Categories: FinanceNews Update

เร่งสร้างเครือข่าย นักธุรกิจ-นักนโยบาย-นักวิจัย รุ่นใหม่หาเครื่องมือทางการเงินรับมือโลกร้อน

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ร่วมกับแฟรงค์เฟิร์ตสคูล เซ็นข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เพื่อสนับสนุน แผนงานทุนสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (AFFP) ที่โรงแรมเดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา

โดย ศาสตราจารย์ ดร. อุฟ มูสเลเนอร์ หัวหน้าแผนกวิจัยของแฟรงค์เฟิร์ตสคูล กล่าวว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียกำลังประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และเผชิญกับความท้าทายด้านการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ (adaptation finance) เมืองใหญ่อย่างเช่น กรุงเทพฯ ที่สร้างบนชั้นดินอ่อนสูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียงแค่ 1.5 เมตร กำลังจะเป็นเมืองหนึ่งที่ถูกผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากที่สุดในโลก เทียบเท่ากับเมืองใหญ่อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น จาการ์ต้า และมะนิลา เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น สภาพอากาศจะแปรปรวน เช่น พายุไซโคลนและไต้ฝุ่นที่รุนแรงมากขึ้น ปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน และสภาวะฝนแล้งสลับกับน้ำท่วม ที่มีแนวโน้มจะรุนแรงและถี่ขึ้น แฟรงค์เฟิร์ตสคูลร่วมกับศูนย์วิจัยด้านภูมิอากาศและการเงินของความยั่งยืนด้านพลังงาน (FS UNEP Center) ได้มุ่งเน้นการวิจัยเพื่อระบุปัญหาอุปสรรคที่มีอยู่ในด้านการเงินเพื่อมาตรการปรับตัว และได้พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และให้บริการที่ปรึกษาแก่ลูกค้าต่างประเทศเพื่อหาทางออกเพื่อรับมือกับสภาพอากาศและการจัดหาเงินทุน ซึ่งในหลายกรณีเราไม่ได้เตรียมความพร้อมต่อความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศที่กำลังเผชิญอยู่ เงินลงทุนในวันนี้เพื่อการเตรียมการที่ดี จะสามารถปันผลทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

ดร. บิม อดิการี ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสจาก ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (International Development Research Center : IDRC) จากประเทศแคนาดา กล่าวว่า ปัจจุบันแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับตัวส่วนมากมาจากการระดมทุนของภาครัฐและองค์กรระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม กระบวนการลงทุนของรัฐสามารถปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้ถูกผลกระทบสามารถปรับตัวฟื้นกลับสู่สภาพเดิมได้อย่างยั่งยืน ยิ่งกว่านั้น เราพบว่า ภาคเอกชนยังมีส่วนร่วมลงทุนเพื่อปรับตัวในระดับที่จำกัดมาก ทรัพยากรมนุษย์ในหลายประเทศกำลังพัฒนาถือเป็นข้อจำกัดหลักและ ยังมาจากการขาดผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการวิจัยด้านนโยบายการเงินเพื่อการปรับตัว ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูล การเตรียมจัดทำโครงการที่ดี และการพัฒนาโมเดลธุรกิจที่มีศักยภาพ ไปจนถึงความยากลำบากในการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง และอุปสรรคในการระบุแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและวิธีการในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเหล่านั้น

เพื่อให้การลงทุนในการปรับตัวสามารถเกิดผลลัพท์ที่มากที่สุดทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ แนวทางการจัดการจึงต้องใช้วิธีแบบองค์รวม แฟรงค์เฟิร์ตสคูล และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จึงร่วมกันจัดทำ แผนงานทุนสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ หรือ Adaptation Finance Fellowship Program (AFFP) ในปี พ.ศ. 2559 โดยมี IDRC เป็นผู้สนับสนุนแผนงานนี้ โดยให้ทุนแก่ผู้เชี่ยวชาญรุ่นใหม่ที่โดดเด่นในด้านการเงินเพื่อการปรับตัวด้านสภาพภูมิอากาศ จำนวน 36 ราย ตลอดระยะเวลาโครงการ 4 ปี

ดร. บาร์บาร่า เดร็กซเล่อร์ ผู้อำนวยการโครงการ AFFP และรองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ที่แฟรงค์เฟิร์ตสคูลกล่าวว่า ในช่วง 18 เดือน 18 ตัวแทนจากภาคเอกชน นักนโยบาย และนักวิจัย จากห้าทวีปทั่วโลกจะได้เข้าสู่กระบวนการฝึกอบรมผ่านระบบเรียนรู้ออนไลน์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการในแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และที่กรุงเทพฯ สิ่งสำคัญคือ เราต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ ไม่เพียงมีความรู้ทางเทคนิคที่สลับซับซ้อนเท่านั้น แต่ต้องมีทักษะในการติดต่อสื่อสารสามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาปรับใช้ในโลกจริง และเรียนรู้จากกันและกันได้ คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่เหล่านี้คืออนาคตที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และจะเป็นผู้นำไปสู่โลกที่สามารถตอบสนองต่อสภาวะภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้

ดร. นิพนธ์ พัวพงศกร ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของ AFFP และนักวิชาการเกียรติคุณจากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ประเด็นหลักคือ ความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้จะสามารถนำมาปฏิบัติจริงได้อย่างไร ในแผนงาน AFFP นักวิจัยรุ่นใหม่ทั่วโลกจากประเทศกำลังพัฒนา จะได้รับทุนในการทำวิจัยนวัตกรรมเรื่องแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โดยเฉพาะการปรับตัวของเกษตรกรในประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งการตอบคำถามว่าทำไมเกษตรกรบางรายถึงเข้าร่วมระบบประกันพืชผล ในขณะที่เกษตรกรบางรายตัดสินใจไม่เข้าร่วม ที่สำคัญคือ โครงการ AFFP จะจัดให้มีการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ที่เหล่านักวิจัยจะสามารถมาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเรื่องผลการวิจัยของพวกเขา โดยมีอาจารย์และนักวิชาการจากนานาชาติคอยสนับสนุนและให้คำปรึกษา ซึ่งจะทำให้นักวิจัยสามารถระบุแนวโน้มและแนวทางใหม่ๆ ที่จะทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้

วิธีดังกล่าวก่อให้เกิดผลงานวิชาการที่มีคุณภาพ โดยนักวิจัยในโครงการ AFFP 4 คนได้นำเสนอผลการวิจัยในงานประชุม the Biannual Adaptation Futures 2018 ที่จัดขึ้น ณ เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เราภูมิใจที่ได้เห็นผลสำเร็จของโครงการ เราสามารถเห็นได้ถึงแรงจูงใจและความมุ่งมั่นของนักวิจัยในโครงการ ซึ่งนั้นชี้ให้เราเห็นว่างานของเรากำลังเดินหน้าไปเรื่อยๆ และเรามาถูกทางแล้ว

ความสำเร็จล่าสุด ของโครงการ AFFP คือ การร่วมมือครั้งใหม่กับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เพื่อเป็นหัวหอกในการนำสิ่งที่เราเรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดผลในประเทศไทย โดย รศ.ดร. ชนาธิป ผาริโน ผู้อำนวยการฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย กล่าวว่า ในอีก 18 เดือนข้างหน้า สกว. จัดหาทุนวิจัยให้แก่นักวิจัยไทยสองคน คือ ดร.ปรีสาร รักวาทิน และ ผศ.ดร.ณัฐพงษ์ พัฒนพงษ์ เพื่อเข้าร่วมในโครงการ AFFP รอบที่ 2 นี้ เราอยากนำหัวข้อการวิจัยเรื่องการเงินเพื่อการปรับตัวมาขยายผลในประเทศไทย เป้าหมายของเราคือการสนับสนุนความพยายามของนักวิจัยไทยที่ได้รับการคัดเลือก เพื่อเพิ่มการแบ่งปันองค์ความรู้ในด้านการเงินเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และช่วยพัฒนานักวิจัยไทยให้กลับมาเสริมสร้างชุมชนท้องถิ่นของเรา

ด้านนาย อภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กล่าวว่า หลายปีมานี้ เรากำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่จากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเกิดมาจากสภาวะโลกร้อน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เพียงแต่จะกระทบต่อลูกค้าของเราซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย แต่ยังรวมไปถึงผลการดำเนินการด้านสินเชื่อของ ธกส. ซึ่งในปี พ. ศ. 2560 ค่าเบี้ยประกันภัยพืชผลโดยรวมทั้งหมดมีมูลค่าสูงถึง 2,527 ล้านบาท เราจึงตระหนักดีว่านี่เป็นเรื่องเร่งด่วน และเราจำเป็นที่จะต้องลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็น เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการส่งพนักงานของ ธกส. ไปเข้าร่วมโครงการ AFFP จะทำให้พนักงานของเรามีความรู้และทักษะที่ดี และจะช่วยให้เรามีแนวคิดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางที่เราจะสามารถพัฒนาองค์กรของเราให้กลายเป็นผู้นำด้านการปรับตัวของเกษตรกรในระดับภูมิภาค

BizTalk NEWS

Recent Posts

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึก Edutainment และ Playland จัดแคมเปญ “The Little Campus 2024” ดันทราฟฟิกกลุ่มครอบครัว

เซ็นทรัลพัฒนา ผนึกกำลังกับพันธมิตรชั้นนำด้าน Edutainment กว่า 300 สถาบัน รวมถึง Playland สุดฮิต จัดแคมเปญ The Little Campus 2024 เปลี่ยนศูนย์การค้าเซ็นทรัลให้เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้…

12 hours ago

เดนทิสเต้พาลิซ่าจัดงานในไทยอีกครั้ง กับ 3 กิจกรรมในงาน DENTISTE’ x LISA Exclusive After Party

เดนทิสเต้ เดินหน้านำ 3 กิจกรรมสุดยิ่งใหญ่เหนือใคร พาศิลปินระดับโลกชาวไทยอย่าง “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” ซึ่งเป็นหนึ่งในครอบครัวเดนทิสเต้ ในฐานะ Brand Ambassador ของประเทศไทย มาสร้างประสบการณ์สุดพิเศษให้กับแฟนๆ ชาวไทยผ่าน…

12 hours ago

เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ปิดดีลขายที่ดิน 2 แปลง รับ 700 ล้านบาท พร้อมออกหุ้นกู้ 2 ชุด ดอกเบี้ยสูง 7% และ 7.25%…

12 hours ago

กทม. x สวทช. สสวท พัฒนาเยาวชน ในโรงเรียนภาษาที่สาม สู่นวัตกรยุค 4.0 ด้วย Digital Innovation Maker space นำร่องพื้นที่กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ชาติ (เนคเทค สวทช.) และ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ Digital…

12 hours ago

รฟม. เผยครบรอบ 1 ปี นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ผลดีเกินคาด ทำยอดผู้โดยสารรถไฟฟ้า MRT และผู้ใช้บริการอาคารจอดแล้วจรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นายวิทยา พันธุ์มงคล รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ รฟม. ได้ดำเนินการตามนโยบายอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ซึ่งเป็นหนึ่งนโยบาย Quick Win “คมนาคม…

15 hours ago

เป็นเจ้าของสถานีชาร์จฯ ง่ายนิดเดียว ชมแพคเกจสุดพิเศษจาก กฟผ.ในงาน Bangkok EV Expo 2024 ที่บูท EV3/2

กฟผ. ร่วมออกบูท EGAT EV Business Solutions (บูท EV3/2) ในงาน Bangkok EV Expo 2024 เพื่อส่งต่อความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาและการบริหารจัดการเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า…

15 hours ago