พิษบาทแข็ง – แข่งขันในอุตสาหกรรมรุนแรง ทำรายได้การบินไทยร่วง 6.9% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

กลุ่มบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2562 มีกำไรสุทธิ 456 ล้านบาท มีรายได้รวมทั้งสิ้น 49,791 ล้านบาท ซึ่งรายได้รวมต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 6.9% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการแข็งค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับสกุลเงินที่เป็นรายได้หลัก การแข่งขันที่รุนแรง ประกอบกับมีปริมาณการขนส่งผู้โดยสารลดลง เนื่องจากปริมาณการผลิตลดลง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 989 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.0% สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากบริษัทฯ มีการปรับลดประมาณการมูลค่าคงเหลือของเครื่องบินและเครื่องยนต์อะไหล่ ทำให้ค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น ค่าเช่าเครื่องบิน และอะไหล่เพิ่มขึ้น

นายสุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทยฯ เปิดเผยว่า ในปี 2562 บริษัทฯ ได้มุ่งเน้นการสร้างรายได้เสริมภายใต้โครงการ “มนตรา” ซึ่งเป็นโครงการฟื้นฟูการบินไทยแบบเร่งด่วน ตลอดจนกลยุทธ์การดำเนินงานอื่นๆ ซึ่งส่วนหนึ่งได้เริ่มดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ต้นปี โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือทำให้การบินไทยหลุดพ้นจากวงจรของกับดักปัญหา และสามารถมีผลประกอบการที่มั่นคงต่อไปในอนาคต โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ บูรณาการด้านบริหารจัดการการบินไทยและไทยสมายล์ การบริหารจัดการด้านการขายและการตลาด หารายได้เสริม และเพิ่มรายได้ในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการบิน เป็นต้น

ในไตรมาสนี้ บริษัทฯ มีจำนวนเครื่องบินที่ใช้ในการดำเนินงาน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 จำนวน 103 ลำ ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 1 ลำ ในจำนวนนี้มีเครื่องบินที่ใช้บริการได้จริงเฉลี่ยในไตรมาส 1 ของปี 2562 จำนวน 90 ลำ ต่ำกว่าปีก่อนที่เฉลี่ย 94 ลำ ส่วนหนึ่งเกิดจากผลกระทบจากกรณีเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์ Trent 1000 ต่อเนื่องจากปีก่อน และการจอดเครื่องบินเพื่อทำการซ่อมบำรุงตามตารางการซ่อมบำรุงปกติ แต่มีอัตราการใช้ประโยชน์ของเครื่องบิน (Aircraft Utilization) เท่ากับ 12.5 ชั่วโมง สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ที่เท่ากับ 11.9 ชั่วโมง มีปริมาณการผลิตด้านผู้โดยสาร (ASK) ลดลง 2.8% และมีปริมาณการขนส่งผู้โดยสาร (RPK) ลดลง 3.2% มีอัตราส่วนการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 80.3% ต่ำกว่าปีก่อนซึ่งเฉลี่ยที่ 80.6% และมีจำนวนผู้โดยสารที่ทำการขนส่งรวมทั้งสิ้น 6.29 ล้านคน เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน 0.6%

นอกจากนี้ จากเหตุการณ์สาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประกาศปิดน่านฟ้าเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2562 ทำให้การบินไทยต้องยกเลิกเที่ยวบินที่ทำการบินไปปากีสถานและเที่ยวบินเส้นทาง ไป-กลับ ยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าว โดยได้ดำเนินการจัดเที่ยวบินพิเศษและเปลี่ยนขนาดเครื่องบินให้ใหญ่ขึ้นเพื่อทยอยนำผู้โดยสารที่ตกค้างไปยังจุดหมายปลายทาง โดยสามารถกลับมาบินได้ตามปกติในวันที่ 5 มีนาคม 2562 ยกเว้นเส้นทาง ไป-กลับ กรุงเทพฯ-ละฮอร์ และกรุงเทพฯ-อิสลามาบัด ซึ่งได้ประกาศยกเลิกเที่ยวบินดังกล่าวจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 เนื่องจากสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานได้ทำการเปิดน่านฟ้าเพียงบางส่วน และเป็นการเปิดน่านฟ้าแบบมีข้อจำกัดมากในเรื่องเส้นทางบินที่ทำการบินเข้าไปในแต่ละจุดบิน

ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อยในไตรมาส 1 ของปี 2562 มีรายได้รวมทั้งสิ้น 49,791 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 3,675 ล้านบาท หรือ 6.9% สาเหตุสำคัญเนื่องจากทั้งรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง เป็นผลจากปริมาณการผลิตและการขนส่งลดลง ประกอบกับรายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วยลดลงจากการแข่งขันที่รุนแรง และการแข็งค่าของเงินบาทต่อสกุลเงินรายได้หลัก ทำให้รายได้เมื่อคำนวณเป็นเงินบาทลดลง อย่างไรก็ดี รายได้จากการบริการอื่นๆ เพิ่มขึ้น 6.2% ส่วนไตรมาสนี้มีค่าใช้จ่ายรวม 50,619 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 989 ล้านบาท หรือคิดเป็น 2.0% โดยมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายจากการเปลี่ยนประมาณการมูลค่าคงเหลือของเครื่องบินและเครื่องยนต์ ค่าเช่าเครื่องบินและอะไหล่เพิ่มจากการรับมอบเครื่องบินเช่าดำเนินงานในระหว่างปี 2561 จำนวน 3 ลำ และการเช่าเครื่องยนต์อะไหล่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นครั้งเดียวจากการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบิน จำนวน 213 ล้านบาท และกำไรจากการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนเงินลงทุนในบริษัท สายการบินนกแอร์จำกัด (มหาชน) จำนวน 273 ล้านบาท ขณะที่มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 1,366 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการตีมูลค่าทางบัญชี ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรสุทธิ 456 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 2,281 ล้านบาท หรือคิดเป็น 83.3% โดยเป็นกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 445 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.20 บาท ลดลงจากปีก่อน 1.04 บาทต่อหุ้น หรือคิดเป็น 83.9%

ณ วันที่ 31 มีนาคม 2562 บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีสินทรัพย์รวมจำนวน 267,277 ล้านบาท ลดลงจากวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 1,444 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.5% มีหนี้สินรวมเท่ากับ 243,700 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 4,565 ล้านบาท หรือคิดเป็น 1.8% และส่วนของผู้ถือหุ้นมีจำนวน 23,577 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 3,121 ล้านบาท หรือคิดเป็น 15.3% สาเหตุหลักเกิดจากการปรับปรุงผลกระทบจากการนำมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่องรายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้ามาใช้ ทำให้กำไรสะสม ณ วันที่ 1 มกราคม 2562 เพิ่มขึ้น จำนวน 2,159 ล้านบาท ประกอบกับการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีกำไรในไตรมาสนี้

BizTalk NEWS

Recent Posts

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก Edutainment และ Playland จัดแคมเปญ “The Little Campus 2024” ดันทราฟฟิกกลุ่มครอบครัว

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึกกำลังกับพันธมิตรชั้นนำด้าน Edutainment กว่า 300 สถาบัน รวมถึง Playland สุดฮิต จัดแคมเปญ The Little Campus 2024 เปลี่ยนศูนย์การค้าเซ็นทรัลให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้…

14 hours ago

เดนทิสเต้พาลิซ่าจัดงานในไทยอีกครั้ง กับ 3 กิจกรรมในงาน DENTISTE’ x LISA Exclusive After Party

เดนทิสเต้ เดินหน้านำ 3 กิจกรรมสุดยิ่งใหญ่เหนือใคร พาศิลปินระดับโลกชาวไทยอย่าง “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” ซึ่งเป็นหนึ่งในครอบครัวเดนทิสเต้ ในฐานะ Brand Ambassador ของประเทศไทย มาสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้กับแฟนๆ ชาวไทยผ่าน…

15 hours ago

เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง รับ 700 ล้านบาท พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%…

15 hours ago

กทม. x สวทช. สสวท พัฒนาเยาวชน ในโรงเรียนภาษาที่สาม สู่นวัตกรยุค 4.0 ด้วย Digital Innovation Maker space นำร่องพื้นที่กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ชาติ (เนคเทค สวทช.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ Digital…

15 hours ago

รฟม. เผยครบรอบ 1 ปี นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผลดีเกินคาด ทำยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT และผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายวิทยา พันธุ์มงคล รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ รฟม. ได้ดำเนินการตามนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบาย Quick Win “คมนาคม…

18 hours ago

เป็นเจ้าของสถานีชาร์จฯ ง่ายนิดเดียว ชมแพคเกจสุดพิเศษจาก กฟผ.ในงาน Bangkok EV Expo 2024 ที่บูท EV3/2

กฟผ. ร่วมออกบูท EGAT EV Business Solutions (บูท EV3/2) ในงาน Bangkok EV Expo 2024 เพื่อส่งต่อความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาและการบริหารจัดการเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า…

18 hours ago