เมื่อโลกหมุนเข้าสู่ยุคที่มนุษย์มีความหลากหลายของเจเนอเรชั่น และกลุ่ม Gen-Y กลายเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ ไม่ต่างจากประเทศไทยที่มองว่า “คนเจนวาย” เป็นกลุ่มวัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ แต่ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เติบโตมากับเทคโนโลยีดิจิทัล คนกลุ่มนี้จึงต้องการรูปแบบชีวิตที่ยืดหยุ่น ชอบความท้าทาย กระหายความสำเร็จ และความก้าวหน้าในอาชีพ บางคนมองว่าวิถีชีวิตมนุษย์เงินเดือนเป็นเรื่องน่าเบื่อ การเป็น “เจ้าของธุรกิจ หรือ Founder” จึงกลายเป็นอาชีพในฝันของใครหลายคน ทำให้หลายปีที่ผ่านมามีธุรกิจสตาร์ทอัพ และเอสเอ็มอีเกิดขึ้นใหม่มากมาย แม้การเริ่มต้นทำธุรกิจจะไม่ใช่สิ่งที่ไกลเกินเอื้อม แต่การจะทำให้ธุรกิจที่สร้างขึ้นประสบความสำเร็จ ไม่หลุดออกจากสนามการแข่งขันกลางคันนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของกิจการทุกคนจะทำได้ เพราะในโลกของธุรกิจ ผู้ประกอบการก็เปรียบเสมือนดั่งปลาที่ต้องแหวกว่ายต่อสู้กับคลื่นลมในมหาสมุทร เพื่อให้มีชีวิตรอดและขยายอาณาจักรให้อยู่ได้อย่างมั่นคงในอนาคต
–เกรท วอลล์ มอเตอร์ เผยนวัตกรรม NOH ระบบนำทางการขับขี่อัตโนมัติและเทคโนโลยีแบตเตอรี่
–สจล. เปิดตลาดนวัตกรรม KMITL INNOKET 2022 พร้อมโชว์ไฮไลท์สร้างอาชีพด้วยนวัตกรรม เริ่มเพียง 5 พันบาท
เมื่อเส้นทางการทำธุรกิจให้สำเร็จไม่ได้ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก แค่ความตั้งใจและการวางแผนงานที่ดี อาจยังไม่เพียงพอที่จะสร้างแบรนด์ให้เติบโตอย่างยั่งยืน เท่ากับการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเฉพาะในสถานการณ์วิกฤตที่ไม่สามารถคาดเดาได้ อย่างเช่นกรณีที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายธุรกิจต้องปรับรูปแบบเพื่อให้อยู่รอดท่ามกลางวิกฤตและภาวะเศรษฐกิจที่ทรุดตัวหนัก ขณะที่บางองค์กรก็นำนวัตกรรมมาเป็นตัวขับเคลื่อนและพัฒนาธุรกิจให้ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลง ซึ่งหากพูดถึงคำว่า “นวัตกรรม” ก็ถือเป็นความท้าทายที่ไม่ว่าจะเป็น “ปลาใหญ่” อย่างองค์กรที่อยู่มายาวนานหลายทศวรรษ หรือ “ปลาเล็ก” อย่างกลุ่มสตาร์ทอัพ เอสเอ็มอี ที่เข้าใจว่าต่างต้องเรียนรู้ร่วมกัน
8 ความท้าทายที่ผู้ประกอบการเล็ก – ใหญ่ ต้องเผชิญในยุคโควิด & เทคดิสรัปชัน
กว่า 2 ปีที่ผ่านมา ตัวแปรสำคัญจากการระบาดของโควิด-19 และความก้าวไกลของเทคโนโลยีเป็นชนวนที่ทำให้โลกเกิดความท้าทาย โดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาที่ทุกคนต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็น
-การคิดใหม่ และสร้างความแตกต่าง เพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของผู้บริโภคหรือกลุ่มผู้ใช้งานที่มักมองหา สิ่งใหม่ที่แตกต่างและตอบสนองความต้องการของตนเองได้ ดังนั้น ในโลกธุรกิจยุคใหม่ผู้ประกอบการยิ่งจำเป็นจะต้องหาผลประโยชน์พิเศษที่ที่สร้างความแตกต่างอย่างโดดเด่นเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเสมือนเพื่อนที่พึ่งพากันได้แม้ในยามวิกฤต
-การสร้างโซลูชันที่สอดรับกับ Pain Point ของผู้บริโภคในยุคที่ต้องเผชิญกับวิกฤต ผู้ประกอบการที่รู้เร็ว ขยับ และปรับตัวทัน จะสามารถคว้าโอกาสในการสร้างทางเลือกที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้คนและสังคมได้
-การมองกำไรเป็นเป้าหมายสูงสุด ทำให้ขาดเวลาในการพัฒนาหรือยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงผู้ใช้ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่สร้างผลิตภัณฑ์ที่ดี และมีเป้าหมายในการสร้างคุณค่าที่แตกต่างให้กับวิถีชีวิตที่ชัดเจน
-การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร โดยเฉพาะเรื่องวิธีคิด ระบบการทำงาน แนวทางการแก้ปัญหา รวมทั้งในเรื่องของทรัพยากรมนุษย์ที่ยังยึดติดกับกรอบการทำงานแบบเดิม จนไม่สามารถก้าวทันโลกหรือคู่แข่งที่เปลี่ยนแปลงไปได้
-การเปลี่ยนความเชื่อเรื่อง “แบรนด์ไทย” ที่ยังถูกมองว่าไทยเป็นเพียงฐานการผลิต หรือการทำธุรกิจเพื่อองค์ประกอบของสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ความจริงแล้ว ไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นเจ้าของนวัตกรรม หรือแบรนด์ที่มีศักยภาพแข่งขันในระดับสากล
-การเข้าใจความหมายของ “นวัตกรรม” ซึ่งหลายคนมักนึกถึงความทันสมัย หรือเทคโนโลยีขั้นสูง จึงเกิดความไม่มั่นใจที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมหรือความแปลกใหม่ให้กับธุรกิจ แต่แท้จริงแล้วเป็นเรื่องการเปลี่ยนกระบวนการทำ การคิดแบบใหม่ หรือการขับเคลื่อนงานด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด
-การเข้าแข่งขันผิดตลาด จึงต้องมีการวิเคราะห์ตลาดและความสามารถของตนเองให้อยู่ในขอบเขตความเชี่ยวชาญ หรือเรื่องที่สามารถแข่งขันได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ
-การวิเคราะห์ความเสี่ยง เพื่อเตรียมแผนสำรอง แนวทางการป้องกัน และการแก้ไขหากเกิดการปัญหา หรือเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน
ไม่ว่าคุณจะเป็นเด็กจบใหม่ที่ตามหาความฝัน หรือเป็นพนักงานออพฟิศที่อยากลาออกจากงานประจำ เพื่อมาทำธุรกิจเล็กของตัวเอง รวมถึงผู้ประกอบการที่อยากจะนำนวัตกรรมมาช่วยพัฒนาแบรนด์ให้ก้าวทันโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไปจากเดิม ถ้าหากไม่อยากเจ็บตัวฟรี เพราะต้องเริ่มต้นเองแบบผิดๆ ถูกๆ ลองเปิดอ่าน “The Founder ll” แล้วจะเข้าใจว่า “นวัตกรรม” ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่เรื่องของ “เทคโนโลยีขั้นสูง” หรือ “ความไฮเทค” เสมอไป แต่หมายรวมถึงแนวคิดและมุมมองของบุคคลต้นแบบผู้ก่อตั้งธุรกิจนวัตกรรมในประเทศไทยที่สามารถสร้างทางรอดในภาวะวิกฤตได้ (Innovation in Time of Crisis) ได้แก่ Pandemic ผู้ก่อตั้งองค์กรที่สามารถปรับตัวได้ดีในช่วงวิกฤตโควิด – 19 Climate Change ผู้ก่อตั้งองค์กรที่ตอบโจทย์กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก และ Economic Crisis ผู้ก่อตั้งองค์กรที่มีแนวทางการดำเนินงานสอดคล้องกับบริบทเศรษฐกิจโลกยุคใหม่ ซึ่งผู้ก่อตั้งองค์กร หรือ The Founder ทั้ง 3 กลุ่ม ถือเป็นต้นแบบแห่ง “นวัตกรรมเชิงความคิด” ที่จะทำให้ผู้ที่ศึกษาได้เห็นโมเดลที่ทำให้สินค้า – บริการสามารถอยู่รอดได้ในภาวะที่ทุกคนต้องเผชิญร่วมกัน
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เล่าถึงภารกิจสำคัญประการหนึ่งของ NIA คือ การสร้างความตระหนักรู้ด้านนวัตกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมายและสังคมไทย ผ่านการสื่อสารในหลากหลายมิติ ทั้งด้านเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่ หรือแม้กระทั่งใน คนหรือกลุ่มคนที่เป็น “ต้นกำเนิด” ของการเปลี่ยนแปลง พวกเขาคือ “นวัตกรผู้สร้างนวัตกรรม” ดังนั้น NIA จึงค้นหา The Founder จากทุกภาคส่วน เพื่อบันทึกเรื่องราวของผู้บุกเบิก ก่อตั้ง และวางรากฐานให้องค์กรหรือทายาท ตลอดจนนำพาองค์กรไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สอดรับกับโลกธุรกิจที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
“ปัญหาของบางธุรกิจที่ยังขาดการนำนวัตกรรมมาใช้ประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ ทั้งเรื่องการเงิน บุคลากร รูปแบบของนวัตกรรมหรือกระบวนการที่เหมาะสม NIA ต้องการชี้ให้เห็นภาพว่านวัตกรรมไม่ใช่เรื่องไกลตัว เมื่อทำให้ภาพจำของผู้คนเปลี่ยนไป ก็จะเกิดเป็นแรงบันดาลใจ และทำให้บริษัทและแบรนด์นวัตกรรมของไทยนั้นมีความชัดเจน – ถูกผลิตออกมามากขึ้น ทั้งนี้ คาดหวังว่าหนังสือ The Founder II จะช่วยตอกย้ำให้ผู้คนหันมาสนใจหลักการคิด วิธีปฏิบัติ เห็นความสำคัญของการวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมเชิงความคิด สิ่งที่มีมูลค่าและสามารถผลิตออกมาได้ไม่สิ้นสุด เช่นเดียวกับแบรนด์นวัตกรรมไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างไม่สิ้นสุดในอนาคตเช่นเดียวกัน”
สำหรับ “The Founder II” ถูกรังสรรค์ขึ้น เพื่อนำเสนอมุมมองของบุคคลต้นแบบ ผู้ก่อตั้งธุรกิจนวัตกรรมในประเทศไทย ผ่านการสื่อสารเรื่องราวและองค์ความรู้สำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในรูปแบบ e-Book ผ่านภาพที่แสดงให้เห็นอัตลักษณ์และคาแรคเตอร์ของ The Founder ทั้ง 26 คน 25 องค์กร ในมิติที่เชื่อมโยงกับนวัตกรรมและตัวบุคคลเป็นหลัก ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถช่วยสร้างพลังและการจดจำให้เกิดขึ้นได้ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้คนไทยเกิดการตื่นตัวที่จะสร้างธุรกิจนวัตกรรม และผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศนวัตกรรมที่มั่นคงและยั่งยืน ทั้งนี้ ผู้ประกอบการทั่วไป หรือบุคคลที่สนใจสามารถดาวน์โหลดหนังสือ The Founder II ผ่านคิวอาร์โค้ด หรือดาวน์โหลด https://thefounder.nia.or.th/the-founder-ll/ ได้ตั้งแต่วันนี้ ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…