จากกรณีที่กรุงเทพมหานครได้เริ่มกระบวนการจัดทำและวางผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร และมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนในพื้นที่ 50 เขตเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2567 ที่ผ่านมาและเปิดให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นคัดค้านได้ถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นั้น
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 สภาผู้บริโภคและเครือข่ายภาคประชาชน เรียกร้องให้กรุงเทพมหานครยุติการดำเนินการทั้งหมด เนื่องจากเห็นว่ากระบวนการดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเรียกร้องให้กรุงเทพมหานคร ยุติการดำเนินการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) และขอให้จัดเริ่มกระบวนการใหม่โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น ทั้งนี้ เป็นการระดมความคิดเห็นในเวทีเสวนา “หยุดผังเมืองกรุงเทพฯ เหนือสิทธิประชาชน” โดยมีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็นจากเครือข่ายชุมชนปกป้องคุณภาพชีวิตคนเมือง สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายประชาชนจากสุขสวัสดิ์ ซอยอารีย์ ซอยสวัสดี หมู่บ้านศุภาลัยพระราม 2 ซอยสุขุมวิท 49 และนักวิชาการ
เครือข่ายภาคประชาชนได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ เพื่อเรียกร้องให้กรุงเทพมหานครยุติกระบวนการรับฟังความคิดเห็น การปรึกษาหารือ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) และขอให้เริ่มกระบวนการใหม่โดยไม่มีร่างผังเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จจริง
นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสภาผู้บริโภค กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องเรียกร้องให้ กรุงเทพมหานครยุติการดำเนินการทั้งหมดในการร่างผังเมืองรวม ฉบับนี้ประกอบด้วย
นอกจากนี้ข้อมูลที่ให้ในการรับฟังความคิดเห็นกับประชาชน ไม่มีความละเอียดครอบคลุมเพียงพอที่จะทำให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่เข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตนเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และไม่ให้ข้อมูลแนวทางการเยียวยาความเสียหายเดือดร้อน
“ด้วยเหตุผลดังกล่าวพวกเราขอให้กรุงเทพมหานคร ยุติกระบวนการรับฟังความคิดเห็นการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4) ที่ดำเนินการอยู่ และขอให้จัดรับฟังความคิดเห็น ปรึกษาหารือ และการมีส่วนร่วมของประชาชนขึ้นใหม่โดยต้องเริ่มจากการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในแต่ละพื้นที่ “ก่อน” ที่จะมีการจัดทำร่างผังเมืองรวม ไม่ใช่นำ “ร่าง” ผังเมืองรวมที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมแต่แรกมาใช้รับฟังความคิดเห็น อย่างเช่นที่ทำอยู่ในขณะนี้”
ด้านนายก้องศักดิ์ สหะศักดิ์มนตรี เครือข่ายชุมชนปกป้องคุณภาพชีวิตคนเมืองกล่าวว่า เป็นที่ชัดเจนว่าผังเมืองรวมฉบับดังกล่าวมีจุดอ่อนในเรื่องการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ขาดการมีส่วนรวมของประชาชน ขัดต่อกฎหมายผังเมืองปี 2562 มาตรการ 9 และเมื่อไม่รับฟังประชาชน อีกทั้งผังเมืองก็ไม่ได้สะท้อนความต้องการในการจัดการเมืองร่วมกันตั้งแต่ต้น เพราะฉะนั้นร่างผังเมืองฉบับนี้จึงจบแล้วตั้งแต่ต้น ไปต่ออีกไม่ได้เลย
ขณะที่ นายวิรพันธุ์ ชินวัตร อุปนายกสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (SCONTE) กล่าวว่า หากกางร่างผังเมืองฯ ฉบับนี้ จะพบว่าลิดรอนสิทธิ์ของคนกรุงเทพ จำนวนมากมีการวางสีแดง ส้ม เหลือง เขียว ที่เลือกจากย่านธุรกิจ ทำให้พื้นที่มรดกวัฒนธรรมจะหายไป ทั้งที่เป็นส่วนมรดกที่จับต้องไม่ได้ก็คือชาวบ้าน ที่จะต้องหาที่อยู่อาศัยใหม่ ความเป็นชุมชนจะหายไปหมด
ส่วนมรดกที่จับต้องได้อย่างเช่น ตึก บ้าน ร้านค้า พื้นที่เยาวราช ส่วนใหญ่เป็นอาคารเช่า และสตรีทฟู้ด หากขยายถนนพื้นที่วัฒนธรรมสำคัญของคนกรุงเทพจะหายไปสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมจึงไม่เห็นด้วยต่อกระบวนการประชุมรับฟังความคิดเห็นวันที่ 6 มกราคม 2567 ที่ผ่านมาและขอให้ทบทวนการดำเนินการทั้งหมด
“ผมคิดว่าจากสถานการณ์ผังเมืองกทม. ที่ผ่านมาจนปัจจุบันเกิดผลกระทบมาโดยตลอดเพราะมีการบังคับใช้อย่างไม่เหมาะสมมีการใช้มาตรการด้านการเงินเพื่อเวนคืนโดยรัฐ แต่รอนสิทธิประชาชนไม่เป็นธรรมเท่าที่ควร ไม่เคยมีการคำนึกถึง “สิทธิชุมชน” ที่อยู่มานานใน “ย่าน” โดยเน้นให้ “สิทธิ” ประชาชนที่เป็นเจ้าของที่ดิน ตามกฏหมาย และผังเมืองรวมไม่สามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมและปัญหาสิ่งแวดล้อมได้” นายวิรพันธุ์ระบุ
ขณะที่ ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการวางผังเมือง กล่าวว่า ผังเมืองคือรัฐธรรมนูญฉบับท้องถิ่น ที่กำหนดทิศทางเมืองและการอยู่ร่วมกัน ซึ่งคนที่มีอำนาจในเมืองคือคนที่อยู่อาศัยในเมือง เพราะฉะนั้นผังเมืองที่ดีต้องคุ้มครองคนที่อยู่อาศัยได้
อย่างไรก็ตามหลังจากการได้พิจารณาร่างผังมืองรวมฯ ฉบับนี้แล้วพบว่าขาดหลักการและวิธีคิดในการทำผังเมือรวมใน 2 ข้อ คือ หนึ่ง กำหนดอำนาจและทิศทางการพัฒนาเมืองอย่าง สมดุลของคนที่ใช้ชีวิตในเมืองและสองผังเมืองต้องทำหน้าที่เป็นรัฐธรรมนูญท้องถิ่นที่คุ้มครองคนที่ใช้ชีวิตในเมืองได้ แต่ผังเมืองฉบับนี้ไม่ได้ทำหน้าที่นั้น คนเมืองไม่มีสิทธิ์ในผังเมืองจนกว่าจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบหรือเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งผังเมืองที่ดีจะต้องลดความขัดแย้งและทำให้คนมีความสุขเพิ่มขึ้น
“ผมคิดว่าทางออกในเรื่องนี้มี 2 ทางคือ กรุงเทพมหานครต้องยุติการดำเนินการผังเมืองฉบับนี้เพราะว่า คนที่อยู่อาศัยในเมืองที่ไม่ใช่แค่คนจนแต่คนรวยก็ได้รับผลกระทบ หลังจากนั้นต้องร่างผังเมืองใหม่โดยให้คนเมืองออกแบบเมืองที่ตัวเองอยากอยู่อาศัยร่วมกัน”
ด้าน นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ร่วมแสดงความเห็นในฐานะประชาชนโดยตั้งข้อสังเกตว่า กระบวนการทำผังเมืองรวม กทม. ฉบับนี้ ไม่มีการรับฟังความคิดเห็น แต่มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างเดียวคือการประชาพิจารณ์เรื่องบึงรับน้ำคู้บอนขนาด 8 แสนล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งประชาชนอยากให้ดำเนินการ แต่ปรากฏว่า ไม่มีการกำหนดในผังน้ำและไม่มีการเวนคืนที่ดินดังกล่าว แต่มีการนำพื้นที่ไปให้บริษัทเอกชนทำบ้านจัดสรร โดยเรื่องนี้เตรียมจะยื่นให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบ
ส่วน นายกรณ์ จาติกวนิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แสดงความเห็นในฐานะประชาชนว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกรุงเทพมหานครที่เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดอยู่เพียงเมืองเดียว ในขณะที่ประเทศอื่นมีการกระจายตัวของตัวเมืองใหญ่ตามภูมิภาคต่าง ๆ แต่ของประเทศไทยกลับมีความกระจุกตัวสูงมาก เพราะฉะนั้นจึงมีคำถามที่ควรต้องมีคำตอบว่า เราควรมียุทธศาสตร์หรือทัศนคติในการพัฒนาประเทศอย่างไร ซึ่งการทำแผนผังหรือแผนพัฒนาเมืองในอนาคตจะต้องพิจารณาถึงประเด็นความเจ็บปวดของคนกรุงเทพ (Pain Point) ซึ่งกรุงเทพมหานครมีปัญหาเรื่องน้ำท่วม รถติดคุณภาพอากาศและพื้นที่สีเขียว เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่จะเสนอแผนพัฒนาพัฒนาตัวเมืองกรุงเทพต้องตอบให้ได้ก่อนว่าแผนที่จะเสนอจะนำไปสู่การแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร
“ผมมีประเด็นคำถามอย่างมากว่ายุทธศาสตร์การร่างผังเมืองร่างที่ 4 นี้จริง ๆ ยุทธศาสตร์เพื่อตอบโจทย์ประโยชน์ของใครและผมคิดอย่างไรก็ตาม ผมก็มีข้อสรุปได้เพียงข้อเดียว ผู้ที่ได้ประโยชน์ชัดเจนมากที่สุดคือนายทุน ไม่ใช่ประชาชน” นายกรณ์ระบุ
AIS จับมือ OPPO เปิดตัว OPPO Find X8 Series สมาร์ทโฟนแฟลกชิป รุ่นล่าสุด ในราคาเริ่มต้นเพียง 18,999 บาท พร้อมมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้กับลูกค้า AIS…
ออเนอร์ กรุ๊ป เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมสุดหรู "Once Wongamat" บนทำเลทองวงศ์อมาตย์ ชูจุดเด่นการออกแบบที่ผสานความหรูหรา และความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ กลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ออเนอร์ กรุ๊ป (Honour Group)…
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มอบประกันอุบัติเหตุจากกรุงไทย แอกซ่า ฟรี 30 ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม - 31 ธันวาคม 2567…
พฤกษา โฮลดิ้ง ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสรรค์สังคมแห่งโอกาสที่เท่าเทียม เดินหน้าสู่ปีที่ 6 ของโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” โดยผนึกกำลังร่วมกับ โรงพยาบาลวิมุต และ อินโนโฮม คอนสตรัคชัน ในเครือ…
บาร์บีคิวพลาซ่า จับมือ วิตอะเดย์ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการน้ำดื่มผสมวิตามิน ส่ง "วิตอะเดย์ กะหล่ำปลี วอเตอร์" รสชาติสุดว้าว พร้อมดึงพี่ GON ร่วมสร้างสีสัน เอาใจสายเฮลท์ตี้ แถมโปรโมชั่นสุดคุ้มชุดประหยัดหมู 2…
เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…