วิเคราะห์ TOD เมืองฉงชิ่ง มหานครแห่งการขนส่ง บนเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21

เมื่อพูดถึงเมืองฉงชิ่ง ประเทศจีน หลายคนอาจยังไม่รู้จักเท่ากับเมืองใหญ่อย่าง เซียงไฮ้ ปักกิ่ง แต่เมืองฉงชิ่ง เป็นเมืองที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศจีน เพราะเป็น 1 ใน 12 เมืองใหญ่ ที่ขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง และเป็น 1 ใน 4 เมืองสำคัญของจีน เซี่ยงไฮ ปักกิ่ง ฉงชิ่ง เทียนจิน ที่รัฐบาลกลางจีนตั้งให้เป็นมหานครปกครองโดยตรง และเพื่อไม่ให้ ฉงชิ่ง เติบโตอย่างไร้ทิศทาง (Urban Sprawl) รัฐบาลจีนจึงได้นำแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ ตามแนวทาง TOD (Transit Oriented Development) อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อตอบรับการพัฒนาเส้นทางรถไฟภายในเมือง

เมืองฉงชิ่ง เป็นเมืองต้นทางในการส่งสินค้าไปยังทวีปยุโรป ตามโครงการที่รัฐบาลจีนต้องการจะทำให้สำเร็จคือ “One belt one road” หรือ เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ทำให้ช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาฉงชิ่งเป็นเมืองใหญ่ที่มีอัตราการเติบโตของประชากรอย่างก้าวกระโดด

ทางรัฐบาลจีนจึงได้ว่าจ้างบริษัทต่างชาติ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะเมืองฉงชิ่ง โดยปกติแล้วหากนำแนวทาง TOD ไปพัฒนาในเมืองใหญ่ มักจะมีปัญหาติดขัดในเรื่องการเวนคืนที่ดินเพื่อการพัฒนา ข้อกำหนดกฎหมายการวางผังเมือง และกฎเทศบาลเมือง ที่อาจไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะตามแนวทาง TOD แต่ปัญหาทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ใช่ปัญหาของเมืองฉงชิ่ง

ทางเดินเชื่อมชีวิตจากแนวคิด TOD
การพัฒนาพี้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD ต่างกับ TAD อย่างไร

พวกเขาเลือกทางแก้ไขปัญหาของโจทย์นี้ด้วยการเน้นเรื่องบริหารจัดการพื้นที่แบบผสมผสาน (Mixed use) ร่วมกับการใช้รถไฟฟ้าระบบรางเดี่ยว ที่มีความยืดหยุ่น ต้นทุนไม่สูงมากนัก เหมาะสมกับพื้นเมืองฉงชิ่ง ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาสูง มาเป็นแนวทางบริหารจัดการระบบขนส่งสาธารณะหลักของเมืองนี้

ความสำเร็จของเมืองฉงชิ่งที่ใช้แนวทาง TOD ปรากฏบน สถานีหลีจื่อป้า (Liziba station) ในเส้นทาง CRT สายที่ 2 (Chongqing Rail Transit) สถานีแห่งนี้มีเส้นทางรถไฟวิ่งผ่านทะลุตัวอาคาร ซึ่งเป็นทั้งที่อยู่อาศัย ศูนย์การค้า และสถานีรถไฟ เข้ากับหลักการบริหารจัดการพื้นที่แบบผสมผสาน ตามแนวทาง TOD อย่างมาก

เย่ เทียนยี่ (Ye Tianyi) หัวหน้าทีมออกแบบของสถานีหลีจื่อป้า และอาจารย์สอนวิชาวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยฉงชิ่ง เล่าถึงการออกแบบสถานีแห่งนี้ว่า หลายคนคิดว่าสถานีหลีจื่อป้าแห่งนี้ สร้างภายหลังจากอาคารที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จแล้ว แต่ที่จริงแล้วเราออกแบบและสร้างทั้งตัวสถานีและอาคารที่อยู่อาศัยทั้งหมดในเวลาเดียวกัน

โดยความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการออกแบบคือ การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างราง กับโครงสร้างอาคารที่อยู่อาศัย แม้ว่าภายนอกรางรถไฟกับตัวอาคารดูเหมือนจะถูกรวมเข้าด้วยกัน แต่ที่จริงแล้วมีการแยกโครงสร้างรางรถไฟ ออกจากโครงสร้างอาคารที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน

5 ชั้นแรกของสถานีหลีจื่อป้า ออกแบบให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ ชั้นที่ 6 เป็นชั้นสำนักงาน ชั้นที่ 7 เป็นชั้นสถานี ชั้นที่ 8 เป็นชั้นชานชาลา และจากชั้นที่ 9 ถึง 19 เป็นอาคารที่พักอาศัย ผู้พักอาศัยสามารถเดินจากห้องพักลงมาขึ้นสถานีรถไฟไปทำงานได้ที่ชั้น 7 หรือเดินมาซื้อของที่ร้านค้าในชั้น 1 – 5 ก็ได้

ภายในตัวอาคารจะมีเสาสำหรับรางรถไฟทั้งหมด 6 เสา ระหว่างเสารางรถไฟกับผนังอาคารที่อยู่อาศัย ได้เว้นช่องว่างไว้อย่างน้อย 20 ซม. เพื่อลดเสียงและแรงสั่นสะเทือนจากรถไฟถึงตัวอาคารที่พัก นอกจากนี้รถไฟฟ้าแบบรางเดี่ยวนั้นขับเคลื่อนด้วยล้อยางแบบสูบลม ซึ่งจะส่งเสียงดังเพียง 75 เดซิเบลเท่านั้น ประชาชนที่อยู่อาศัยในตัวอาคารจึงไม่ถูกรบกวนด้วยเสียงและแรงสั่นสะเทือนจากรถไฟฟ้าเวลาวิ่งผ่าน สามารถใช้ชีวิตในพื้นที่สถานีได้อย่างมีความสุข

“สถานีหลีจื่อป้า ไม่เพียงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเมืองฉงชิ่ง แต่ยังเป็นโมเดลการออกแบบที่ผสมผสานระหว่างสถานีรถไฟกับที่อยู่อาศัยในพื้นที่จำกัดให้กับเมืองต่างๆ ในประเทศจีนและทั่วโลกได้อีกด้วย” เย่ หัวหน้าทีมออกแบบกล่าว   

ปัจจุบันเมืองฉงชิ่ง มีเส้นทางรถไฟภายในเมืองทั้งหมด 10 เส้นทาง 198 สถานี มีระยะทางรวม 402 กม. จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 2 ล้านคน จากประชากรในเมืองทั้งหมด 30 ล้านคน มีเส้นทางรถไฟจะครอบคลุมพื้นที่ราว 80 เปอร์เซ็นต์ของเมือง

มีแผนขยายเส้นทางรถไฟฟ้าใต้ดินและบนดินอีกหลายสายจนถึงปี พ.ศ.2578 รวมทั้งการนำระบบการจัดการอัจฉริยะ เพื่อจูงใจประชาชนหันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะให้มากขึ้น ตามแผนการพัฒนาระบบขนส่ง 3 มิติครอบคลุมเมืองฉงชิ่ง ที่ชื่อว่า Chongqing Mega Transportation 2021 – 2035

คาดการณ์ว่าหลังจากการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเสร็จสิ้นจะช่วยดึงดูดให้ชาวฉงชิ่งหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ ตามแนวทาง TOD เพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของเมืองที่จะกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของเอเชียแห่งศตวรรษที่ 21 ต่อไป

ข้อมูลจาก www.ichongqing.info, www.cqmetro.cn

supersab

Recent Posts

ฮอนด้า ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง “โคจิ อิวานามิ” นั่งแท่น CEO คนใหม่ มุ่งยกระดับประสบการณ์ลูกค้าทุกมิติ

ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ได้ประกาศแต่งตั้ง โคจิ อิวานามิ ขึ้นดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหารและซีอีโอ อย่างเป็นทางการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป การเข้ารับตำแหน่งของนายอิวานามิ ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์รอบด้านทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนายนตรกรรม รวมถึงการพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์ จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการยกระดับคุณค่าหลักของแบรนด์ฮอนด้าให้ก้าวหน้าไปอีกขั้น ภายใต้การนำทัพของนายอิวานามิ…

46 minutes ago

Xiaomi ส่ง Redmi Pad Pro 5G จอใหญ่ 12.1 นิ้ว พร้อม 5G ราคาเร้าใจ เริ่มต้น 13,990 บาท แถมฟรีคีย์บอร์ด

เสียวหมี่ ประเทศไทย เปิดตัวแท็บเล็ตสุดคุ้มค่า Redmi Pad Pro 5G ที่มาพร้อมหน้าจอขนาดใหญ่เต็มตา 12.1 นิ้ว ความละเอียด 2.5K พร้อมอัตรารีเฟรช 120Hz มอบประสบการณ์การรับชมที่คมชัดและลื่นไหล ตอบโจทย์ทุกความบันเทิงและการทำงานได้อย่างลงตัว จุดเด่นของ Redmi Pad Pro 5G ไม่ได้มีแค่หน้าจอใหญ่สะใจ แต่ยังมาพร้อมการเชื่อมต่อ 5G ให้คุณออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่มีสะดุด เสริมพลังด้วยชิปเซ็ต Snapdragon® 7s…

1 hour ago

Green Business ของไทยจะขึ้นเบอร์หนึ่งอาเซียน ใน 5 ปี

การสร้างตัวตนของประเทศไทยในระดับโลก เป็นสิ่งที่คนไทยทำมาตลอด 50 ปี ไม่ว่าจะเป็น ดินแดนแห่งรอยยิ้ม ครัวไทยสู่ครัวโลก ฯลฯ และมันส่งผลต่อวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของเราในปัจจุบันอย่างยิ่ง ที่สำคัญอานิสงส์ที่ส่งตรงต่อธุรกิจต่างๆ ที่รองรับตัวตนของประเทศนั้นมหาศาลเหลือเกิน จนเราปฏิเสธไม่ได้ว่าการสร้างตัวตนที่ชัดเจนต่อสายตาชาวโลกนั้นเป็นมรดกตกทอดไปสู่คนยุคใหม่ๆ อย่างน้อยช่วงหนึ่งอายุคนกันเลยทีเดียว “ประเทศไทยจะเป็นผู้นำทางด้าน Green…

16 hours ago

“Durian Decadent Afternoon Tea” มิติใหม่แห่งความหอมหวาน เอาใจสายทุเรียน ณ โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท

โรงแรมไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท ขานรับเทรนด์ Gastronomy Tourism ที่กำลังเติบโตในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ผนึกกำลัง Toby’s Farm สวนทุเรียนพรีเมียมจากจันทบุรี เปิดตัวแคมเปญสุดพิเศษ “Durian Decadent…

19 hours ago

CANON เขย่าตลาดเครื่องพิมพ์หน้ากว้าง เปิดตัว 2 รุ่นใหม่ล่าสุด imagePROGRAF TC-21 และ TC-21M ในงานสถาปนิก’68

แคนนอน (CANON) เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องพิมพ์หน้ากว้างแบบตั้งโต๊ะรุ่นใหม่ล่าสุดถึง 2 รุ่น ได้แก่ imagePROGRAF TC-21 และ imagePROGRAF TC-21M ในงานสถาปนิก 68 (ASA Architect'25)…

20 hours ago

BBIK อนุมัติจ่ายปันผล 0.22 บ./หุ้น เตรียมย้ายเข้า SET ภายในปีนี้

บลูบิค กรุ๊ป (BBIK) เผยที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 อนุมัติการจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสดในอัตรา 0.22 บาทต่อหุ้น กำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) วันที่ 30 เมษายน 2568…

20 hours ago

This website uses cookies.