ทช. ร่วมกับเชฟรอนประเทศไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการนำร่องการใช้ขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมจำนวน 8 ขาแท่น ไปจัดวางเป็นปะการังเทียม

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ร่วมกับบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด (เชฟรอนประเทศไทย) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนำร่องการใช้ขาแท่นหลุ่มผลิตปิโตรเลียมจำนวน 8 ขาแท่นไปจัดวางเป็นปะการังเทียม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีผู้ร่วมลงนามประกอบด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และรองศาสตราจารย์ ดร.ทวีวงศ์ ศรีบุรี กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรม ทช. ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และคณะสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน
ณ ห้องประชุมลำแพน ชั้น 9 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

นายจตุพร อธิบดี ทช. กล่าวว่า “สำหรับบันทึกข้อตกลงฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือตามมติคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ(คณะกรรมการชาติฯ) ในการประชุมครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 เพื่อร่วมกันศึกษา ติดตาม และตรวจสอบสภาพแวดล้อมด้านกายภาพและนิเวศวิทยาของพื้นที่ในทะเล และประโยชน์ที่ได้รับจากแหล่งปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้ว ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ของประเทศ รวมทั้ง เพื่อส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือในการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้คงความอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนได้กำหนดขอบเขตความร่วมมือของทั้งสามฝ่ายในโครงการดังกล่าว แบ่งเป็นกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะเป็นผู้ดำเนินงาน กำกับการดำเนินงาน ติดตามประเมินและดูแลพื้นที่โครงการฯ รวมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาตจัดวางปะการังเทียมตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการชาติฯ ส่วนเชฟรอนประเทศไทย จะเป็นผู้ดำเนินการร่วมกับกรม ทช. พร้อมทั้งมอบขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้วจำนวน 8 ขาแท่น ให้แก่กรม ทช. เพื่อนำไปใช้เป็นวัสดุในการจัดทำเป็นปะการังเทียม รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านการจัดวางและงบประมาณของโครงการฯสำหรับศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการและสนับสนุนงานด้านการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาการของทั้งในและต่างประเทศ”

ด้าน นายไพโรจน์ กวียานันท์ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เปิดเผยว่า “ตลอดระยะเวลา 56 ปี ของการดำเนินภารกิจจัดหาพลังงานอย่างปลอดภัยและเชื่อถือได้ให้กับประเทศ เรายังมุ่งมั่นเป็นพันธมิตรที่ดีกับสังคมไทยในทุกๆ ด้าน รวมถึงการสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและสิ่งแวดล้อม โดยการดำเนินโครงการนี้ ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการศึกษา จะช่วยให้ได้ข้อมูลและองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการนำขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม มาจัดวางเป็นปะการังเทียม เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล

ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยการลงนามฯ ร่วมกันในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการนำขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม
ในอ่าวไทย มาใช้เป็นปะการังเทียม เนื่องด้วยลักษณะโครงสร้างที่ซับซ้อนทำจากเหล็กกล้าที่จัดสร้างเพื่อใช้งานในทะเล มีน้ำหนักประมาณ 300 – 700 ตัน จึงมีความมั่นคงแข็งแรง ที่สำคัญไม่มีส่วนใดสัมผัสปิโตรเลียมมาก่อน มีพื้นที่ลงเกาะสำหรับสิ่งมีชีวิต จึงมีความเหมาะสมที่จะเป็นที่อยู่อาศัยและที่หลบภัยของสิ่งมีชีวิต โดยดำเนินการในพื้นที่เกาะพะงัน ซึ่งเคยมีโครงการต้นแบบในการวางโครงสร้างเหล็ก ร่วมกับมูลนิธิเพื่อสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ในพื้นที่อ่าวโฉลกหลำ ของเกาะพะงัน มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 ซึ่งพบว่าความเหมาะสมของในการเข้าอยู่อาศัยของสัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตต่างๆ รวมทั้งการใช้ประโยชน์ทางด้านการท่องเที่ยว และการประมง ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ พื้นที่จัดวางปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมของโครงการนำร่องในระยะแรกนี้ มีพื้นที่ประมาณ 0.07 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากเกาะพะงันไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นระยะทางประมาณ 8 ไมล์ทะเล และจากหินใบไปทางตะวันออกประมาณ 7 ไมล์ทะเล”

สำหรับการดำเนินโครงการนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยในระยะแรกซึ่งใช้เวลา 2 ปี จะเป็นการศึกษาทางด้านชีววิทยา นิเวศวิทยา การติดตามผลกระทบจากการวางปะการังเทียม การประกาศพื้นที่คุ้มครองเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืน รวมถึงการให้ความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ที่จะช่วยกันรักษาพื้นที่คุ้มครองนี้ ส่วนระยะที่สอง ซึ่งใช้เวลา 4 ปี จะเป็นการติดตามต่อเนื่องจากระยะแรกเพื่อเก็บข้อมูลสิ่งมีชีวิตที่เข้ามาอยู่อาศัยในแนวปะการัง และการเข้าใช้ประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย ภายใต้วงเงินสนับสนุนจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ทั้งสิ้น 34.8 ล้านบาท (ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการวางแผน และการเคลื่อนย้ายขาแท่นหลุม
ผลิตเพื่อนำไปทำปะการังเทียม)

ด้าน รศ. ดร.ทวีวงศ์ ศรีบุรี กรรมการผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวเสริมว่า “ศูนย์บริการวิชาการจุฬาฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ จากการจัดวางปะการังเทียมจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ไม่ใช้งานแล้ว บริเวณเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยการศึกษา ติดตาม และตรวจสอบสภาพแวดล้อมด้านกายภาพและนิเวศวิทยาของพื้นที่ในทะเล และประโยชน์
ที่ได้รับจากแหล่งปะการังเทียม และร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงาน รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูล
เพื่อการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผลจากการศึกษานี้จะมีส่วนช่วยให้หน่วยราชการและหน่วยงานวิชาการ ได้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นประโยชน์ในการวางแผนงานและการจัดการปะการังเทียม ไม่เพียงเฉพาะจากโครงสร้างขนาดใหญ่เท่านั้น แต่อาจรวมถึงการจัดการในภาพใหญ่ระดับประเทศด้วย”

BizTalk NEWS

Recent Posts

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก Edutainment และ Playland จัดแคมเปญ “The Little Campus 2024” ดันทราฟฟิกกลุ่มครอบครัว

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึกกำลังกับพันธมิตรชั้นนำด้าน Edutainment กว่า 300 สถาบัน รวมถึง Playland สุดฮิต จัดแคมเปญ The Little Campus 2024 เปลี่ยนศูนย์การค้าเซ็นทรัลให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้…

13 hours ago

เดนทิสเต้พาลิซ่าจัดงานในไทยอีกครั้ง กับ 3 กิจกรรมในงาน DENTISTE’ x LISA Exclusive After Party

เดนทิสเต้ เดินหน้านำ 3 กิจกรรมสุดยิ่งใหญ่เหนือใคร พาศิลปินระดับโลกชาวไทยอย่าง “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” ซึ่งเป็นหนึ่งในครอบครัวเดนทิสเต้ ในฐานะ Brand Ambassador ของประเทศไทย มาสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้กับแฟนๆ ชาวไทยผ่าน…

14 hours ago

เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง รับ 700 ล้านบาท พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%…

14 hours ago

กทม. x สวทช. สสวท พัฒนาเยาวชน ในโรงเรียนภาษาที่สาม สู่นวัตกรยุค 4.0 ด้วย Digital Innovation Maker space นำร่องพื้นที่กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ชาติ (เนคเทค สวทช.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ Digital…

14 hours ago

รฟม. เผยครบรอบ 1 ปี นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผลดีเกินคาด ทำยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT และผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายวิทยา พันธุ์มงคล รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ รฟม. ได้ดำเนินการตามนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบาย Quick Win “คมนาคม…

17 hours ago

เป็นเจ้าของสถานีชาร์จฯ ง่ายนิดเดียว ชมแพคเกจสุดพิเศษจาก กฟผ.ในงาน Bangkok EV Expo 2024 ที่บูท EV3/2

กฟผ. ร่วมออกบูท EGAT EV Business Solutions (บูท EV3/2) ในงาน Bangkok EV Expo 2024 เพื่อส่งต่อความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาและการบริหารจัดการเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า…

17 hours ago