ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า จากกระแสความกังวลถึงความเสี่ยงสำคัญปี 2565 ว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่สภาวะ Stagflation หรือ เศรษฐกิจชะลอตัวแรง ที่มักตามมาด้วยปัญหาคนว่างงาน พร้อมกับเผชิญปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เรามองว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นจากความต้องการน้ำมันเร่งตัวเร็ว สวนทางกับกำลังการผลิตน้ำมันเติบโตช้า ความต้องการน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นตามความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ และประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ที่ฟื้นตัวรวดเร็วจากมาตรการกระตุ้นการเงินและการคลังมหาศาล แต่กำลังการผลิตน้ำมันวิ่งตามไม่ทัน เพราะธุรกิจสำรวจและขุดเจาะน้ำมันหลายแห่งล้มเลิกกิจการไปช่วงที่ราคาน้ำมันลดลงต่ำในปีก่อน แม้ราคาน้ำมันขยับสูงขึ้น แต่การลงทุนยังต่ำ
ขณะที่กลุ่มโอเปกเพิ่มกำลังการผลิตอีก 4 แสนบาร์เรลต่อวันก็ยังตามไม่ทันอุปสงค์น้ำมันที่โตเร็วกว่า คาดว่าสถานการณ์จะลากยาวถึงไตรมาสแรกปีหน้า หลังจากนั้น ราคาน้ำมันจะเริ่มลดลงและกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง กรณีฐานเช่นนี้ อัตราเงินเฟ้อของไทยในไตรมาสสี่ปี 2564 น่าจะอยู่ที่ราว 1.5% จากปีก่อน และน่าจะขยับขึ้นไปที่เฉลี่ยราว 1.7% ในปี 2565 ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยที่ 83 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในไตรมาสสี่ปีนี้ และ 66 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปีหน้า
อย่างไรก็ดี มีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่า 2% ในไตรมาสสามปี 2565 จากฐานที่ต่ำปี 2564 แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นชั่วคราวตามราคาน้ำมัน ไม่น่าเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสี่ปี 2564 น่าจะฟื้นตัวจากไตรมาสสามได้ราว 1.4% (QoQ) แม้จะหดตัวเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนราว 0.9% (YoY) จากการบริโภคที่อ่อนแอ คนขาดกำลังซื้อ นักลงทุนและผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่ยังสูงแม้จะเปิดเมืองแล้วก็ตาม เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่มาก เราคงหวังมาตรการทางการคลังในการกระตุ้นการบริโภคและประคองค่าครองชีพของประชาชนที่มีรายได้น้อย เพื่อบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงที่เงินเฟ้อขยับขึ้น แต่ในภาวะเช่นนี้ เศรษฐกิจไทยยังห่างไกลจากภาวะ stagflation โดยเรายังมองว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวได้ราว 3.2% ในปีหน้า ยกเว้นมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมที่ทำเงินเฟ้อเร่งขึ้น เราจะมาประเมินว่า ผลกระทบต่อภาคส่วนเศรษฐกิจต่างๆ จะมีมากน้อยเพียงไร และประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเช่นไรเทียบกับประเทศอื่น
คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจไทย
ที่มา – สภาพัฒน์ และ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
ปัจจัยเสี่ยงเงินเฟ้อ
ปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจในปีหน้าคือภาวะเงินเฟ้อ แต่เงินเฟ้อไม่เพียงแต่มาจากราคาน้ำมันเท่านั้น เราประเมินความเป็นไปได้ของเงินเฟ้อมาจาก 4 ปัจจัยดังนี้
ที่มา – สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย
ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น แนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น และการอ่อนค่าของเงินบาท มีทั้งกลุ่มธุรกิจ/อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบเชิงลบและกลุ่มที่ได้ประโยชน์ โดยเราประเมินกลุ่มธุรกิจ/อุตสาหกรรมแยกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เทียบกรณีฐานกับกรณีราคาสูง
ที่มา – Oxford Economics Model และสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
ผลกระทบราคาน้ำมันต่อเงินเฟ้อ
คำถามน่าสนใจคือ อัตราเงินเฟ้อของไทยที่อาจจะเร่งขึ้นได้ 2.4% จากกรณีฐานเช่นนี้ นับว่ารุนแรงมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เราศึกษาแบบจำลองจาก Oxford Economics Model โดยศึกษาประเทศในเอเชียและประเทศสำคัญๆ พบว่า ประเทศที่มีความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อปีหน้าจะพุ่งได้เร็วมากที่สุดคือ มาเลเซีย รองลงมาคือ อินเดีย ส่วนประเทศไทยอยู่ในกลุ่มที่อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสพุ่งสูง โดยประเทศเหล่านี้มีการใช้พลังงานเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เงินทุนไหลออกเร็วตามความผันผวนที่สูงของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งค่าเงินมีโอกาสอ่อนค่าได้เร็ว ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศพัฒนาแล้วไม่น่าจะเร่งขึ้นมากแม้ราคาน้ำมันพุ่งขึ้น เพราะพึ่งพาพลังงานทางเลือกสูง ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ต้องอาศัยการใช้พลังงานมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประกอบกับค่าเงินไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากจนสินค้านำเข้ามีราคาแพงขึ้นเร็ว โดยในกลุ่มที่ศึกษาจะพบประเทศญี่ปุ่นมีอัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นจากกรณีฐานเพียง 0.6% ตามมาด้วย จีน อังกฤษ และสหรัฐฯ
การเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อในปี 2565 เทียบกรณีเงินเฟ้อสูงกับกรณีฐาน
ที่มา – Oxford Economics Model และสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากปัญหาเงินเฟ้อ
จากปัญหาราคาน้ำมันสูงขึ้น และอุปทานหยุดชะงักในภาคการผลิต เศรษฐกิจโลกเสี่ยงเติบโตช้าลงจากกรณีฐาน เช่น กรณีประเทศไทยที่คาดว่าปี 2565 จะเติบโตได้ 3.2% ก็อาจเติบโตได้เพียง 2.0% หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น -1.2% เป็นต้น โดยเศรษฐกิจที่ชะลอจากกรณีฐานมีปัจจัยมาจากการนำเข้าที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันและวัตถุดิบอื่นๆ ส่งผลให้มีรายจ่ายไหลออกนอกประเทศมากขึ้น ขณะที่กำลังซื้อในตลาดโลกก็ชะลอตัวเช่นกัน ส่งผลให้การส่งออกลดลง รายได้แรงงานนอกภาคเกษตรปรับตัวลง การบริโภคลดลงตามรายได้จากแรงงาน และจากราคาสินค้าที่สูงขึ้นทำให้ความสามารถในการใช้จ่ายลดลง อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมีผลต่อภาคตลาดการเงินผ่านต้นทุนการกู้ยืมของเอกชนผ่านตลาดตราสารหนี้ที่สูงขึ้น โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจแรงได้แก่ เกาหลีใต้ สหรัฐฯ อินเดีย และอินโดนีเซีย ขณะที่กลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจน้อยกว่ากลุ่มอื่น ได้แก่ กลุ่มโอเปก เวียดนาม ฝรั่งเศส จีน และสิงคโปร์
การเปลี่ยนแปลงของอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2565 เทียบกรณีเงินเฟ้อสูงกับกรณีฐาน
ที่มา – Oxford Economics Model และสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
ธนาคารกลางประเทศใดกลัวเงินเฟ้อที่สุด หน้าที่สำคัญของธนาคารกลางคือการรักษสเสถียรภาพด้านราคา หรือพยายามใช้นโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายหรือระดับที่เหมาะสม เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยมีกรอบเงินเฟ้อทั่วไปที่ 1-3% ขณะที่บางประเทศจะถือระดับอัตราเงินเฟ้อที่ 2% เป็นระดับเป้าหมาย ซึ่งในช่วงที่อัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นเร็วจนเศรษฐกิจเริ่มมีปัญหาด้านเสถียรภาพของราคา
โดยมากแล้ว ธนาคารกลางจะใช้นโยบายการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น เช่น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น การเติบโตของสินเชื่อจะลดลง เพราะผู้ลงทุนและผู้บริโภคจะชะลอกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ
แต่โดยมาก มาตรการทางการเงินจะใช้ได้ผลดีเมื่อปัญหาเงินเฟ้อมาจากด้านอุปสงค์เป็นหลัก เพราะการขึ้นดอกเบี้ยจะช่วยลดความต้องการสินค้า การก่อสร้าง และการลงทุนได้ แต่หากมาจากด้านอุปทานเช่นนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจต้องทำมากขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ เช่น ในกรณีฐาน เรามองว่าธปท.น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ต่อปีในปี 2565
แต่เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ธปท.อาจต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 1.75% ไปสู่ระดับ 2.25% ในปลายปีหน้า โดยประเทศที่ธนาคารกลางกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อจนต้องรีบขึ้นดอกเบี้ยสกัดมากที่สุดในกลุ่มคือ มาเลเซีย ไทย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ตามลำดับ และเป็นที่น่าสนใจว่า ประเทศพัฒนาแล้วที่เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งในปีนี้และพร้อมในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายก่อนชาติอื่น เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ยูโรโซน ญี่ปุ่น และจีน กลับแทบไม่ต้องมีการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่วางแผนเอ
ทรู คอร์ปอเรชั่น เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ จำนวน 5 ชุด แก่นักลงทุนทั่วไป เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมั่นคงในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยมีอายุตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี พร้อมอัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง…
'กรุงศรี ออโต้' คว้ารางวัลอันทรงเกียรติถึง 3 สาขา จากเวที Future Trends Awards 2025 ได้แก่ รางวัล The Most Innovative…
HMD Global ตอกย้ำความเป็นแบรนด์ยุโรป จับมือบาร์ซา จัดเต็มสมาร์ทโฟนรุ่นพิเศษ พร้อมกิจกรรม "HMDxBarça Go Goal Gold!!" เอาใจแฟนบอลลุ้นทองคำและของรางวัลเพียบ Human Mobile Devices (HMD)…
Biztalk ประจำวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2568 ชวนคุยเรื่องการออกกฎระเบียบบังคับให้สายการบินใช้น้ำมันลดโลกร้อน (น้ำมันอากาศยานยั่งยืน= SAF) จะเริ่มใช้จริงได้เมื่อไหร่ มีอะไรที่ต้องพิจารณาบ้าง คุยกับ พลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย…
ข่าวดีสำหรับคุณแม่! ไปรษณีย์ไทย จับมือ กรมอนามัย ยกระดับการส่งน้ำนมแม่ทั่วประเทศ ด้วยบริการ EMS ด่วนพิเศษ ฟรีค่าจัดส่ง ตอกย้ำสายใยรักจากอกแม่ สู่ลูกน้อยที่อยู่ห่างไกล หนุนเด็กแรกเกิดรับคุณค่าอาหารจากนมแม่เต็มที่ เริ่มแล้ววันนี้! บริษัท ไปรษณีย์ไทย…
Siam.AI Cloud สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยบนเวทีระดับโลก โดยเข้าร่วมงาน NVIDIA GTC 2025 พร้อมขึ้นกล่าวในหัวข้อสำคัญ "Empower the Ecosystem with Sovereign Foundation Models"…
This website uses cookies.