Categories: News UpdateProperty

ผ่อนคลายเพดาน LTV 100% ดันตลาดที่อยู่อาศัยฟื้น

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2564 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศผ่อนเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV) อีกครั้ง หลังจากที่ได้ผ่อนคลายเกณฑ์บางส่วนไปในช่วงก่อนหน้า โดยรายละเอียดของการผ่อนคลายมาตรการในครั้งนี้ คือ 1. ปรับเพดานสัดส่วนสินเชื่อต่อมูลค่าหลักประกัน (LTV) ของสัญญาซื้อที่อยู่อาศัยหลังที่สองเป็นต้นไปที่ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท จากเดิม 70%-90% เพิ่มเป็น 100% ขณะที่ในสัญญาซื้อหลังแรกยังคงเดิมอยู่ที่ 100% พร้อมให้เงินกู้เพิ่มอีก 10% เพื่อใช้ในการซื้อเฟอร์นิเจอร์ (รวม 110% จากมูลค่าหลักประกัน) และ 2. ปรับสัดส่วนเพดานเงินกู้ของสัญญาซื้อที่อยู่อาศัยที่ราคาสูงกว่า 10 ล้านบาทเป็นต้นไป จากเดิม 70%-90% เพิ่มเป็น 100% ตั้งแต่สัญญาหลังแรกเป็นต้นไป โดยให้เริ่มสำหรับสัญญาเงินกู้ตั้งแต่ 20 ต.ค. 2564 ถึง 31 ธ.ค. 2565

• หากย้อนมองกลับไปตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด จะพบว่าตลาดที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก ดังจะเห็นได้จากกิจกรรมการซื้อขายที่อยู่อาศัยชะลอตัวลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศมีจำนวน 1.54 แสนหน่วย หดตัว 33.2% YoY โดยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หดตัว 16.8% YoY ส่วนพื้นที่จังหวัดอื่นๆ หดตัว 51.4% YoY ซึ่งมีกว่า 39 จังหวัด ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยหดตัวมากกว่า 90% และมีประมาณ 6 จังหวัด ที่มีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวนต่ำกว่า 10 หน่วย นอกจากนี้ จำนวนที่อยู่อาศัยรอขายสะสมยังทรงตัวระดับสูง ส่งผลทำให้การลงทุนโครงการที่อยู่อาศัยใหม่ชะลอลงมาที่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 18 ปี

ขณะที่ สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยนั้น ยังเป็นผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อยตัวหลักที่สามารถประคองการเติบโตไว้ได้ ทั้งนี้ ณ สิ้น ส.ค. 2564 ยอดคงค้างสินเชื่อบ้านของระบบธ.พ.ไทยเติบโต 6.1% YoY เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และ 3.4% YTD เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2563 (ปี 2563 ขยายตัว 5.9% YoY) สูงกว่าสินเชื่อรายย่อยภาพรวมที่ขยายตัวเพียง 4.6% YoY และ 1.7% YTD โดยสินเชื่อบ้านที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องในปีนี้ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อสำหรับบ้านที่มีระดับราคา 3 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งเป็นตลาดสำหรับกลุ่มผู้กู้หรือครัวเรือนที่มีกำลังซื้อ รายได้อยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางสูง และไม่ถูกกระทบมากนักจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งทำให้สถาบันการเงินประเมินว่า ยังคงมีความสามารถในการผ่อนชำระหนี้ได้

• ในช่วงที่เหลือของปีนี้และในปี 2565 สภาพแวดล้อมของตลาดที่อยู่อาศัยและทิศทางการปล่อยสินเชื่อบ้านของสถาบันการเงินยังเต็มไปด้วยหลายปัจจัยท้าทาย ทั้งสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนซึ่งจะมีผลต่อจังหวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านกำลังซื้อ ความมั่นคงในอาชีพการงาน ประกอบกับการซื้อที่อยู่อาศัยยังขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้ซื้อ และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อด้วย อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า หากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามลำดับ สถานการณ์โควิดทุเลาลง ภาวะเงินเฟ้อในประเทศไม่รุนแรง การผ่อนปรนเกณฑ์มาตรการ LTV ในครั้งนี้ จะช่วยหนุนให้ตลาดที่อยู่อาศัยทยอยปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่า ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศตลอดช่วงเวลาของมาตรการฯ จะเพิ่มขึ้นจากที่เคยคาดไว้คิดเป็นมูลค่าราว 18,000 – 30,000ล้านบาท เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีมาตรการฯ ขณะที่ การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศทั้งปี 2564 น่าจะมีจำนวนอยู่ที่ประมาณ 2.4 แสนหน่วย หดตัว 33.1% จากปี 2563 โดยจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัด (70 จังหวัด) อาจลดลงมากกว่าครึ่งจากปี 2563
• ในทำนองเดียวกัน ผลของการผ่อนคลายมาตรการ LTV คงจะเปิดโอกาสให้สินเชื่อบ้านเติบโตในกรอบที่สูงขึ้นในปี 2565 ภายใต้สมมติฐานที่เศรษฐกิจไทยสามารถทยอยฟื้นตัวกลับมา และไม่เผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินในเบื้องต้นว่า การผ่อนปรนมาตรการ LTV ที่จะครอบคลุมไปถึงปี 2565 จะทำให้สินเชื่อบ้านปี 2565 มีโอกาสเติบโตเพิ่มเติมได้ประมาณ 0.3-0.7% ไปอยู่กรอบ 4.8-5.2% สูงขึ้นกว่ากรอบคาดการณ์ปี 2564 ที่ 4.2-4.5%

ขณะที่ ประเด็นที่ต้องติดตามจะอยู่ที่การประเมินความพร้อมในการก่อหนี้ก้อนใหม่หรือรีไฟแนนซ์หนี้เดิม ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงความเสี่ยงด้านเครดิตและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ที่อาจเผชิญปัญหาหนี้สินที่เพิ่มขึ้นหลังโควิด โดยเฉพาะจากหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคก้อนอื่นๆ อาทิ บัตรเครดิต หรือสินเชื่อบุคคล รวมถึงสถานการณ์รายได้และการจ้างงานที่อาจยังไม่กลับมาสู่ภาวะปกติอย่างเต็มที่ อันอาจทำให้เงื่อนไขการอนุมัติสินเชื่อสำหรับลูกหนี้แต่ละรายท้ายที่สุด จะแปรผันตามเงื่อนไขต่างๆ ดังกล่าวนี้ด้วย

BizTalk NEWS

Recent Posts

“เจ้าพ่อรถยนต์ไฟฟ้า” ชี้ จีนขึ้นแท่นผู้นำ EV โลก เตือนอย่าหลงทางกับ “ไฮบริด”

Andy Palmer "แอนดี พาล์มเมอร์" อดีตซีอีโอ Aston Martin และผู้บริหาร Nissan ผู้พัฒนา Nissan Leaf รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นแรกของโลก ที่มียอดขายกว่าครึ่งล้านคัน นับตั้งแต่เปิดตัวในปี…

28 minutes ago

Lilium ปิดฉาก “แท็กซี่บิน” หลังปลดพนักงาน 1,000 คน เหตุขาดสภาพคล่อง

Lilium บริษัทสตาร์ทอัพผู้พัฒนาอากาศยานขึ้นลงแนวดิ่ง (VTOL) หรือ "แท็กซี่บิน" สัญชาติเยอรมัน ประกาศยุติการดำเนินงานอย่างกะทันหัน หลังจากล้มเหลวในการระดมทุนรอบใหม่เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี Gründerszene สื่อเยอรมัน รายงานว่า Lilium ได้ปลดพนักงาน 1,000 คน…

2 hours ago

NT เดินหน้าผลักดันหน่วยงานรัฐ “Go Cloud First” บูรณาการข้อมูล Open Data สู่รัฐบาลดิจิทัลเต็มรูปแบบ

โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NT ประกาศเดินหน้าผลักดันหน่วยงานภาครัฐย้ายระบบขึ้นคลาวด์ ภายใต้นโยบาย "Go Cloud First" ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มุ่งสู่การบูรณาการข้อมูลแบบ Open Data ยกระดับประสิทธิภาพการทำงานภาครัฐ และสร้างจุดเปลี่ยนสำคัญในการพัฒนาประเทศสู่รัฐบาลดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ พันเอก…

4 hours ago

Google Willow ปฏิวัติวงการ Quantum Computer สู่ยุคแห่งการประมวลผลเหนือขีดจำกัด

Google สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญในโลกเทคโนโลยี ด้วยการเปิดตัว "Willow" ชิปประมวลผลควอนตัม ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมวิศวกรระดับโลก ณ ห้องปฏิบัติการ Quantum AI ชิป Willow นี้มิใช่เพียงแค่ชิปควอนตัมธรรมดา แต่เป็นการผสมผสานสถาปัตยกรรมล้ำสมัย และเทคโนโลยีแก้ไขข้อผิดพลาดแบบเรียลไทม์…

11 hours ago

“Project Moohan” XR Headset แห่งอนาคตจาก Samsung ภายใต้ระบบปฏิบัติการ Android XR

Samsung ประกาศเดินหน้าเข้าสู่ตลาด XR อย่างเต็มตัว หลังจากที่ Apple ได้เปิดตัว Vision Pro ชุดหูฟัง XR ที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลก โดย Samsung ได้เปิดตัว…

11 hours ago

AI พลิกโฉมค้าปลีก! Google Cloud ชี้ 4 เทรนด์มาแรงปี 2025

จากการทดลองสู่การใช้งานจริง Generative AI กำลังปฏิวัติวงการค้าปลีก ยกระดับประสบการณ์ลูกค้า เพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจ สู่ยุคใหม่แห่งการเติบโต ปี 2024 ที่ผ่านมา ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ผู้ค้าปลีกหลายรายหันมา embracing Generative AI (Gen…

12 hours ago