เดินหน้า EV เต็มกำลัง สนพ. วางเป้าสถานีชาร์จต้องมี 567 แห่ง ภายในปี 2030

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เผยผลการวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งและจำนวนเครื่องอัดประจุที่เหมาะสมสำหรับแผนพัฒนาสถานีอัดประจุสาธารณะ วางเป้าหมายในปี 2030 ไทยควรมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 567 แห่ง และเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Fast Charge 13,251 เครื่อง ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย เน้นเข้าถึงง่าย ต้นทุนเหมาะสม

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า สนพ. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จัดสัมมนาโครงการจัดทำแผนการพัฒนาสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ โดยเชิญกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. หน่วยงานภาครัฐ 2. หน่วยงานภาคขนส่งและผู้ให้บริการอัดประจุ EV 3. หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า และ 4. กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ เข้าร่วมสัมมนาให้ความเห็น เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติที่ได้มีการออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30@30 คือ การกำหนดเป้าหมายการผลิตและการใช้ ZEV (Zero Emission Vehicle) และกำหนดเป้าหมายการส่งเสริมสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสาธารณะแบบ Fast charge จำนวน 12,000 หัวจ่าย และสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจำนวน 1,450 สถานี ภายในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573

ทั้งนี้หลักการและแนวคิดในการศึกษาตำแหน่งที่ตั้งและจำนวนเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับแผนพัฒนาสถานีอัดประจุสาธารณะต้องเข้าถึงง่าย ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความต้องการใช้สูง และต้องมีต้นทุนที่เหมาะสม เช่น ที่ดิน และค่าไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น ความต้องการกำลังไฟฟ้า ตำแหน่งที่ตั้งและจำนวนเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าที่เหมาะสม การกระจายตัวของเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าให้ครอบคลุม และพัฒนาระบบในการหาตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อตั้งสถานีอัดประจุรวมถึงจำนวนหัวจ่ายที่เหมาะสมในแต่ละสถานี

ผลการศึกษาตำแหน่งที่ตั้งและจำนวนเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Fast Charge ที่เหมาะสม สำหรับแผนพัฒนาสถานีอัดประจุสาธารณะในปี 2030 พบว่าควรมีสถานีรวมจำนวน 567 แห่ง และมีเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้ารวม จำนวน 13,251 เครื่อง โดยแบ่งเป็นสถานีอัดประจุสาธารณะในเขตพื้นที่หัวเมืองใหญ่ จำนวน 505 แห่ง เครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 8,227 เครื่อง และสถานีอัดประจุสาธารณะเขตพื้นที่ทางหลวง (Highway) จำนวน 62 แห่ง เครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า จำนวน 5,024 เครื่อง

ส่วนในเรื่องของต้นทุนนั้น เนื่องด้วยธุรกิจบริการสถานีอัดประจุนั้นเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ต้นทุนสูง ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อระยะเวลาการคืนทุน ไม่ว่าจะเป็น ค่าที่ดิน ค่าปรับปรุงพื้นที่ ค่าติดตั้งเครื่องอัดประจุ ในขณะที่ค่าดำเนินการส่วนใหญ่แล้วนั้นจะเป็นค่าไฟฟ้าเป็นหลัก ดังนั้น เพื่อให้ธุรกิจสถานีอัดประจุมีต้นทุนที่เหมาะสมและเป็นธุรกิจที่น่าลงทุน จึงได้มีการเสนอแนวทางการสนับสนุนในช่วง 2 ปีแรก คือ การอุดหนุนค่าเครื่องอัดประจุ นอกจากนี้ อาจจะมีการขยายระยะเวลาของการปรับใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบ Low Priority รวมทั้งมีการจัดสรรพื้นที่สำหรับสร้างสถานีอัดประจุ เพื่อเตรียมความพร้อมด้านระบบไฟฟ้าในพื้นที่ สร้างความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน พร้อมทั้งมีการกำหนดจำนวน/ขนาดพื้นที่จอดรถ เพื่อรองรับการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าสำหรับอาคารประเภทต่าง ๆ

อย่างไรก็ดี สนพ. จะนำผลการรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนการพัฒนาสถานีประจุแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับเป้าหมายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ เพื่อให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของทุกภาคส่วนต่อไป

BizTalk NEWS

Recent Posts

Canon เปิดตัวเครื่องพิมพ์เลเซอร์ imageCLASS 5 รุ่นใหม่ ยกระดับประสิทธิภาพ ตอบโจทย์สำนักงานยุคดิจิทัล

แคนนอน (Canon) ประกาศเปิดตัวเครื่องพิมพ์เลเซอร์ imageCLASS รุ่นใหม่ล่าสุด จำนวน 5 รุ่น ซึ่งออกแบบมาเพื่อเสริมประสิทธิภาพการทำงานของสำนักงานขนาดเล็กและกลุ่มงานในองค์กรขนาดใหญ่โดยเฉพาะ โดยประกอบด้วยเครื่องพิมพ์ขาวดำ 2 รุ่น ได้แก่ imageCLASS LBP171dn…

50 minutes ago

ยุค AI ครองเมือง: 3 ทักษะสำคัญที่มนุษย์ต้องมี เพื่อโดดเด่นในตลาดแรงงาน

ในยุคที่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามามีบทบาทในภาคส่วนต่างๆ ของตลาดแรงงาน หลายคนอาจกังวลถึงโอกาสในการทำงานของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยหลายแห่งยืนยันว่า AI เป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน และยังไม่สามารถทดแทนทักษะที่สำคัญของมนุษย์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "Soft Skills" ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บุคลากรยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานปัจจุบัน องค์กรชั้นนำในปัจจุบันไม่ได้มองหาเพียงผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง…

2 hours ago

Infobip เผยเทรนด์ “สนทนาผ่านข้อความ” โตแรงในไทย WhatsApp พุ่ง 208% ชี้ธุรกิจต้องปรับตัวรับยุคดิจิทัล

Infobip เปิดเผยรายงาน Messaging Trends ฉบับล่าสุด ชี้ให้เห็นถึงการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของการสื่อสารผ่านข้อความในรูปแบบของการสนทนา (Conversational Messaging) ในประเทศไทยและทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รายงานดังกล่าวมาจากการวิเคราะห์ข้อมูลการสื่อสารระหว่างธุรกิจและผู้บริโภคกว่า 530,000 ล้านครั้งบนแพลตฟอร์มของ Infobip ในปี 2024…

3 hours ago

ไปรษณีย์ไทย คว้าใจ Gen Z ซิว “GEN Z TOP Brand Award 2025” ตอกย้ำผู้นำขนส่งทุกเจเนอเรชัน

ไปรษณีย์ไทย คว้ารางวัล "GEN Z TOP Brand Award 2025" รางวัลที่สะท้อนถึงความสำเร็จในการครองใจผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Z ได้อย่างอยู่หมัด การันตีด้วยผลสำรวจเชิงลึกจาก BrandBuffet และ…

8 hours ago

เซ็นทรัลพัฒนา คว้า Top Company Awards 2025 ตอกย้ำผู้นำอสังหาฯ เปิดตัว “บ้านนิรดา” 3 ทำเลทอง

เซ็นทรัลพัฒนา ตอกย้ำความสำเร็จในฐานะผู้นำอสังหาริมทรัพย์เพื่อความยั่งยืน คว้ารางวัล Thailand Top Company Awards 2025 สาขาอสังหาริมทรัพย์ จากนิตยสาร Business+ ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ภายใต้แนวคิด "Beating the…

9 hours ago

ทรูออนไลน์ คว้าแบรนด์อันดับ 1 เน็ตบ้านต่อเนื่อง 12 ปีซ้อน ตอกย้ำผู้นำ “Your Everyday Connect Tech”

ทรูออนไลน์ ตอกย้ำความเป็นผู้นำตลาดเน็ตบ้านไฟเบอร์อันดับ 1 ในใจผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง คว้ารางวัล "2025 Thailand’s Most Admired Brand" ในกลุ่มผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นปีที่ 12 ติดต่อกัน พร้อมรับรางวัลพิเศษ…

10 hours ago

This website uses cookies.