ศุลกากร เผยมาตรการเร่งด่วน แก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติก

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร แถลงข่าวเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาการลักลอบหรือหลีกเลี่ยงการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติก
ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขอนามัย

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร กล่าวว่า จากเดิมจีนเป็นประเทศที่นำเข้าเศษขยะรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยเฉพาะเศษขยะอิเล็กทรอนิกส์ (พิกัด 84 และ 85 ที่มีการกำหนดรหัสสถิติเป็น 800 และ 899) และเศษพลาสติก (พิกัด 3915) ต่อมาจีนเริ่มมีนโยบายในการห้ามการนำเข้าเศษขยะหลายชนิด ประกอบกับผลการประชุมสนธิสัญญาบาร์เซล (Basel Convention) ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีมติให้เพิ่มความเข้มงวดของชนิดขยะที่สามารถนำเข้าส่งออกระหว่างกันได้ รวมทั้งต้องได้รับความยินยอมในการนำเข้าจากประเทศปลายทางด้วย ส่งผลให้ประเทศอุตสาหกรรม เช่น ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรป เปลี่ยนจุดหมายการส่งออกเศษขยะมายังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทน ซึ่งทำให้มีการนำเข้าเศษขยะมากเกินความจำเป็น ส่งผลให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มมีมาตรการตอบโต้การนำเข้าเศษขยะ โดยเฉพาะเศษพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปในทิศทางเดียวกัน คือ ห้ามหรือลดการนำเข้าเศษพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับกรณีขยะอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยนั้น ผู้นำเข้าจะต้องได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อนการนำเข้า แต่เนื่องจากคณะกรรมการขับเคลื่อนและปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน คณะที่ 5 ที่มี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2561 มีมติให้ระงับการอนุญาตนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์

จากโรงงานที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามอนุสัญญาบาเซล ทำให้เหลือผู้ได้รับอนุญาตนำเข้าเพียง 1 ราย เท่านั้น นอกจากนี้การประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2562 มีมติเห็นชอบมาตรการห้ามนำเข้า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้แล้วเข้ามาในประเทศ โดยได้อนุมัติร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดชนิดและแหล่งกำเนิดวัตถุดิบที่จะทำมาใช้ในโรงงาน พ.ศ. …. เพื่อกำหนดนิยามและข้อห้ามไม่ให้โรงงานใช้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตของโรงงาน พร้อมมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์เร่งรัดการออกประกาศห้ามนำเข้าซึ่งสินค้าอุปกรณ์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้แล้วที่จะนำมาถอดแยก เพื่อนำโลหะกลับมาใช้ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา มีการลดโควตาการนำเข้าของเศษพลาสติกจากหลายแสนตัน เหลือเพียง 70,000 ตัน เท่านั้น จากข้อมูลสถิติการนำเข้าของขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการนำเข้า เศษพลาสติก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน ของประเทศไทย พบว่ามีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เริ่มมีแนวโน้มลดลงในปี พ.ศ. 2562 เนื่องจากมีการควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวดจากภาครัฐ ประเภท ปริมาณนำเข้า (ตัน) 2558 2559 2560 2561 1 ม.ค. – พ.ค. 62 รวม เศษพลาสติก (พิกัด 3915) 68,764.71 79,384.39 167,772.09 571,968.34 174,417.12 1,062,306.65 ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (พิกัด 84 และ 85) * ที่มีการกำหนดรหัสสถิติเป็น 800 และ 899 8,199.08 57,739.28 100,298.05 51,596.09 12,253.33 230,085.83 รวมทั้งสิ้น 76,963.79 137,123.67 268,070.14 623,564.43 186,670.45 1,292,392.48 ตารางแสดงปริมาณนำเข้าสินค้าประเภทเศษพลาสติก และขยะอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ปี 2558 – 2562

อย่างไรก็ดี คาดว่าความต้องการขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศยังคงมีอยู่ และอาจมีการลักลอบหรือหลีกเลี่ยงการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์อยู่ ซึ่งจากข้อเท็จจริงดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย และมีแนวโน้มในการนำเข้าโดยไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ จำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรการแก้ไขอย่างเร่งด่วน กรมศุลกากรจึงมีมาตรการในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

1. กรมศุลกากรได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์เกี่ยวกับขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติก ดำเนินการติดตาม กำหนดเป้าหมายต้องสงสัยที่จะกระทำความผิดทางศุลกากร และเข้าตรวจสอบเพื่อติดตามและขยายผลอย่างต่อเนื่อง

2. สั่งการให้ กอง สำนักงาน และด่านศุลกากรทุกแห่ง เข้มงวดในการตรวจสอบของประเภทขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติก หรือของที่มีการสำแดงพิกัด หรือมีรูปลักษณ์ ใกล้เคียงกับขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกเพื่อป้องกันการลักลอบหรือหลีกเลี่ยงทางศุลกากร

3. กรณีที่ตรวจพบการกระทำความผิดทางศุลกากรที่เกี่ยวกับของประเภทขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติก กรมศุลกากรจะดำเนินการส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไป โดยไม่เปรียบเทียบงดการฟ้องร้องในชั้นศุลกากร

ทั้งนี้ ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ถึง 2562 กรมศุลกากรสามารถจับกุมคดีลักลอบและหลีกเลี่ยงนำเข้าเศษพลาสติกได้ทั้งสิ้น 103 คดี คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 17.5 ล้านบาท (น้ำหนักรวม 4,043 ตัน) โดยในปีงบประมาณ 2561 จับกุมได้ถึง 86 คดี คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 14.5 ล้านบาท (น้ำหนักรวม 3,664 ตัน) และในปีงบประมาณ 2562 (ตุลาคม 2561 – พฤษภาคม 2562) สามารถจับกุมได้แล้วถึง 17 คดี คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3 ล้านบาท (น้ำหนักรวม 379 ตัน)

BizTalk NEWS

Recent Posts

บขส. – ขบ. ตรวจติดตามรถโดยสารที่ใช้ก๊าซ CNG – LPG ย้ำต้องนำรถโดยสารเข้าตรวจสภาพภายในวันที่ 2 ธ.ค.นี้

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และนายอรรถวิท รักจำรูญ กรรมการฯ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ลงพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือ…

2 hours ago

BSRC เปิดบ้านโชว์ศักยภาพโรงกลั่น A New Horizon เผยความสำเร็จตลอดปี 2567

บริษัท บางจาก ศรีราชา จำกัด (มหาชน) หรือ BSRC เปิดบ้านต้อนรับคณะสื่อมวลชนจากหลากหลายสำนักที่เดินทางมาเยี่ยมชมโรงกลั่นน้ำมันบางจาก ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Press Visit “BSRC:…

2 hours ago

ปังไม่หยุด! เอพี ไทยแลนด์ คว้า RISING STAR AWARD 2024 “แบรนด์อสังหาฯ ที่โดดเด่นอย่างก้าวกระโดด”

บริษัท เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ภายใต้คำมั่นสัญญา “ชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้” โดย นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ รับรางวัล…

2 hours ago

วิเคราะห์สถานการณ์ตลาดรถยนต์ไทย 3 ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากยอดขายต่ำสุดในรอบ 15 ปี

Krungthai COMPASS มีมุมมองต่อยอดขายรถยนต์ไทยในปี 2567-68 อาจอยู่ในระดับต่ำที่ปีละ 0.6-0.61 ล้านคัน ลดลงจากค่าเฉลี่ยในอดีต (ปี 2564-66) เกือบ 25% โดยมีแรงกดดันหลักจาก 1) กำลังซื้อของผู้บริโภคที่แผ่วลง…

2 hours ago

Huawei Cloud ครองแชมป์ ผู้ให้บริการ Container อันดับ 1 ด้วยกลยุทธ์ Cloud Native 2.0

Huawei Cloud ผงาดขึ้นแท่นผู้นำระดับโลกในบริการคอนเทนเนอร์ คว้าอันดับ 1 ในรายงาน Omdia Universe: Cloud Container Management & Services, 2024-25 ตอกย้ำความเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยี…

2 hours ago

เจาะลึกกลยุทธ์ Lifestyle Brand สร้างแบรนด์ให้ปัง ดึงลูกค้าให้ตรึงใจ

ในยุคที่ผู้บริโภคใส่ใจในแบรนด์ที่สะท้อนรสนิยมและความสนใจของตัวเองมากขึ้น "Lifestyle Brand" หรือ "แบรนด์ไลฟ์สไตล์" จึงกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ช่วยสร้างความผูกพันอันแข็งแกร่งกับลูกค้า โดยนำเสนอมากกว่าแค่สินค้าหรือบริการ แต่เป็นการนำเสนอ "วิถีชีวิต" ที่ลูกค้าใฝ่ฝัน จากรายงาน Business of Fashion (BoF)…

4 hours ago