มอ. กับการพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ และก้าวสู่ระดับสากลด้วยงานวิจัย

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เดินหน้าพัฒนามหาวิทยาลัยให้เกิดงานวิจัยระดับแนวหน้าของโลก หรือการเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 1 ตามแนวทางของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยการปรับโครงสร้างให้สอดรับกับสิ่งใหม่ๆ เช่น ด้านดิจิทัล รวมถึงการนำคนหลากหลายกลุ่มเข้ามาทำงานร่วมกันมากขึ้น

จากการร่วมโครงการ Reinventing กับ อว. โครงการแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทำคือ การสร้างความเป็นนานาชาติของมหาวิทยาลัย เพื่อยกระดับความเป็นสากลมากขึ้น ผ่านการพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ที่รองรับนักศึกษารุ่นใหม่ พัฒนาบุคลากร รวมถึงการสร้างงานวิจัยผ่านความร่วมมือของนักวิจัยไทยและต่างประเทศอีกด้วย

CMMU ชี้เทรนด์การตลาดใหม่ “NOSTALVERSE” แบรนด์เก่าได้เปรียบจากผลพวงความเครียดโควิดนานเกินไป
WIRTUAL อนาคตของการออกกำลังกายที่มีแต่ได้ “Exercise to Earn”

โฟกัส 5 เรื่องจาก 5 วิทยาเขต

ผศ.ดร.เถกิง วงศ์ศิริโชติ รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สอนทุกอย่างและสอนทุกเรื่อง แต่ก็มีโฟกัสเป็นของตัวเอง ถ้ามองในเชิงพื้นที่ มอ. อยู่ในพื้นที่ 5 จังหวัด ตั้งแต่ สงขลา ปัตตานี ตรัง ภูเก็ต และ สุราษฎร์ธานี ซึ่งแต่ละวิทยาเขต มียุทธศาสตร์ ที่แตกต่างกันไป เช่น

-ภูเก็ต โฟกัสเรื่อง Hospitality Management โครงการภูเก็ต Sandbox ที่นำเสนอรัฐบาลก็มาจากการที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เข้าไปวิเคราะห์ข้อมูลเก่าๆ ที่คนพูดถึงภูเก็ต ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือการเพิ่มคุณภาพของการท่องเที่ยว

-สุราษฎร์ธานี มีโครงการเรื่อง Digital Science for Agriculture เริ่มต้นจากการปลูกปาล์มพันธุ์ใหม่ๆ แต่เมื่อมีการพูดถึงสินค้าที่เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย จึงหันมาทำเรื่องปลากระพงขาวที่ประเทศไทยส่งออกมาก แต่ก็มีขยะที่เกิดจากการเลี้ยงมากเช่นกัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จึงทำเป็นโครงการ Zero Waste โดยใช้ระบบ IoT ทำ Smart Farming ซึ่งปลามีอัตราการรอดมากกว่า 85% ทำให้ประเทศญี่ปุ่นอยากเข้ามาดูงานในประเทศไทย เข้ามาแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี

-สงขลา จะดูเรื่อง Medical Science คนที่ลงเรียนวิชา Data Science ก็จะได้เรียนการวิจัยด้าน Medical กับ Data Analytic

-ตรัง ดูเรื่อง Management เรียนการท่องเที่ยวที่เป็น Multicultural

-ปัตตานี จะเป็นด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ ที่ปัตตานีมีหลักสูตรที่เรียนเรื่องอิสลาม มีนักเรียนที่มาจากแอฟริกามาเรียน เพราะอิสลามนั้นมีหลายแบบ ซึ่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พยายามทำให้คนเข้าใจในหลักที่ถูกต้องที่สุด

“ซึ่งการโฟกัส ทั้ง 5 เรื่องนี้เกิดจากความร่วมมือของอาจารย์จากทุกวิทยาเขต จะเห็นว่าเราไม่ต้องการให้ 5 วิทยาเขตแข่งกันเอง แต่ต้องการให้ทำงานร่วมกัน“

ตั้งโจทย์จากการแก้ปัญหาพื้นที่

ผศ.ดร.เถกิง กล่าวว่า การที่ มอ. เป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาค จะมีข้อด้อยกว่ามหาวิทยาลัยส่วนกลาง มีสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยในเมือง มีโจทย์วิจัยในการแก้ปัญหาพื้นที่มาก เพราะฉะนั้นต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้บุคลากรพัฒนาตนเองได้ มี Soft Power ในความเป็นนานาชาติ เพื่อผลักดันมหาวิทยาลัยไปสู่ระดับสากลมากขึ้น

เช่น เรื่องการท่องเที่ยว ในเขตพื้นที่ของตรังและปัตตานี ถ้าคนจะเรียนการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Multicultural) ก็จะต้องมาเรียนที่นี่ ซึ่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กำลังบูรณาการหลักสูตรในการเรียนข้ามวิทยาเขต เช่นนักศึกษาที่เรียนท่องเที่ยวที่ภูเก็ต สามารถข้ามไปเรียนที่ปัตตานี 1 เทอม

ด้านหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ที่สนับสนุนด้านฮาลาล จะต้องทำให้คนเชื่อมั่นว่าการพยาบาลนั้นถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม สามารถเรียนได้ที่หาดใหญ่และปัตตานี ซึ่งที่ปัตตานีนั้นจะมีความพิเศษ คือเด็กจะต้องเรียนภาษาอาหรับ

“ภาคใต้มีความแข็งแกร่งเรื่อง Multicultural เพราะฉะนั้นหลักสูตรจึงปรับให้มีอัตลักษณ์เหล่านี้เข้าไป”

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนสนใจเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ การสร้าง International Standard ที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใช้ช่องทางในการจับมือกับพาร์ทเนอร์ต่างประเทศที่มีมาตรฐานอยู่แล้ว และทำหลักสูตรร่วมกัน นักศึกษาก็จะได้ปริญญาจาก มอ. และได้ใบรับรอง (Certificate) จากหลักสูตรต่างประเทศด้วย เป็น Double Degree

ซึ่งมีหลักสูตรหนึ่งที่เริ่มทำแล้ว คือด้านเกษตรกรรมที่จับมือกับมหาวิทยาลัยปราก สาธารณรัฐเช็ก เป็นหลักสูตรปริญญาโท ซึ่งนักศึกษาก็จัดเรียงที่ไทย 1 ปีและไปเรียนที่ปราก 1 ปี

ใช้ “นานาชาติ” เป็นแกนกลางพัฒนางานวิจัย การเรียนการสอน

ผศ.ดร.เถกิง กล่าวว่า ในสมัยก่อนมหาวิทยาลัยจะมองว่า “งานวิจัย กับ วิชาการ” เป็นแกนกลาง แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเปลี่ยนให้ความ “นานาชาติ” เป็นแกนกลาง และนำเรื่องวิจัยกับวิชาการมาประกอบร่าง และลงเงื่อนไขเพิ่มไว้ในโครงการ Reinventing ว่า ถ้าจะทำวิจัยจะต้องมีผู้ร่วมวิจัยเป็นชาวต่างชาติด้วย

“เราคงจะได้ยินคำว่างานวิจัยขึ้นหิ้ง ไม่เคยได้นำเอาไปใช้ ซึ่งวิธีการที่จะถูกนำออกไปใช้คือ การมีคนนอกเข้ามาร่วมด้วยตั้งแต่แรก เพราะฉะนั้นตอนที่เราเริ่มโครงการนี้ เราจึงตั้งเงื่อนไขว่าให้มีนักวิจัยต่างชาติเข้ามาร่วมด้วยกับทุกงานวิจัย หลังจากตั้งโครงการนี้ไป ปัจจุบันมีโครงการงานวิจัยถึง 50 งานวิจัยในปีเดียว”

จุดที่น่าสนใจ คือ เมื่อมีคนต่างชาติเข้ามา มหาวิทยาลัยก็ต้องปรับระบบ เพราะก่อนหน้านี้การจ้างนักววิจัยจากต่างประเทศมีความยุ่งยากเพราะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นระบบราชการ

มหาวิทยาลัยแก้ปัญหาด้วยการปรับเป็นการเซ็นสัญญาแบบเอกชน โดยให้ทำงานแบบ Double Appointment คือให้อาจารย์ต่างชาติทำงานอยู่ที่เดิม และทำงานกับเราด้วย สำหรับค่าจ้างนั้นให้อาจารย์ต่างชาติ ไปตกลงกับทางหัวหน้าโครงการ โดยมีเงื่อนไขว่างานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ออกมาจะต้องมีชื่อของอาจารย์จากประเทศไทย และอาจารย์จากต่างประเทศคู่กัน

“เมื่อนักวิชาการเข้ามาอ่านงานวิจัยก็จะเห็นว่าโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศ”

สำหรับด้านการเรียนการสอน เมื่อนำความเป็น “นานาชาติ” เป็นแกนกลาง การเรียนการสอนทั่วไปก็จะเข้ามาเชื่อมต่อ สิ่งที่เพิ่มขึ้นมา คือ เมื่อนักศึกษาเรียน Coursera (แพลตฟอร์มรวมคอร์สเรียนออนไลน์) จบหลักสูตรจะต้องเทียบเกรดได้ เพราะได้เรียนกับอาจารย์ระดับโลก ซึ่งบางคอร์สที่เด็กทั้งคณะลงเรียนก็มีอาจารย์ร่วมเรียนด้วย

ซึ่งจะทำให้อาจารย์ทำงานหนักขึ้น เพราะเนื้อหาที่ประเด็นที่สอนในคอร์สออนไลน์อาจจะแตกต่างกับที่สอนในมหาวิทยาลัย ทำให้เกิดการพัฒนาในเชิงคุณภาพของนักศึกษาและผู้สอน

เดินหน้าสู่ความเป็นสากล

ผศ.ดร.เถกิง กล่าวว่า มอ. ยังเดินหน้าเรื่องการเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ เพราะถูกตั้งเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่ม 1  ซึ่งจะต้องก้าวสู่ความเป็นสากลมากขึ้น โดยมีแผนสนับสนุนด้วยงบประมาณของมหาวิทยาลัย รวมกับงบประมาณของ อว.

สำหรับการเรียนออนไลน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สนับสนุนให้คนเรียนออนไลน์ทั้งนักศึกษาและบุคลากร ปัจจุบันมีคนเเรียนออนไลน์อยู่ในระบบประมาณ 500 คน

โครงการที่จะเดินหน้าในปีถัดไป คือ โครงการ Visiting Professor ที่จะทำในรูปแบบ Hybrid คือมีทั้ง Onsite และ Online ส่วนที่ 2 คือการจัดสัมมนาระดับโลกให้เกิดการยอมรับจากต่างประเทศ นอกจากนี้จะยังมีการจัดการเรียนการสอนกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลก

“เราโชคดีที่บุคลากรของเรารับไอเดียกับสิ่งที่เราต้องการจะทำ คนของเรามีแนวความคิดที่เป็นนานาชาติ”

supersab

Recent Posts

vivo V50 เปิดตัวแล้ว มาพร้อมกล้อง ZEISS 50MP ในราคาเริ่มต้น 15,999 บาท

เปิดตัว vivo V50 สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมคอนเซปต์ "ถ่ายที่รักอย่างโปร" ชูจุดเด่นกล้อง ZEISS ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลรอบด้าน อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ AI…

52 minutes ago

LINE MAN เผยเทรนด์ “ชาไทย Specialty” แรงจัด! ยอดสั่งพุ่ง 81% ร้านใหม่ผุด 205%

กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…

4 hours ago

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

6 hours ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

6 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

6 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

6 hours ago