Categories: EnergyNews Update

สตง. ห่วงปัญหาสวัสดิการรักษาข้าราชการ หลังตรวจพบระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการไม่ครอบคลุม

ทั้งนี้แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) กำหนดยุทธศาสตร์การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เพื่อให้ประเทศมีการเติบโตที่ยั่งยืนประชาชนทุกคนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง ซึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีแผนงานที่สำคัญ คือ แผนงานบูรณาการพัฒนาระบบประกันสุขภาพที่มุ่งเน้นให้ครอบคลุมประชากรทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเท่าเทียม โดยประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพ 3 ระบบหลัก ได้แก่ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน และสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ซึ่งมีแนวคิดและการออกแบบระบบสำหรับประชากรกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน สำหรับสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการนั้นเป็นระบบสวัสดิการที่รัฐบาลได้ใช้เงินงบประมาณจ่ายเป็นเงินสวัสดิการจากทางราชการเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว เมื่อยามเจ็บป่วยเพื่อไม่ให้เกิดความกังวลใจในระหว่างการปฏิบัติงานให้กับทางราชการ

นายประจักษ์ บุญยัง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เปิดเผยว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ภายใต้นโยบายการตรวจเงินแผ่นดินของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งกำหนดทิศทางและเป้าหมายการตรวจเงินแผ่นดินโดยคำนึงถึงการดำเนินการตามหน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายแห่งรัฐและยุทธศาสตร์ชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบบหลักประกันสุขภาพสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ประกอบกับจากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547–2562 พบว่าค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากจำนวนเงิน 16,994.30 ล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 เพิ่มขึ้นเป็น 74,818.00 ล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในขณะที่มีกลุ่มเป้าหมายเพียง 4.5 ล้านคน (ณ วันที่ 30 กันยายน 2562) ซึ่งเป็นสัดส่วนของประชากรที่น้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับสิทธิการรักษาพยาบาลของประชาชนที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพอื่น แต่กลับมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยต่อหัวที่สูงกว่าสตง. จึงได้เลือกตรวจสอบผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ กรมบัญชีกลางกระทรวงการคลังโดยมีประเด็นข้อตรวจพบที่สำคัญดังนี้

1.ระบบเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการยังไม่ครอบคลุมสถานพยาบาลของรัฐทั้งประเทศ
จากการตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558–2562 พบว่ามีสถานพยาบาลทั้งหมดจำนวน 27,354 แห่ง ประกอบด้วยสถานพยาบาลของรัฐจำนวน 13,446 แห่ง และสถานพยาบาลของเอกชนจำนวน 13,908 แห่ง โดยมีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมระบบเบิกจ่ายตรงรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,403 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 5.13 ของสถานพยาบาลทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นสถานพยาบาลของรัฐจำนวน 1,147 แห่ง และสถานพยาบาลของเอกชนจำนวน 256 แห่ง ซึ่งการที่สถานพยาบาลของรัฐส่วนใหญ่ไม่เข้าร่วมระบบเบิกจ่ายตรงทำให้ผู้มีสิทธิที่เข้ารับบริการรักษาพยาบาล ณ สถานพยาบาลของรัฐที่ไม่เข้าร่วมระบบเบิกจ่ายตรงจะต้องทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนซึ่งเป็นภาระของผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัวโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง และเป็นภาระของส่วนราชการเจ้าสังกัดในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการเบิกจ่าย ค่ารักษาพยาบาลให้กับบุคลากรในสังกัด อีกทั้งยังทำให้มีความเสี่ยงในการเบิกจ่ายไม่ถูกต้องตามระเบียบ หลักเกณฑ์ เงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด เนื่องจากไม่ได้รับการตรวจสอบเอกสารหลักฐานก่อนการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ และอาจเกิดการรั่วไหลของงบประมาณค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมระบบเบิกจ่ายตรง เนื่องจากข้อมูลประกอบการตรวจสอบก่อนการเบิกจ่ายกรณีสถานพยาบาลของรัฐที่ไม่เข้าร่วมระบบเบิกจ่ายตรงมีรายละเอียดข้อมูลการให้บริการรักษาพยาบาลไม่เพียงพอให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดของผู้รับบริการใช้ประกอบการตรวจสอบก่อนการเบิกจ่าย

สถานพยาบาลจัดทำหลักฐานเพื่อส่งเบิกในระบบเบิกจ่ายตรงไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน
จากการตรวจสอบข้อมูลการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการของหน่วยตรวจสอบที่กรมบัญชีกลางว่าจ้างดำเนินการ พบว่าการจัดทำหลักฐานเพื่อส่งเบิกในระบบเบิกจ่ายตรงของสถานพยาบาลยังไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน โดยสรุปดังนี้

2.1ผลการตรวจสอบธุรกรรมก่อนการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล (Pre-audit) ของสถานพยาบาลที่เข้าร่วมระบบเบิกจ่ายตรงโดยสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ(สกส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) พบรายละเอียดข้อมูลการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายไม่ถูกต้อง ซึ่งเกิดจากข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการของสถานพยาบาล อาทิ สถานพยาบาลไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการเบิกจ่ายก่อนส่งเบิกการปรับปรุงหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลและอัตราค่าบริการสาธารณสุขของกรมบัญชีกลาง ทำให้สถานพยาบาลต้องปรับปรุงระบบทางอิเล็กทรอนิกส์ในการบันทึกและการจัดส่งข้อมูลการเบิกจ่ายเงิน อีกทั้งบุคลากรของสถานพยาบาลขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบ หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินที่กระทรวงการคลังกำหนด หรือยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนในหลักเกณฑ์ใหม่ ทำให้เกิดการบันทึกข้อมูลและการจัดส่งข้อมูลการเบิกจ่ายไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน

2.2 การตรวจสอบเอกสารหลักฐานการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายหลังการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาล (Post-audit) ของสถานพยาบาลที่เข้าระบบเบิกจ่ายตรง โดยสำนักวิจัยเพื่อพัฒนาการตรวจสอบการบริการสาธารณสุข (สพตส.) พบการเบิกจ่ายไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด และกรมบัญชีกลางได้ดำเนินการเรียกเงินคืนจากสถานพยาบาลจำนวน 414.32 ล้านบาท ซึ่งปัญหาของการเบิกจ่ายไม่ถูกต้องเกิดจากหลายกรณี เช่น การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลซ้ำซ้อน เบิกเกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด การเบิกค่ายาโดยไม่มีบันทึกการตรวจรักษา การส่งข้อมูลโรคร่วมจำนวนมากโดยไม่พบการวินิจฉัยโดยแพทย์เจ้าของไข้หรือไม่พบหลักฐานที่สนับสนุนการวินิจฉัย ซึ่งทำให้เบิกค่ารักษาพยาบาลสูงกว่าที่ควรจะเป็น เป็นต้น ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีสถานพยาบาลที่เข้าร่วมระบบเบิกจ่ายตรงเพียงจำนวน 1,403 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 5.13 ของสถานพยาบาลทั้งหมด แต่การตรวจสอบPost-audit ยังมีข้อจำกัดด้านงบประมาณและจำนวนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจสอบด้านการแพทย์ จึงไม่สามารถดำเนินการตรวจสอบสถานพยาบาลทุกแห่งที่เข้าร่วมระบบเบิกจ่ายตรงได้ ทำให้เกิดจุดอ่อนหรือความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้การเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลไม่ถูกต้องสำหรับสถานพยาบาลที่ไม่ได้รับการสุ่มตรวจสอบ ในขณะเดียวกัน สถานพยาบาลที่ไม่ได้เข้าร่วมระบบเบิกจ่ายตรง (เบิกจ่าย ณ ส่วนราชการเจ้าสังกัด) ก็มีความเสี่ยงสูงในการเบิกจ่ายเงินโดยไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่ได้รับการตรวจสอบ Pre-audit และ Post-audit จากหน่วยงานที่กรมบัญชีกลางว่าจ้าง เป็นเพียงการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานการเบิกจ่ายจากกองคลังของส่วนราชการเจ้าสังกัด

จากผลการตรวจสอบข้างต้น สตง. จึงได้มีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ และหน่วยงานที่กำกับดูแล อาทิ จัดให้มีการสำรวจข้อมูลหรือประเมินผลสถานพยาบาลของรัฐที่เข้าร่วมระบบเบิกจ่ายตรงและไม่เข้าร่วมระบบเบิกจ่ายตรงเพื่อทราบปัญหา อุปสรรค ข้อจำกัด หรือข้อคิดเห็นเพื่อนำมาวางแผนปรับปรุงการดำเนินงาน จัดให้มีการส่งผลการตรวจสอบ Pre-audit และ Post-audit ให้หน่วยงานเจ้าสังกัดของสถานพยาบาลเพื่อทราบและควบคุม กำกับ ดูแลให้สถานพยาบาลในสังกัดเบิกจ่ายเงินให้ถูกต้องตามระเบียบ ตลอดจนประชาสัมพันธ์ประเด็นปัญหาหรือข้อตรวจพบ กรณีการตรวจสอบก่อนการเบิกจ่ายและหลังการเบิกจ่ายไปยังสถานพยาบาลทุกแห่งทั้งที่ได้รับการสุ่มตรวจสอบหรือยังไม่ได้รับการสุ่มตรวจสอบเพื่อให้เกิดการตระหนักรู้และพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพต่อไปฯลฯ

BizTalk NEWS

Recent Posts

Valera เตรียมเปิดตัวในไทย! ยกระดับการดูแลเส้นผมด้วย AI และนวัตกรรมจากสวิตเซอร์แลนด์

เตรียมพบกับการเปิดตัวสุดพิเศษ! Valera แบรนด์ชั้นนำจากสวิตเซอร์แลนด์ผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ดูแลเส้นผมและการ Grooming สำหรับผู้ชาย กำลังจะมาสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการความงามของไทย ด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยี AI สุดล้ำ ที่จะปฏิวัติวิธีการดูแลเส้นผมให้สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมสัมผัสประสบการณ์การจัดแต่งทรงผมที่ทั้งเหนือชั้นและทันสมัยในทุกการใช้งาน ภายในเต็มไปด้วยกิจกรรมมากมาย ทั้งนวัตกรรมการดูแลเส้นผมระดับโลก ช่างผมมืออาชีพชั้นนำที่จะมาแบ่งปันเทคนิคการใช้ผลิตภัณฑ์ พร้อมกิจกรรมสุดพิเศษที่ไม่ควรพลาด!…

14 hours ago

AIS ขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ด้วยสินเชื่อสีเขียว Green Loan ยกระดับขีดความสามารถโครงข่าย 5G สู่ Green Network

AIS ตอกย้ำการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนที่มุ่งสร้างการเติบโตร่วมกันของผู้คน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในโลกดิจิทัล พร้อมผนึกกำลังร่วมกับสถาบันทางการเงินชั้นนำลงนามรับการสนับสนุนสินเชื่อสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Loan) ครั้งแรกในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย มูลค่ารวม 2,000 ล้านบาท ระยะเวลา 7 ปี จาก…

14 hours ago

HPE ประกาศขยายระบบ ‘HPE Aruba Networking Central’ เดินหน้าการขับเคลื่อนด้วย AI มุ่งยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้งานผ่านนวัตกรรมแห่งอนาคต

ฮิวเลตต์ แพคการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ (Hewlett Packard Enterprise) ประกาศเดินหน้าขยายบริการ HPE Aruba Networking Central ซึ่งเป็นโซลูชันการจัดการเครือข่ายที่ขับเคลื่อนด้วย AI โดยเน้นความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ มาพร้อมด้วยข้อมูลและคุณสมบัติ…

15 hours ago

Prudential จับมือ Google Cloud ใช้ Generative AI ยกระดับการเคลมประกันสุขภาพให้รวดเร็วและราบรื่น

Google Cloud และ Prudential PLC (“Prudential”) ประกาศว่า Prudential จะนำ MedLM โมเดลพื้นฐานของ Google ที่ถูกปรับแต่งให้เหมาะกับการใช้งานในอุตสาหกรรมสุขภาพ มาใช้เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพในการตัดสินใจการเคลมประกันสุขภาพ Prudential…

15 hours ago

ทีเอ็นกรุ๊ป เปิดตัว Venz ORBIT เครื่องฟอกอากาศสุดล้ำที่คว้ารางวัลระดับโลก iF Design Award 2023

บทีเอ็นกรุ๊ป ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัย ด้วยการเปิดตัวเครื่องฟอกอากาศรุ่นใหม่ล่าสุด "Venz ORBIT" จากแบรนด์ Venz ที่ไม่เพียงแค่ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์เท่านั้น แต่ยังมีดีไซน์ล้ำสมัย การันตีด้วยรางวัลระดับโลก iF Design Award 2023 ซึ่งสะท้อนถึงความลงตัวของทั้งดีไซน์และประสิทธิภาพการทำงาน…

15 hours ago

TU-RAC เตรียมความพร้อมครูไทย (ระดับประถมศึกษา) ในโลกยุคดิจิทัล เปิดหลักสูตรด้านการรู้เท่าทันสื่อ เพิ่มขีดความสามารถเด็กไทย ฉลาดทันสื่อ

สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือ TU-RAC ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เปิดตัวโครงการหลักสูตรอบรมพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อระดับประถมศึกษา และจัดฝึกอบรมทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ที่ครอบคลุมสำหรับครูไทย เพื่อเตรียมความพร้อมครู และบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะด้านการรู้เท่าทันสื่อ และการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ของผู้เรียน ในระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคม…

15 hours ago