ธุรกิจแอลกอฮอล์ โวยรัฐซ้ำเติมผู้ประกอบการ หลังห้ามจำหน่ายแอลกอฮอล์ผ่านทางออนไลน์

นายธนากร คุปตจิตต์ นายกสมาคมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไทย (TABBA) วิเคราะห์ถึงปัญหาของมาตรา 32 ว่า “มาตรา 32 มีความล้าสมัยเนื่องจากถูกบังคับใช้มากว่า 12 ปี ตั้งแต่ปี 2551 ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนไป มีความไม่ชัดเจนและคลุมเครือ โดยอาศัยการตีความและดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ที่ไม่มีมาตรฐานชัดเจนซึ่งถือเป็นการเปิดช่องให้เกิดการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม และยังคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการสื่อสารและการแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องค่าปรับที่กำหนดไว้สูงอย่างไม่สมเหตุสมผลตั้งแต่ 50,000 – 500,000 บาท รวมถึงเรื่องสินบนรางวัลที่เจ้าหน้าที่และผู้แจ้งเบาะแสจะได้ส่วนแบ่งพร้อมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานถึงร้อยละ 80 ของค่าปรับ ในขณะที่จะมีเงินเข้ากระทรวงการคลังเพียงร้อยละ 20 ของค่าปรับเท่านั้น และสินบนรางวัลอาจเป็นเหตุให้เกิดความไม่ชอบธรรมในกระบวนการยุติธรรมอีกด้วย”

สำหรับพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 มาตรา 32 ระบุว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม” โดยไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าการกระทำใดเป็นการชักจูงโดยตรงหรือโดยอ้อม ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง เห็นได้จากกรณีของนายวิเชียร อินทร์ไกรดี เจ้าของร้านอาหาร Kacha Kacha ที่โดนกล่าวหาว่ากระทำความผิดตาม มาตรา 32 ซึ่งถูกปรับรวมทั้งสิ้นประมาณกว่า 500,000 บาท เพียงเพราะมีรูปแก้วเบียร์อยู่ในเมนูของร้าน ทั้งที่ไม่มีตราสินค้าใด ๆ ปรากฏร่วมด้วย

Related Posts

Scroll to Top