Categories: FinanceNews Update

ธปท.เผยการปฏิรูปกฎเกณฑ์การกำกับดูแลสถาบันการเงิน

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า พัฒนาการทางเทคโนโลยี ได้เปลี่ยนภูมิทัศน์ระบบการเงินของประเทศในหลายมิติ ทั้งด้านผู้เล่น รูปแบบการให้บริการทางการเงินและ ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน รวมทั้งความสัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่ง ธปท. เห็นความจำเป็นของการสนับสนุนให้ระบบ การเงินปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้สามารถนาเทคโนโลยีมาใช้ในระบบการเงินอย่างเต็ม ศักยภาพมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินโดยต่อเนื่อง เพิ่มประสิทธิภาพของบริการ ทางการเงินและลดภาระให้แก่ผู้บริโภค

ทั้งนี้ บทบาทของ ธปท. ในฐานะผู้กำกับดูแลสถาบันการเงินและคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน จำเป็นต้อง ปรับให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรักษา สมดุลระหว่างการดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินกับการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อไปยังประชาชน และธุรกิจผู้ใช้บริการทางการเงินโดยเฉพาะธุรกิจ ขนาดกลางและเล็กได้มากขึ้น ธปท. จึงได้นำกระบวนการออกกฎเกณฑ์ที่ดีหรือ Regulatory Impact Assessment (RIA) มาใช้เพื่อปรับหลักคิดในการกำกับดูแลและเปลี่ยนกระบวนการทางานให้สอดรับกับ สภาพแวดล้อมใหม่ ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากการปฏิรูปกฎเกณฑ์การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา

สำหรับ ในปี 2561 นี้ ธปท. เห็นความสำคัญของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการทางการเงิน การปฏิรูป กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องจึงมุ่งเน้นไปที่ (1) การส่งเสริมบริการทางการเงินด้านดิจิทัล และ (2) การสนับสนุน บริการทางการเงินสาหรับ SMEs เพื่อให้ประชาชนและธุรกิจ SMEs ได้รับประโยชน์จากบริการทางการเงินที่ หลากหลายขึ้น มีนวัตกรรมทางการเงินที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และเข้าถึงบริการทางการเงินได้ดี ขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง โดยที่ ธปท. จะยังได้รับข้อมูลต่างๆ จากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในการติดตามดูแลรักษา เสถียรภาพของระบบการเงินและดูแลคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินอย่างเหมาะสม

“กว่า 6 เดือนที่ผ่านมา ธปท. ได้ร่วมกับคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากสถาบันการเงินและ ภาคธุรกิจต่างๆ หารือแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคในการทาธุรกิจและการเข้าถึงบริการ ทางการเงิน และร่วมกันจัดทำข้อเสนอแนะในการส่งเสริมบริการทางการเงินด้านดิจิทัลและการสนับสนุน บริการทางการเงินสำหรับ SMEs เพื่อให้การปรับปรุงเกณฑ์การกำกับดูแลเป็นประโยชน์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างแท้จริง ซึ่งในการดำเนินการได้มีการนำเครื่องมือ Data analytics มาช่วยวิเคราะห์ประเด็นปัญหาของ กฎเกณฑ์ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อเรื่องดังกล่าวด้วย” นายวิรไท กล่าว

นายวิรไท กล่าวว่า การปฏิรูปกฎเกณฑ์กำกับดูแลสถาบันการเงินในครั้งนี้ มุ่งที่จะช่วยให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการ ทางการเงินคล่องตัวในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการ 4 มิติ หรือ 4S คือ ผลักดันนวัตกรรมและบริการ ทางการเงินได้รวดเร็วขึ้น (speed) ให้บริการได้ในขอบเขตที่กว้างและในรูปแบบที่หลากหลายขึ้น (scope) สามารถตอบสนองกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายและกว้างขึ้น (scale) และช่วยดึงศักยภาพของสถาบัน การเงินและผู้ให้บริการต่างๆ มาใช้ร่วมกันในการยกระดับการให้บริการให้ดีขึ้น (sharing) ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผล ให้ผู้ใช้บริการทางการเงินได้รับบริการที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของตนได้ดีขึ้น

สิ่งที่สำคัญในการปฏิรูปกฎเกณฑ์ในการส่งเสริมบริการทางการเงินด้านดิจิทัล ได้แก่

(1) ผ่อนคลายกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการขออนุญาต สำหรับการใช้เทคโนโลยีและการให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยี Cloud computing การเปลี่ยนระบบ Core banking หรือการให้บริการ Platform กับ strategic partners โดยให้สถาบันการเงิน สามารถดำเนินการได้เองภายใต้กรอบการบริหารความเสี่ยงและการดูแลผู้บริโภคที่เหมาะสมตามที่ ธปท. กาหนด ซึ่งจะเพิ่มความคล่องตัวในการพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงิน และลดเวลา การนำเสนอบริการทางการเงินใหม่ๆ (time to market)

(2) ปรับปรุงแนวทางของ Regulatory Sandbox ให้ มีประสิทธิภาพขึ้น โดยสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินต้องนานวัตกรรมเข้าทดสอบกับ ธปท. เฉพาะ กรณีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน / มาตรฐานกลาง (common infrastructure / standard) เช่น มาตรฐาน QR code ที่จบการทดสอบไปแล้วก่อนหน้า หรือในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเข้าทดสอบใน Regulatory Sandbox เช่น การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลของสถาบันการเงิน และ

(3) สนับสนุนให้สถาบันการเงินใช้เทคโนโลยี Biometrics อย่างเต็มรูปแบบในการพิสูจน์ตัวตนลูกค้า เพิ่มความสะดวกไม่ต้องไปสาขาสามารถเปิดบัญชีได้ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เช่น โทรศัพท์มือถือ โดยปลอดภัยในการยืนยันตัวตนรองรับโครงการ National Digital ID

ส่วนสิ่งที่สำคัญในการปฏิรูปกฎเกณฑ์ในการสนับสนุนบริการทางการเงินสำหรับเอสเอ็มอี ได้แก่

(1) ให้ความสำคัญกับการส่งเสริม Information-based lending โดยผ่อนคลายข้อจำกัดด้านวงเงินตามจำนวนเท่าของรายได้สำหรับสินเชื่อ ส่วนบุคคลที่ให้แก่ SMEs บุคคลธรรมดาที่กู้เพื่อทำธุรกิจ และผ่อนคลายกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการพิจารณา ความสามารถในการชำระหนี้ ให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินสามารถพัฒนาแบบจำลองในการ ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของ SMEs โดยใช้ข้อมูลอื่นๆ (alternative data) ประกอบกับข้อมูล รายได้ของ SMEs เพื่อให้ SMEs สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น รวมทั้งสนับสนุนให้ SMEs สามารถใช้ข้อมูล ความน่าเชื่อถือด้านเครดิตจากแหล่งอื่นๆ ประกอบการยื่นขอสินเชื่อได้ โดยเฉพาะคะแนนเครดิตจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จากัด (NCB) และ

(2) ผ่อนคลายกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการประเมินราคาหลักประกัน โดยให้ SMEs และบุคคลธรรมดาสามารถใช้เอกสารประเมินหลักประกันฉบับเดียวในการยื่นขอสินเชื่อหรือ refinance สินเชื่อกับสถาบันการเงินหลายแห่งได้โดยไม่ต้องประเมินราคาหลักประกันใหม่ หากระยะเวลาการประเมินอยู่ ในกรอบที่สถาบันการเงินกำหนด และให้สถาบันการเงินสามารถประเมินราคาหลักประกันโดยไม่ต้องออกไป สถานที่จริง โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนการเข้าถึงสินเชื่อของลูกค้า

นอกจากนี้ ยังได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของ ธปท. และข้อกำหนดที่มีต่อผู้ให้บริการทางการ เงินเพื่อรองรับการเข้าสู่ยุคดิจิทัลด้วย โดยในส่วนของสถาบันการเงิน ธปท. ได้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์การจัดเก็บ เอกสารของสถาบันการเงินที่มีประกาศที่เกี่ยวข้องมากกว่า 50 ฉบับ โดย

(1) ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการให้ ข้อมูลต่างๆ แก่ผู้ใช้บริการทางการเงินในรูปแบบของเอกสาร เช่น การปิดประกาศอัตราดอกเบี้ยที่ที่ทาการ สาขา แต่ยังคงต้องอำนวยความสะดวกในการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ใช้บริการหากมีการร้องขอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และ

(2) ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บเอกสารหรือการส่งเอกสารตัวจริงเพื่อการตรวจสอบของธปท. โดยให้สถาบันการเงินจัดเก็บเอกสารและเผยแพร่ข้อมูลในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ นอกจากนี้ ธปท. ยังได้ ปรับปรุงกระบวนการยื่นขออนุญาตต่อ ธปท. ในรูปแบบ One-stop service โดยการขออนุญาตจากสถาบัน การเงินและผู้ให้บริการทางการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. สามารถยื่นขออนุญาตผ่านช่องทาง ระบบ e-Application ได้ที่จุดเดียว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็ว และยังลดความซ้ำซ้อนใน กระบวนการขออนุญาตด้วย

ในการปรับปรุงหลักเกณฑ์และกระบวนการต่างๆ ในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยให้สถาบันการเงินและ ผู้ให้บริการทางการเงินลดระยะเวลาการพัฒนานวัตกรรมและนำเสนอบริการทางการเงินใหม่ๆ ลงได้แล้ว ยังคาดว่าจะช่วยประหยัดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ลงได้ถึงประมาณ 1,100 ล้านบาทต่อปี และในส่วนของ SMEs นั้น นอกจากจะเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังคาดว่าจะช่วยลดต้นทุนโดยรวมที่ SMEs ต้องชำระสาหรับการประเมินราคาหลักประกันลงได้ประมาณ 500 ล้านบาทต่อปีการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างดำเนินการซึ่งจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2562

BizTalk NEWS

Recent Posts

LINE MAN เผยเทรนด์ “ชาไทย Specialty” แรงจัด! ยอดสั่งพุ่ง 81% ร้านใหม่ผุด 205%

กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…

3 hours ago

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

5 hours ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

5 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

5 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

5 hours ago

เปิดเทรนด์ “Conscious Travel” สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…

5 hours ago