นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) แถลงข่าวร่วมกับนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สรท. ณ ห้องประชุม 1 สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ชั้น 32 อาคารลุมพินีทาวเวอร์ เมื่อวันอังคารที่ 4 มีนาคม 2562 ระบุ การส่งออกเดือนมกราคม 2562 มีมูลค่า 18,994 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -5.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 616,104 ล้านบาท หดตัว 5.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ในขณะที่ การนำเข้าในเดือนมกราคม 2562 มีมูลค่า 23,026 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 14.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) และการนำเข้าในรูปของเงินบาทมีมูลค่า 756,664 ล้านบาท ขยายตัว 14% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ เดือนมกราคม 2562 ประเทศไทยขาดดุลการค้า 4,032 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 140,561 ล้านบาท
ทั้งนี้ การส่งออกในเดือนมกราคม กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวที่ -2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) โดย ผัก ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ไก่สด แช่แข็งและแปรรูป และเครื่องดื่มที่ยังคงมีการเติบโตในตลาด แต่ยางพารามีการหดตัวทั้งทางด้านราคาและปริมาณอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม หดตัว -5.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) โดย กลุ่มสินค้าที่มีการขยายตัว ได้แก่ นาฬิกาและส่วนประกอบ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำยังไม่ขึ้นรูป) ทิศทางการส่งออกในช่วงครึ่งปีแรกจะได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้ข้อตกลงการค้า EU-Vietnam FTA การถูกตัดสิทธิ GSP จากประเทศญี่ปุ่น ความตกลง USMCA ต่อกลุ่มยานยนต์และยางรถยนต์ เนื่องจากมีเงื่อนไขให้การผลิตรถยนต์ต้องใช้วัตถุดิบภายในประเทศถึง 75% นอกจากนั้นแล้วการเติบโตของสินค้ากลุ่มเทคโนโลยีจะมีแนวโน้มการเติบโตที่ลดลงเพราะไทยยังไม่มีสินค้าใหม่เพื่อช่วยในการส่งออก และสิ่งที่มีผลกระทบต่อภาคการส่งออกอย่างมากในช่วงปัจจุบันคือ แนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินบาทที่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออก
สรท. ยังคงคาดการณ์การส่งออกปี 62 โต 5% บนสมมติฐานค่าเงินบาท 33.0 (± 0.5) บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 4 มี.ค. 62 – 31.84 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ) โดยมี ความเสี่ยงที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญประกอบด้วย
1) บรรยากาศการค้าโลก ความผันผวนของบรรยากาศการค้าโลกจากทั้งภาวะของสงครามการค้า การเจรจา Brexit ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับสิทธิประโยชน์ทางการค้า และความไม่สงบระหว่างประเทศอินเดียและปากีสถาน ที่ส่งผลกระทบระยะสั้นต่อภาคการส่งออกและการขนส่งสินค้าทางอากาศ
2) ความผันผวนของค่าเงิน ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันด้านการเสนอราคาที่ ซึ่งทั้งสองปัจจัยนี้จะทำให้ผู้ประกอบการมีความเสี่ยง และต้นทุนที่ต้องจัดการมากขึ้น ขณะที่รายได้ในรูปของเงินบาทที่ลดลงทำให้ผู้ลงทุนอาจจะทบทวนการลงทุน
3) มาตรการกีดกันทางการค้า (NTB, NTM) จากต่างประเทศ อาทิ การควบคุมหรือเพิ่มมาตรการตรวจสอบสินค้าจากประเทศเวียดนามโดยเฉพาะกลุ่มสินค้ารถยนต์และเครื่องปรับอากาศ รวมถึงการถูกสอบสวนการทุ่มตลาด (Anti duming) ในสินค้ากลุ่มหม้อแปลงไฟฟ้าจากออสเตรเลีย และตามมาตรการใหม่ของทางสหรัฐ (US FSMA) ที่ต้องผู้ส่งออกต้องลงทะเบียนกับตัวแทนฝั่งสหรัฐก่อนจะมีการนำเข้าหรือการแก้ไขข้อมูลการนำเข้าจากเดิมที่ทางผู้ส่งออกสามารถแก้ไขได้เองและต้องมีการคิดค่าบริการเพิ่มเติมจากตัวแทน
4) การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ความล่าช้าในการเจรจาการค้าเสรีและการต่อรองสิทธิพิเศษทางด้านภาษีกับประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ การเจรจาระหว่างสหภาพยุโรปและไทย ขณะที่เวียดนามที่กำลังจะทำ FTA Vietnam- EU และข้อกฎหมายภายในประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งออก รวมทั้งการถูกตัดสิทธิ GSP จากประเทศญี่ปุ่นภายในเดือนเมษายน หลังจากไทยถูกตักสิทธิ์ GSP จากทั้งอเมริกาและยุโรปมาอย่างต่อเนื่อง
ข้อเสนอแนะที่สำคัญของสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยต่อรัฐบาลใหม่ ประกอบด้วย
1) ภาครัฐต้องกำกับดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ ไม่ให้แข็งค่าสูงกว่าคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญ ผู้ประกอบการส่งออก โดยเฉพาะ SMEs ต้องบริหารจัดการค่าเงินไม่ให้มีความผันผวนขึ้นลงมากเกินไป จนกระทบถึงต้นทุนการส่งออกโดยการพิจารณาใช้เครื่องมือทางการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการเครื่องมือประกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนจากปัจจัยของการแข็งค่าของเงินบาทที่ไม่อาจคาดการณ์ได้มารองรับ ยกตัวอย่างเช่น 1.1 บริการบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ หรือ Foreign Currency Deposit: FCD เพื่อฝากเงินตราต่างประเทศไว้กับธนาคารพาณิชย์ จนกว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะอยู่เกณฑ์ที่ยอมรับได้ถึงจะแลกเป็นเงินบาท 1.2 การใช้เงินสกุลท้องถิ่น (Local Currency) เพื่อลดต้นทุนทางการเงินและความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (สนับสนุนให้มีการ Invoicing เป็นเงินบาทและเงินตราสกุลท้องถิ่นที่มีการทำข้อตกลงให้ดำเนินการร่วมกัน อาทิ หยวน มาเลเซียนริงกิต อินโดนีเซียนรูเปียะห์ และญี่ปุ่นเยน) และเป็นทางเลือกในการชำระเงินในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ รวมถึงขอให้มีการขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศสมาชิกอาเซียนในฐานะ Home Market ให้สามารถใช้ L/C ได้เพิ่มมากขึ้น และ 1.3 การประกันค่าเงิน Fx-Option หรือ สัญญา Fx-Forward ประกันความเสี่ยง ซึ่งเป็นโครงการที่ ธปท.ร่วมกับธนาคารพาณิชย์ ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการส่งออกในระดับ SME มาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันอยู่ในระยะที่ 2 ของการดำเนินโครงการ โดยมีการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มมากขึ้น วงเงินค้ำประกันเพิ่มมากขึ้น – ภายใต้ความร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการในภาคการส่งออกได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการบริหารความเสี่ยงค่าเงิน โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับสิทธิในการได้รับวงเงินค่าธรรมเนียมในการทำประกันความเสี่ยง 50,000 บาท/กิจการ (สิ้นสุดโครงการ 29 พ.ย. 62)
2) Trade mission / Trade Fair การเปิดตลาดใหม่หรือตลาดทดแทน (Market diversification) เป็นสิ่งที่ต้องทำในช่วงความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มส่งสัญญาณถดถอยและความไม่แน่นอนของสงครามทางการค้า เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงและหาตลาดรองรับสินค้า หรือการเปิดกลุ่มผู้บริโภครายใหม่ให้เหมาะสมแต่ละกลุ่มสินค้า เช่น กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ เน้นเปิดตลาดไปยังกลุ่มตะวันออกกลาง แอฟริกา และลาตินอเมริกา เป็นต้น กลุ่มพลาสติก เน้นเปิดตลาดสินค้าในประเทศเอเชียกลาง เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา โดยมีกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้คัดครองผู้ประกอบการในขั้นต้นเพื่อให้สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภคได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ
3) การเจรจา FTA ภาครัฐควรเร่งเจรจาเปิดเสรีทางการค้าเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากไทยได้เริ่มถูกปฏิเสธในการใช้สิทธิ GSP อย่างต่อเนื่อง ทั้งจากสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ซึ่งการเจรจา FTA ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศคู่ค้าที่เริ่มทยอยตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น ไทย-อียู ไทย-สหราชอาณาจักร RCEP และ CPTPP เป็นต้น
ทรู คอร์ปอเรชั่น เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ จำนวน 5 ชุด แก่นักลงทุนทั่วไป เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมั่นคงในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยมีอายุตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี พร้อมอัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง…
'กรุงศรี ออโต้' คว้ารางวัลอันทรงเกียรติถึง 3 สาขา จากเวที Future Trends Awards 2025 ได้แก่ รางวัล The Most Innovative…
HMD Global ตอกย้ำความเป็นแบรนด์ยุโรป จับมือบาร์ซา จัดเต็มสมาร์ทโฟนรุ่นพิเศษ พร้อมกิจกรรม "HMDxBarça Go Goal Gold!!" เอาใจแฟนบอลลุ้นทองคำและของรางวัลเพียบ Human Mobile Devices (HMD)…
Biztalk ประจำวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2568 ชวนคุยเรื่องการออกกฎระเบียบบังคับให้สายการบินใช้น้ำมันลดโลกร้อน (น้ำมันอากาศยานยั่งยืน= SAF) จะเริ่มใช้จริงได้เมื่อไหร่ มีอะไรที่ต้องพิจารณาบ้าง คุยกับ พลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย…
ข่าวดีสำหรับคุณแม่! ไปรษณีย์ไทย จับมือ กรมอนามัย ยกระดับการส่งน้ำนมแม่ทั่วประเทศ ด้วยบริการ EMS ด่วนพิเศษ ฟรีค่าจัดส่ง ตอกย้ำสายใยรักจากอกแม่ สู่ลูกน้อยที่อยู่ห่างไกล หนุนเด็กแรกเกิดรับคุณค่าอาหารจากนมแม่เต็มที่ เริ่มแล้ววันนี้! บริษัท ไปรษณีย์ไทย…
Siam.AI Cloud สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยบนเวทีระดับโลก โดยเข้าร่วมงาน NVIDIA GTC 2025 พร้อมขึ้นกล่าวในหัวข้อสำคัญ "Empower the Ecosystem with Sovereign Foundation Models"…
This website uses cookies.