ล้านบาท ส่วนในปี 2563 ที่ผ่านมา มูลค่าของตลาดกาแฟในประเทศไทยอยู่ที่ 42,537 ล้านบาท แบ่งเป็นกาแฟสด 4,119 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.7 อัตราขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 5.8 % ต่อปี ส่วนกาแฟสำเร็จรูปอยู่ที่ 38,418 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.3 และมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 3.8 % ต่อปี นอกจากนี้ เมื่อศึกษามูลค่าในระดับโลกยังมีการคาดการณ์ว่าตลาดกาแฟในช่วงระหว่างปี 2564 – 2566 จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องปีละ 9% และมีมูลค่าที่สูงมากถึง 191.1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
นายณัฐพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ดีพร้อมยังได้มีการศึกษาภาพรวมในตลาดกาแฟซึ่งพบว่ามีหลายปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการต้องปรับรูปแบบในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเติบโตของธุรกิจร้านเครื่องดื่ม (คาเฟ่) ที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ การลดบริโภคเครื่องดื่มนอกบ้านจากมาตรการล็อกดาวน์ ภายใต้สถานการณ์การระบาดโควิด – 19 และเปลี่ยนพฤติกรรมมาสู่ยุคชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) การดื่มกาแฟสด – เลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากช่องทางออนไลน์และเดลิเวอรี่เพิ่มมากขึ้น จากปัจจัยดังกล่าว ดีพร้อมจึงได้มีแนวทางเพิ่มโอกาสการเติบโตของผู้ผลิตกาแฟในพื้นที่ภาคเหนือผ่านโครงการยกระดับศูนย์กลางการพัฒนาอัตลักษณ์กาแฟอะราบิก้าภาคเหนือ ด้วยแนวทางที่สำคัญดังนี้
• การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟอาราบิก้า ซึ่งมีการเพาะปลูกในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนกว่า 7 หมื่นไร่ ให้มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นในด้านกลิ่น รสชาติ และลักษณะปรากฎเฉพาะของกาแฟ ด้วยการนำวิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมประยุกต์ใช้ในการปลูก ตลอดจนยกระดับให้เป็นกาแฟคุณภาพพิเศษ หรือ Specialty Coffee ซึ่งเป็นกาแฟที่มีกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพและได้คะแนนจากนักทดสอบ (Q Grader) 80 คะแนนขึ้นไป รวมถึงนำผู้เชี่ยวชาญเข้าไปช่วยแบ่งปันเทคนิคการดูแลต้นกาแฟ การเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาหลังการเก็บเกี่ยวให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น พร้อมผลักดันให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาค
• ส่งเสริมกระบวนการคั่ว ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนมีโรงคั่วอยู่กว่า 70 แห่ง และถือเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการเติบโตอุตสาหกรรมกาแฟในพื้นที่ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ได้มุ่งลดปัญหาสำคัญทั้งการบริหารจัดการของเสียจากการแปรรูปกาแฟ อาทิ กลิ่น – ควันจากกระบวนการเผาไหม้ การกำหนดให้แต่ละโรงคั่วมีมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะในกลุ่มโรงคั่วขนาดเล็ก รวมถึงเข้าไปสนับสนุนเกษตรกรที่ต้องการลงทุนทำกาแฟคั่วบด ด้วยการเรียนรู้จากผู้ประกอบการในคลัสเตอร์กาแฟที่ประสบความสำเร็จ
• ยกระดับธุรกิจผ่านแนวทางการเกษตรสร้างสรรค์ ด้วยการผลักดันกาแฟในแต่ละดอยมีอัตลักษณ์เฉพาะตัวของตัวเอง เช่น กาแฟอมก๋อย กาแฟดอยวาวี กาแฟดอยอินทนนท์ กาแฟดอยผาหมี รวมถึงรูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น การทำกาแฟแบบแคปซูล กาแฟที่มีกลิ่นเฉพาะ กาแฟดริป รวมถึงช่วยยกระดับบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับการขนส่ง มีความดึงดูดสายในช่องทางค้าขายออนไลน์ และยกระดับพื้นที่ในการเพาะปลูกให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกด้วย
• การส่งเสริมธุรกิจกาแฟของภาคเหนือตอนบนผ่านศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 และศูนย์พัฒนาและทดสอบอัตลักษณ์กาแฟอาราบิก้าภาคเหนือ (Northern Boutique Arabica Coffee Center : NBACC) ของดีพร้อม ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางที่สำคัญและมีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากรที่เชี่ยวชาญ โปรแกรมอบรมวิชาชีพสำหรับผู้ที่สนใจจัดตั้งหรือพัฒนาธุรกิจกาแฟ รวมถึงการสร้างเครือข่ายของหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนา โดยภายใน ศูนย์ฯประกอบด้วย 6 โซน ได้แก่ โซนนิทรรศการข้อมูลองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนากาแฟตั้งแต่เริ่มปลูก โซนเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง/ทดสอบ โซนตัวอย่างเมล็ดกาแฟพิเศษ (Specialty Coffee) โซนการสาธิตในการชงและชิมกาแฟ โซนตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากกาแฟ และโซนห้องอบรมสัมมนา
• เพิ่มโอกาสในการขยายตลาด ด้วยการผลักดันให้กาแฟแต่ละแบรนด์ หรือ แต่ละแหล่งเพาะปลูกมีโอกาสเข้าถึงช่องทางการค้าออนไลน์ ห้างสรรพสินค้า หรือ เครือข่ายร้านกาแฟที่มีชื่อเสียง พร้อมทั้งส่งเสริมการออกแบบสินค้า การจดสิทธิบัตร – ขึ้นทะเบียนสินค้าเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) รวมถึงการบ่มเพาะวิธีการสร้างเรื่องราว (Story Telling) หรือการสร้างคอนเทนต์ โดยอาศัยความพิเศษของวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ เพื่อปลุกระแสให้เกิดเทรนด์การดื่มกาแฟ 1 กลิ่น 1 แก้ว 1 วันให้เข้าถึงกลุ่มร้านค้าและผู้บริโภคในอนาคต
• การรวมกลุ่มของอุตสาหกรรมกาแฟผ่านคลัสเตอร์ (Cluster) โดยกลุ่มต้นทางได้สนับสนุนและส่งเสริมให้ความรู้ด้านการคัดเลือกสายพันธุ์ การดูแลพื้นที่ปลูก การตัดแต่งกิ่ง การเก็บเกี่ยว การแปรรูป เมล็ดกาแฟ ตลอดจนการเก็บรักษาเมล็ดกาแฟ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและมาตรฐาน กลุ่มกลางทางสนับสนุน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และการควบคุมคุณภาพการผลิต เพื่อให้ได้มาตรฐาน และกลุ่มปลายทางได้สนับสนุนการประกอบธุรกิจกาแฟ เสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะบุคลากร ทั้งเรื่องเทคนิคการคัดคุณภาพสารกาแฟ เทคนิคการคั่ว การผสมสูตรที่มีลักษณะเฉพาะ การชงกาแฟ และการบริหารจัดการหน้าร้าน เพื่อให้เกิดความอยู่รอดและยั่งยืน
“เพื่อให้อุตสาหกรรมกาแฟในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนมีการเติบโตที่ดียิ่งขึ้น ในปี 2565 ดีพร้อม จึงได้วางแนวทางผลักดันให้ผลผลิตจากเกษตรกร-ผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มพรีเมียม กลุ่มผู้รักสุขภาพ รวมถึงธุรกิจร้านเครื่องดื่ม (คาเฟ่) ผ่านการพัฒนาคุณภาพและรสชาติแทนการเพิ่มปริมาณเพื่อเจาะตลาดกาแฟพิเศษ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่มีความชื่นชอบและให้ความสำคัญกับกลิ่น รสชาติ ลักษณะเฉพาะ และเรื่องราว (Storytelling) ของเมล็ดกาแฟที่มาจากแต่ละพื้นที่เพาะปลูก เพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับกาแฟของภูมิภาคและสามารถขายได้ในราคาสูง โดยภายใต้เป้าหมายดังกล่าว มีกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม คือ การผลิตและเพาะปลูกบนดอยรวมกว่า 20 แห่ง ซึ่งจะพัฒนาทั้งพันธุ์กาแฟอาราบิก้าที่เหมาะสมกับแต่ละลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ การนำผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ มาร่วมพัฒนาเป็นคุณสมบัติพิเศษที่สร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผลิตภัณฑ์กาแฟ เช่น กาแฟกลิ่นส้ม ผลิตภัณฑ์กาแฟเข้มข้น การผลักดันให้สินค้าใกล้เคียงกับมาตรฐานโลก และยกระดับศักยภาพให้เป็นพื้นที่สำคัญของการเพาะปลูก – การแปรรูปในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงในระดับโลกต่อไป” นายณัฐพล กล่าวสรุป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โทรศัพท์ 0 2430 6860 หรือ ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ เว็บไซต์ www.diprom.go.th/th/ หรือ www.facebook.com/dipromindustry

#

หมายเหตุ ถึง กองบรรณาธิการ
บทสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ
คุณสุกัญญา บีซีทู ผู้ประกอบการจากบริษัท หญ่าโย ดีซี จำกัด เปิดเผยว่า ทางหญ่าโยแต่เดิมเป็นผู้ปลูกกาแฟ โดยมีพื้นที่ปลูกที่ดอยช้าง จังหวัดเชียงราย ในความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,200 – 1,500 เมตร ซึ่งจัดเป็นกาแฟไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) และเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟดิบ หรือสารกาแฟ จัดจำหน่ายให้กับคู่ค้าเป็นหลักโดยสามารถทำผลผลิตได้ 5 ตันต่อเดือน แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ที่ผ่านมาทำให้มีออร์เดอร์สารกาแฟลดลง จึงได้มีความคิดที่จะพัฒนากาแฟชนิดพิเศษเพื่อเพิ่มมูลค่าเมล็ดกาแฟและเพิ่มยอดขาย รวมถึงมองหาการรับรองมาตรฐานคุณภาพเมล็ดกาแฟที่มีความน่าเชื่อถือ จึงได้มาเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานเมล็ดกาแฟวิจัยพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์กาแฟอาราบิก้า ภายใต้โครงการยกระดับศูนย์กลางการพัฒนาอัตลักษณ์กาแฟอาราบิก้าภาคเหนือ กับ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือ ดีพร้อม ซึ่งทางโครงการได้เข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนา 3 ด้านหลัก ๆ คือ 1. ด้านการเพิ่มทักษะด้านกาแฟไทยและการคัดคุณภาพสารกาแฟ กาแฟชนิดพิเศษ (Specialty Coffee Beans) ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม 2. ด้านกระบวนการแปรรูปการคั่ว (Roasting) และการชิม (Cupping) 3. ด้านการผสมสูตรกาแฟที่มีลักษณะเฉพาะ (Blend) การชงกาแฟ และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมาจากแนวคิดผลิตภัณฑ์กาแฟคั่วกาแฟอาราบิก้าของทางหญ่าโยเอง ซึ่งโดยปัจจุบันทางหญ่าโยมีการลงทุนจัดตั้งโรงคั่วเมล็ดกาแฟ ซึ่งผ่านการตรวจมาตรฐานสถานที่ผลิตอาหารตามเกณฑ์ที่ประกาศกระทรวงสาธารสุขกำหนด ผลิตภัณฑ์เมล็ดกาแฟคั่วโรงคั่วกาแฟนี้ จึงได้รับเลขสารบบอาหาร (เลข อย.) นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนจัดทำร้านคาเฟ่ในนาม YAYO COFFEE เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวในประเทศ และจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ “YAYO COFFEE” ที่ได้รับการพัฒนามาจากทางกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในอนาคตตั้งเป้าที่ต้องการพัฒนาเมล็ดกาแฟให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น รวมถึงมีแผนในการตีตลาดธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) เพื่อขยายฐานการตลาดในกับผลิตภัณฑ์อีกด้วย

BizTalk NEWS

Recent Posts

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก Edutainment และ Playland จัดแคมเปญ “The Little Campus 2024” ดันทราฟฟิกกลุ่มครอบครัว

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึกกำลังกับพันธมิตรชั้นนำด้าน Edutainment กว่า 300 สถาบัน รวมถึง Playland สุดฮิต จัดแคมเปญ The Little Campus 2024 เปลี่ยนศูนย์การค้าเซ็นทรัลให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้…

8 hours ago

เดนทิสเต้พาลิซ่าจัดงานในไทยอีกครั้ง กับ 3 กิจกรรมในงาน DENTISTE’ x LISA Exclusive After Party

เดนทิสเต้ เดินหน้านำ 3 กิจกรรมสุดยิ่งใหญ่เหนือใคร พาศิลปินระดับโลกชาวไทยอย่าง “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” ซึ่งเป็นหนึ่งในครอบครัวเดนทิสเต้ ในฐานะ Brand Ambassador ของประเทศไทย มาสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้กับแฟนๆ ชาวไทยผ่าน…

9 hours ago

เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง รับ 700 ล้านบาท พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%…

9 hours ago

กทม. x สวทช. สสวท พัฒนาเยาวชน ในโรงเรียนภาษาที่สาม สู่นวัตกรยุค 4.0 ด้วย Digital Innovation Maker space นำร่องพื้นที่กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ชาติ (เนคเทค สวทช.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ Digital…

9 hours ago

รฟม. เผยครบรอบ 1 ปี นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผลดีเกินคาด ทำยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT และผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายวิทยา พันธุ์มงคล รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ รฟม. ได้ดำเนินการตามนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบาย Quick Win “คมนาคม…

12 hours ago

เป็นเจ้าของสถานีชาร์จฯ ง่ายนิดเดียว ชมแพคเกจสุดพิเศษจาก กฟผ.ในงาน Bangkok EV Expo 2024 ที่บูท EV3/2

กฟผ. ร่วมออกบูท EGAT EV Business Solutions (บูท EV3/2) ในงาน Bangkok EV Expo 2024 เพื่อส่งต่อความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาและการบริหารจัดการเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า…

12 hours ago