Categories: educationNews Update

มรภ.กลุ่มภาคใต้ ชู 5 ศูนย์อัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ พร้อมขับเคลื่อนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม สร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง

กลุ่ม มรภ.ภาคใต้ ผนึกตั้งศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ เพื่อการขับเคลื่อนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม สร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง ชูด้านการบริการองค์ความรู้ นวัตกรรม แก่ชุมชนท้องถิ่น พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่น สร้างองค์ความรู้และทักษะสอดคล้องตามความต้องการหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น สู่การสร้างอาชีพ-รายได้ มุ่งให้ นศ. ร่วมพัฒนาท้องถิ่นและรักถิ่นฐาน พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรมและพึ่งตนเองได้ พร้อมเตรียมรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่กำลังกลับมาคึกคักและตลาดฮาลาลที่เติบโตสูง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เปิดเผยว่า สำหรับ “โครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้” ภายใต้การดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกในโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย “Reinventing University” ของกลุ่ม 3 ที่มุ่งยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based & Community) ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ 5 แห่งจึงได้ร่วมกันทำโครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ขึ้น

สรรพากรแจงชัด ไม่เคยเก็บภาษีจากโครงการคนละครึ่ง
ยอดขาย-เช่าที่ดินพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 6 เดือนแรก โต 31.% อีอีซี ยังเป็นทำเลทองดึงดูดการลงทุน

“สำหรับภารกิจหลักของศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ คือ การให้บริการด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม แก่ชุมชนท้องถิ่นในการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong learning) ด้วยการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ทั้งที่เป็น non-degree และ degree ที่สามารถนำผลการเรียนเก็บสะสมไว้ในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) และการให้บริการวิชาการและการพัฒนางานวิจัย สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ระดับสากลตามความต้องการของชุมชน/ท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหา สร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ให้มีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ โดยจะมีการบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ นวัตกรรม และบุคลากร ร่วมกัน เพื่อใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนาศักยภาพในระดับภูมิภาคศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ทั้งนี้มี 5 ศูนย์ใน 5 แหล่งที่ตั้งตามความเชี่ยวชาญของแต่ละมหาวิทยาลัย ดังนี้

1) ศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ด้านการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
2) ศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ด้านการเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
3) ศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ด้านการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
4) ศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
5) ศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช”

ทั้งนี้เป้าหมายและผลการดำเนินโครงการฯ จะทำให้มีศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ จำนวน 5 ศูนย์ ในการให้บริการด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม แก่ชุมชนท้องถิ่น พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการวิจัย และบริการวิชาการ เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ พัฒนาบุคลากรในชุมชน/ท้องถิ่น มีองค์ความรู้และทักษะสอดคล้องตามความต้องการหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น มีอาชีพ มีรายได้ และมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง

รวมทั้งให้นักศึกษามีทักษะชีวิตตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา ตระหนักรู้ในความสำคัญของการพัฒนาท้องถิ่นและรักถิ่นฐาน มีความรู้และทักษะต่าง ๆ และสามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังสร้างชุมชนนวัตกรรม ที่มีความสามารถในการพัฒนาการพึ่งตนเองและจัดการตนเองเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

“สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 2 ปีที่ผ่านมา การสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพบุคลากรจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ โดยได้ยกตัวอย่างของศูนย์พัฒนาสมรรถนะและฝึกอาชีพตามมาตรฐานการท่องเที่ยวและบริการ กิจกรรม PKRU CMAS One Star Diver ซึ่งจากข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ในส่วนของสถานประกอบการสอนดำน้ำเกินกว่า70% ดำเนินการโดยชาวต่างชาติ ทำให้เม็ดเงินไม่ได้อยู่ในประเทศ ดังนั้นหากเราสามารถพัฒนาบุคลากรในพื้นให้ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองระดับสากล จะเป็นการสร้างอาชีพและเม็ดเงินให้กับเศรษฐกิจประเทศได้ปีละหลายร้อยล้านบาท สำหรับในกลุ่มวิชาชีพนี้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หิรัญ ประสารการ กล่าว

พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการลงพื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ ในการติดตามการดำเนิน “โครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้” ครั้งนี้มีการดำเนินโครงการฯ รุดหน้าเต็ม 100% พร้อมเป็นโมเดลต้นแบบในการพัฒนาด้านการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based & Community) ของการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยอีกหนึ่งพื้นที่ โดยจะเห็นได้จากศูนย์แต่ละแห่งมีความสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต และตอบโจทย์จุดแข็งแต่ละพื้นที่ อาทิ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลอันดามัน ซึ่งปัจจุบันประชากรมุสลิมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของประชากรโลกที่มีกว่า 7,871 ล้านคน หรือคิดเป็นกว่า 2,000 ล้านคน ส่งผลให้ตลาดอาหารฮาลาลเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูง โดยมีมูลค่าตลาดทั่วโลกประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ทั้งนี้ประเทศไทยถือเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารฮาลาลรายใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของโลก อีกทั้งยังมีพร้อมและความได้เปรียบในด้านโลจิสติกส์ รวมทั้งมีกลุ่มสินค้าที่มีความหลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันไทยมีบริษัทที่ได้รับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลประมาณ 5,000 บริษัท มีผลิตภัณฑ์ที่ขอรับการรับรองฮาลาลมากกว่า 160,000 รายการ (ข้อมูลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย) นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ ยังเดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มสินค้าฮาลาล พร้อมแนะนำผู้ประกอบการศึกษาและให้ความสำคัญกับตลาดสินค้าฮาลาลที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดังนั้นการดำเนินการศูนย์จะเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอร์ที่สำคัญที่ผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งให้กับตลาดนี้

supersab

Recent Posts

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ชี้ 3 เทรนด์พลิกโฉมอุตสาหกรรม CPG สู่ความยั่งยืนและผลกำไรที่ยั่งยืน

ในบริบทของอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวม การมุ่งเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงเป็นประเด็นสำคัญอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สำหรับภาคธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (CPG) แนวโน้มที่โดดเด่นในปัจจุบันคือการให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนผลกำไรและผลตอบแทนที่มอบให้กับผู้ถือหุ้นเป็นลำดับต้น ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากนักลงทุน ทำให้หลายองค์กรอาจลดทอนความสำคัญของการลงทุนในด้านความยั่งยืนลง ซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดว่าธุรกิจต้องเลือกระหว่าง "ความยั่งยืน" และ "ผลกำไร" เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ทว่า ในความเป็นจริงแล้ว…

44 minutes ago

LINE Developers Meetup #6 อัปเดตเทคโนโลยี API ใหม่ล่าสุด ปลดล็อกศักยภาพนักพัฒนาไทยสู่ยุค AI เต็มรูปแบบ

LINE ประเทศไทย จัดงาน LINE Developers Meetup #6 สุดยิ่งใหญ่เมื่อเดือนมีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ณ กรุงเทพมหานคร งานรวมพลคนไอทีและนักพัฒนาผู้สนใจเทคโนโลยีจาก LINE ครั้งสำคัญนี้…

3 hours ago

แผ่นดินไหว กระทบตลาดอสังหาฯ 6 เดือน แต่ภาพรวมยังท้าทาย

Biztalk เสาร์นี้กับ ตั๊ก ฐิติกร ทิพย์มณเฑียร ร่วมประเมินทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเหตุแผ่นดินไหวกับ คุณสัมมา คีตสิน นักเศรษฐศาสตร์อสังหาริมทรัพย์ https://www.youtube.com/watch?v=gL0ooLDVi3o -AI กับการทำงานสื่อ สรุปแล้วเราจะตกงานมั้ย?

13 hours ago

Huawei ผนึกกำลังพันธมิตรครั้งใหญ่ ปูทางสู่อนาคตดิจิทัลอัจฉริยะในไทย

หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด (Huawei) จัดงาน Thailand Partner Summit 2025 "หัวเว่ย ไทยแลนด์ พาร์ทเนอร์ ซัมมิท 2025"…

17 hours ago

LINE MAN Wongnai ทุ่ม 300 ล้านบาท ปลุกตลาดอาหารทั้งปี! ชูรางวัล Users’ Choice การันตีความอร่อยระดับประเทศ

LINE MAN Wongnai จัดงานประกาศผลรางวัลแห่งปี “LINE MAN Wongnai Users’ Choice Best of 2025 – ที่สุดของร้านอร่อยรีวิวดี” พร้อมประกาศอัดฉีดงบประมาณทางการตลาดกว่า…

1 day ago

พาณิชย์ – DITP สางปัญหาส่งออกน้ำตาล! จับคู่ธุรกิจไทย-ฟิลิปปินส์ ดันมูลค่าซื้อขายทะลุ 1.1 พันล้านบาท

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ ภายใต้นโยบายของนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เร่งเครื่องช่วยเหลือผู้ส่งออกสินค้าน้ำตาลและน้ำตาลแปรรูปที่กำลังเผชิญความท้าทายในตลาดต่างประเทศ ล่าสุด ผนึกกำลังกับกรมการค้าต่างประเทศ และสมาคมอุตสาหกรรมน้ำตาลแปรรูปไทย จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจสุดยิ่งใหญ่กับผู้นำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่…

1 day ago

This website uses cookies.