สกมช. เร่งพัฒนาบุคลากรไซเบอร์ ยกระดับศักยภาพให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) หรือ National Cyber Security Agency : NCSA ชู 6 หลักสูตร ในโครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Intensive Cybersecurity Capacity Building Program) ระยะที่ 1 เพื่อยกระดับศักยภาพบุคลการด้านไซเบอร์ตามแนวทางมาตรฐานสากล

พลเอก ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า ปัจจุบันโลกกำลังพัฒนาไปสู่ยุคดิจิทัล ทำให้ภัยคุกคามทางด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยแนวทางในการแก้ปัญหาประกอบด้วย 3 ประการ คือ People Process Technology ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือ People หรือคน เพราะหากคนมีความตระหนักรู้ มีความรู้ความสามารถในการแก้ปัญหา จะช่วยลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์มิให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ และความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ

รฟม. เชิญร่วม Road Show เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขอข้อมูลข่าวสารของราชการ
กฟผ. จับมือยกระดับการให้บริการผู้ใช้ EV เปิดสถานีชาร์จ EleX by EGAT x BMW ที่ศูนย์การค้ามาร์เก็ตวิลเลจ หัวหิน

สกมช. ในฐานะหน่วยงานที่ขับเคลื่อนประเทศตาม พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้ดำเนินโครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Intensive Cybersecurity Capacity Building Program) ระยะที่ 1 ระหว่างปี 2564-2565 เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้ประเทศไทยก้าวล้ำไปสู่โลกดิจิทัลได้อย่างมั่นคง มีความพร้อมในการป้องกันรับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาบุคลากรจำนวน 2,250 คน

นาวาอากาศเอก อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กล่าวว่า ภายใต้โครงการฯ มีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมการสอบใบประกาศนียบัตรและใบรับรองความเชี่ยวชาญไซเบอร์ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการยกระดับศักยภาพบุคลากรด้านไซเบอร์ของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ การจัดทำหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับพื้นฐานและระดับผู้เชี่ยวชาญ ได้ดำเนินการสอดคล้องตามแนวทางมาตรฐาน NICE ซึ่งเป็นมาตรฐานในการพัฒนาบุคลการด้าน Cybersecurity และแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพ (Competency-based) ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบ KSA ได้แก่ องค์ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และความสามารถ (Abilities) ที่เกี่ยวข้องด้าน Cybersecurity

ทั้งนี้ประกอบด้วย 6 หลักสูตร (รายละเอียดในเอกสารแนบ) โดยในแต่ละหลักสูตรมีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรประกาศนียบัตรระดับสากล เพื่อให้มีความรู้เทียบเท่ากับบุคลากรของประเทศที่ได้รับการยอมรับ รวมทั้งเพื่อสร้างความพร้อมในการเข้าสู่การสอบใบประกาศนียบัตรระดับสากลต่อไป

ยกตัวอย่างความสอดคล้องของหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบใบประกาศนียบัตรสากลมี ดังนี้

-หลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยระดับพื้นฐาน มีความสอดคล้องต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบใบประกาศนียบัตรสากล EC-Council Security Specialist (ECSS) ของสถาบัน EC-Council

-หลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยระดับผู้เชี่ยวชาญ มีความสอดคล้องต่อการเตรียมความพร้อมในการสอบใบประกาศนียบัตรสากล Security+ ของสถาบัน CompTIA

-หลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยระดับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีความสอดคล้องต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อการสอบประกาศนียบัตร CISSP (Certified Information Systems Security Professional) ของสถาบัน (ISC)2

โดยเป้าหมายหลักของโครงการฯ ต้องการให้เกิดผลลัพธ์สำคัญที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ในการฝึกทักษะ ยกระดับศักยภาพ และขีดความสามารถของบุคลการด้านไซเบอร์ของหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (CII : Critical Information Infrastructure)  และหน่วยสำคัญ ๆ ของประเทศ ให้มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานสากล ทัดเทียมกับการพัฒนาด้านนี้ของประเทศอื่นในภูมิภาค

supersab

Recent Posts

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

1 hour ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

2 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

2 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

2 hours ago

เปิดเทรนด์ “Conscious Travel” สัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ยุคสมัยที่โรงแรมเป็นเพียง "ที่นอน" ได้ลาจากไปแล้ว! นักท่องเที่ยวไทยยุคใหม่กำลังมองหาประสบการณ์ที่มากกว่าการพักผ่อน พวกเขาต้องการสัมผัสวัฒนธรรมท้องถิ่น และใส่ใจความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เทรนด์ "Conscious Travel" หรือการเดินทางอย่างมีสติกำลังมาแรง สะท้อนผ่านพฤติกรรมการพักผ่อนที่ยาวนานขึ้นในโรงแรม พร้อมแสวงหาประสบการณ์สุดพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคล เจาะลึกเทรนด์นักท่องเที่ยว จากรายงาน Changing…

2 hours ago

ไชน่า ยูนิคอม ผนึกกำลัง หัวเว่ย เร่งเครื่อง 5G-Advanced ทั่วเอเชีย

ไชน่า ยูนิคอม ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญในการพัฒนาเครือข่าย 5G ไปอีกขั้น ด้วยการเปิดตัวแผนปฏิบัติการ 5G-Advanced อย่างเป็นทางการ ในงานแถลงข่าว "Powering the Asian Winter Games with…

2 hours ago