พลอากาศโท ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงกรณีการสร้างสนามยิงจรวดเพื่อส่งดาวเทียมในประเทศไทย ว่า “กสทช. ต้องเป็นผู้ดูแลอนุญาตหรือไม่?” นั้น ได้ชี้แจงว่า ตามอำนาจหน้าที่ กสทช. ไม่ได้เป็นผู้ดูแลโดยตรง แต่ กสทช. เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และส่วนตัวสนับสนุนให้เกิดขึ้น เพราะ กสทช. มีหน้าที่และอำนาจในการอนุญาตสิทธิในการเข้าใช้ “วงโคจรดาวเทียม” ซึ่งหากเปรียบเทียบระหว่างเครื่องบินที่บินอยู่บนท้องฟ้า กับดาวเทียมที่โคจรรอบโลกอยู่บนอวกาศนั้น “เครื่องบิน” ก็ต้องมีสนามบิน หรือ “ท่าอากาศยาน” (Airport) ที่ใช้ในการขึ้นและลงของเครื่องบิน ดังนั้น “ดาวเทียม” ก็ต้องมี “สนามหรือฐานยิงจรวด” (Rocket Launch Site) เพื่อส่งดาวเทียม และพัฒนาต่อยอดเป็น“ท่าอวกาศยาน” (Spaceport) ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมใช้ในการส่งและรับจรวดเพื่อส่งดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรบนอวกาศนั้นเอง โดยที่ “วงโคจรดาวเทียม” (Satellite Orbit) ก็เปรียบเสมือนเส้นทางการบิน (Flight Route) ที่ดาวเทียมนั้นใช้ในการโคจรรอบโลก ดังนั้น กสทช. มีหน้าที่ในการอนุญาตสิทธิในการเข้าใช้ “วงโคจรดาวเทียม”แต่มิได้มีหน้าที่ในการอนุญาตสิทธิในการสร้างท่าอวกาศยาน
อย่างไรก็ตามต่อคำถามที่ว่าประเทศไทยมีดาวเทียมไม่กี่ดวง แล้วจะสามารถเป็นท่าอวกาศยานได้หรือไม่นั้น ขอให้เปรียบดูกรณีประเทศไทยก็มีเครื่องบินเป็นของตนเองไม่น่าเกินหลักพันและไม่ได้ผลิตเครื่องบินเองด้วยซ้ำ แต่ทำไมประเทศไทยมีสนามบินสุวรรณภูมิ ที่เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางการบินของโลกได้ ทั้งนี้เช่นเดียวกัน และเมื่อเข้าใจถึงเงื่อนไขทางเทคนิคที่ใช้ในการพิจารณาจัดตั้งท่าอวกาศยานที่มีเงื่อนไขที่สำคัญ เช่น
ดังนั้น ประเทศไทยได้เปรียบเป็นอย่างมาก โดยในอดีตการส่งจรวดเป็นสิ่งที่ถูกสงวนไว้สำหรับรัฐบาลและทหารเท่านั้น ทำให้มีท่าอวกาศยานอยู่ไม่กี่แห่ง เช่น ที่แหลมคะแนเวอรัล รัฐฟลอริดา ที่ NASA ใช้ ส่วนยุโรปก็ต้องไปที่ เฟรนซ์เกียน่า ทวีปแอฟริกา ยกเว้นรัสเซียใช้ฐานยิงที่คาซัคสถาน ซึ่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ไม่ค่อยเหมาะสมเช่นเดียวกับของประเทศจีน แต่ปัจจุบันเอกชนและหน่วยงานอวกาศจากนานาประเทศเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอวกาศมากขึ้น รวมทั้งความต้องการในการสร้างและส่งดาวเทียมได้เปลี่ยนไปมาก จากเดิมที่ต้องสร้างดาวเทียมขนาดใหญ่ขึ้นสู่วงโคจรดาวเทียมค้างฟ้า หรือ Geo-Stationary Earth Orbit (GEO) ที่มีระยะที่สูงจากพื้นโลกมากแต่ใช้จำนวนดาวเทียมที่น้อย มาเป็นการสร้างดาวเทียมขนาดเล็ก ขึ้นสู่วงโคจรดาวเทียมต่ำ หรือ Low Earth Orbit (LEO) เช่น Starlink ของอเมริกามีแผนจะปล่อยดาวเทียมมากถึง 42,000 ดวง เช่นเดียวกับ Oneweb ของประเทศในยุโรป รวมทั้งประเทศจีน ที่มีแผนที่จะยิงดาวเทียมนับหมื่นดวงเช่นกัน และดาวเทียมประเภทนี้จะมีอายุสั้นประมาณ 5 ปีเท่านั้น ทำให้ต้องมีการยิงดาวเทียมดวงใหม่ขึ้นไปทดแทนอย่างต่อเนื่อง
“กิจการอวกาศเป็นอุตสาหกรรมขาขึ้นที่มีพัฒนาการต่อเนื่อง ที่มิใช่เฉพาะเรื่องดาวเทียมเท่านั้น ในอนาคตอันใกล้จะมีกิจกรรมอื่น เช่น การส่งคนขึ้นไปท่องเที่ยวบนอวกาศ หรือ การสร้างและส่ง data center บนอวกาศ ที่จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้ จึงถือว่าเป็นหนึ่งใน Sunrise Industry ที่เทคโนโลยีปัจจุบันรองรับในเชิงพาณิชย์ได้ ดังนั้นประเทศไทยควรเห็นโอกาสและร่วมมือกับประเทศที่มีความต้องการในเรื่องนี้ เช่น ประเทศจีนที่พื้นที่ตั้งอาจไม่เอื้ออำนวย โดยให้มีการร่วมลงทุนในไทยที่มาพร้อมเทคโนโลยี เช่นเดียวกับในอดีตที่เคยดึงญี่ปุ่นมาลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ทำให้ประสบความสำเร็จมาแล้ว และจะทำให้ประเทศไทยได้รับการพัฒนาบุคลากรทางด้านนี้ด้วย และเมื่อเศรษฐกิจดีปัญหาสังคมความขัดแย้งในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ก็น่าจะเบาบางลงด้วย
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยสำนักงานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (สปอ.) ลงพื้นที่ตรวจความปลอดภัยในการก่อสร้าง โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี บริเวณสถานีอิมแพ็คเมืองทองธานี (MT01) และสถานีทะเลสาบเมืองทองธานี (MT02) ทั้งช่วงเวลากลางวันและกลางคืน…
วันนี้ (22 เมษายน 2568) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า องค์การบริหารการบินแห่งสหรัฐอเมริกา (Federal Aviation Administration) หรือ FAA ได้ประกาศผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการ…
vivo ตอกย้ำผู้นำสมาร์ทโฟนแบตเตอรี่อึด เปิดตัวน้องใหม่ V50 Lite มาพร้อมสโลแกน "แบตอึด จนขอท้า" และแบตเตอรี่ BlueVolt 6500mAh สุดทนทาน เสริมทัพด้วยสมาร์ทวอตช์ดีไซน์ล้ำสมัย Watch GT…
มหกรรมฟินเทคระดับโลก Money20/20 เปิดฉากขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ ตอกย้ำสถานะของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมการเงินและเทคโนโลยีที่สำคัญของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การกลับมาจัดงานครั้งนี้สะท้อนถึงความสำเร็จในการสร้างโอกาสทางธุรกิจอันมหาศาลให้กับผู้เข้าร่วมงานชั้นนำทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก รายงานล่าสุดที่จัดทำโดย Money20/20 ร่วมกับ FXC Intelligence ซึ่งเปิดเผยเป็นครั้งแรกในงานนี้ คาดการณ์ว่า ปริมาณการชำระเงินระหว่างประเทศของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตแบบก้าวกระโดด เกือบสองเท่าภายในปี พ.ศ.…
ซีเค พาวเวอร์ CKPower ผู้นำด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ตอกย้ำเจตนารมณ์ในการสร้างคุณค่าสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง สานต่อ "โครงการหิ่งห้อย" เข้าสู่ปีที่ 8 ภายใต้แนวคิด "จุดประกายการเรียนรู้ เปิดประตูสู่ความยั่งยืน" โดยล่าสุดได้ส่งมอบอาคารห้องสมุดประหยัดพลังงานแห่งใหม่ พร้อมส่งเสริมองค์ความรู้ด้านพลังงานหมุนเวียนและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้แก่นักเรียน…
ซัมซุง (Samsung) เตรียมเขย่าวงการทีวีด้วยการประกาศเปิดตัว "ทีวี AI ตัวจริง - Samsung Vision AI is here" พร้อมยกทัพ Samsung AI…
This website uses cookies.