สรรพสามิตออกมาตรการภาษีเพื่อลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 และมลพิษต่าง ๆ ระยะที่ 2 โดยจัดเก็บจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถจักรยานยนต์ และขยายเวลาในการบังคับใช้อัตราภาษีสรรพสามิตยาสูบตามมูลค่าร้อยละ 20 และร้อยละ 40 ออกไปอีก 1 ปี หวังให้อุตสาหกรรมมีเวลาปรับตัว และปรับขึ้นอัตราภาษียาเส้น เพื่อลดช่องว่างของราคาขายปลีกกับบุหรี่ซิกาแรตให้ใกล้เคียงกันมากขึ้น
นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ด้านมาตรการภาษีเพื่อลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 และมลพิษต่าง ๆ ที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ระยะที่ 2 โดยจัดเก็บจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของรถจักรยานยนต์นั้น กรมสรรพสามิตได้มีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถจักรยานยนต์จากการจัดเก็บภาษีตามความจุของกระบอกสูบ เป็นการจัดเก็บภาษีตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อให้เป็นไปตามหลักการจัดเก็บภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม สนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศที่คำนึงถึงประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงาน และสนับสนุนทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยีการประหยัดพลังงานในอนาคต ประกอบกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ จะส่งผลให้ ลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 และปัญหามลพิษต่าง ๆ ที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศได้ โดยกำหนดให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2563 เนื่องจากในปี 2562 รถจักรยานยนต์ต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานมลพิษตาม มอก. ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับ ซึ่งเทียบเท่ากับมาตรฐาน Euro 4 ของสหประชาชาติ (UN) จึงเห็นควรให้กลุ่มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ มีระยะเวลาในการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมของระบบ Eco Sticker ไปพร้อมกัน ทั้งนี้ เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของรถจักรยานยนต์ จึงเห็นควรให้รถจักรยานยนต์ที่ได้รับการลดอัตราภาษีต้องปฏิบัติตามมาตรฐานยางรถจักรยานยนต์ มอก. 2720 – 2558 หรือ UN R 75
อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวต่ออีกว่า ด้านการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตยาสูบ สืบเนื่องจากการปรับอัตราภาษียาสูบตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 เมื่อเดือนตุลาคม 2560 ส่งผลให้ราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตสูงขึ้น ทำให้การบริโภคลดลง ในขณะที่การบริโภคยาเส้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการบริโภคที่ลดลงดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบอุตสาหกรรม ทั้งผู้ผลิตในประเทศและผู้นำเข้า ตลอดจนเกษตรกร ผู้ปลูกใบยาสูบ อีกทั้งยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภคยาเส้นที่มีการบริโภคเพิ่มขึ้น เนื่องจากยาเส้นดังกล่าวนำไปทำเป็นบุหรี่มวนเองซึ่งไม่มีก้นกรอง ทำให้ผู้บริโภครับสารพิษที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพิ่มมากขึ้น จึงเห็นควรให้มีการขยายเวลาในการบังคับใช้อัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 20 และร้อยละ 40 ออกไป เพื่อให้อุตสาหกรรมมีระยะเวลาในการปรับตัวอีกหนึ่งปี เพื่อการปรับตัวและการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อาทิ การหาพืชทดแทน การหาช่องทางการตลาดที่เหมาะสมเพื่อการผลิตและส่งออก เป็นต้น
นอกจากการบริโภคบุหรี่ซิกาแรตที่ลดลงแล้ว ยังเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยหันมาบริโภคยาเส้นแทน (Switching Effect) ทั้งนี้ เนื่องจากมีราคาขายปลีกต่ำกว่ามาก ซึ่งการบริโภคทั้งบุหรี่ซิกาแรตและยาเส้นล้วนส่งผลต่อสุขภาพ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชาชนเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงควรปรับอัตราภาษีตามปริมาณให้สะท้อนหลักสุขภาพในอัตราภาษีที่ใกล้เคียงกัน โดยปรับขึ้นอัตราภาษียาเส้นตามปริมาณเป็น 0.10 บาท/กรัม เพื่อลดผลกระทบดังกล่าว และลดช่องว่างของราคาขายปลีกบุหรี่ซิกาแรตและราคายาเส้นให้มีความใกล้เคียงกันมากขึ้น จากเดิมประมาณกว่า 300 เท่า เหลือประมาณ 17 เท่า
Biztalk Gadget จะมา รีวิว TECNO CAMON 40Pro สมาร์ทโฟนราคาต่ำกว่า 7,000 บาท ที่มาพร้อมดีไซน์บาง เบา กันน้ำกันฝุ่นระดับ IP68/69 กล้อง…
โรงเรียนนานาชาติคิงส์คอลเลจกรุงเทพ (King’s Bangkok) เดินหน้าสานต่อพันธกิจสำคัญในการมอบโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมแก่เยาวชนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ประกาศมอบทุน ‘King’s Bangkok Academic Excellence Scholarship’ เป็นปีที่ 3 ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการสนับสนุนผู้ที่มีศักยภาพให้ได้รับการศึกษาในระดับนานาชาติอย่างเต็มที่ ทุนการศึกษานี้เปิดกว้างสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (Year…
ไปรษณีย์ไทย รุกตลาดท่องเที่ยว เปิดตัวบริการใหม่ "Travel Lite by Thailand Post" อำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวให้เดินทางตัวเปล่า หมดกังวลเรื่องสัมภาระ สามารถฝากเก็บและรับ-ส่งกระเป๋าเดินทางและสัมภาระต่างๆ ได้ง่ายดาย ในราคาเริ่มต้นเพียง 100 บาท…
ตลาดการเงินทั่วโลกตกอยู่ในภาวะผันผวนอย่างหนัก หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศมาตรการเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากนานาประเทศแบบไม่ทันตั้งตัว ส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกเทขายหุ้นด้วยความกังวลต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจตามมา เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นใน "วันปลดแอก" (2 เมษายน 2568) เมื่อผู้นำสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ โดยกำหนดอัตราภาษีขั้นต่ำ 10% สำหรับสินค้าจากทุกประเทศที่ส่งเข้ามายังสหรัฐฯ…
ไปรษณีย์ไทย จับมือกับ บริษัท เทคซอส ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) อย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมกันพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีและข้อมูล สู่บริการใหม่ "Data-as-a-Service" หวังสร้างโอกาสทางธุรกิจและยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้บริการในแวดวงโลจิสติกส์ พิธีลงนามจัดขึ้น ณ อาคารภาณุรังษีไปรษณียาคาร สำนักงานใหญ่…
กสทช. เร่งเครื่องโอเปอเรเตอร์ เปิดใช้งานระบบ Cell Broadcast เต็มสูบ รองรับทั้ง Android และ iOS หวังแจ้งเตือนภัยพิบัติประชาชนได้ทันท่วงที แม้ระบบกลางของ ปภ. ยังไม่พร้อม ไตรรัตน์…
This website uses cookies.