เอ็นไอเอพาไขสมการปั้น ซิลิคอนวัลเลย์เวอร์ชั่นประเทศไทย เมืองนวัตกรรมในฝันที่ไม่ใช่แค่การขายฝัน

“ซิลิคอนวัลเลย์” หนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญที่เป็นศูนย์กลางโลกเทคโนโลยีชั้นสูงและนวัตกรรม ซึ่งประกอบด้วยบริษัทไฮเทคจำนวนมาก รวมถึงบรรดาสตาร์ทอัพชั้นนำของโลก ทำให้หลายประเทศได้รับแรงบันดาลใจในการนำโมเดลการกำเนิด “ซิลิคอนวัลเลย์” ในสหรัฐอเมริกามาเป็นแบบอย่างในการพัฒนาประเทศ เช่น อิสราเอล ที่เปลี่ยนจากประเทศขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติกลายเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง และมีสตาร์ทอัพระดับหัวกะทิกว่า 1 หมื่นราย ส่วนหนึ่งมาจากการสร้าง “ซิลิคอนวาดี” (Silicon Wadi) รอบ ๆ เทลาวีฟ

ส่วนเกาหลีใต้ที่มีความเจริญก้าวหน้าด้านไอซีที อีคอมเมิร์ซ ซอฟต์เพาเวอร์ และก้าวขึ้นมาติดอันดับ 5 ของโลกในฐานะประเทศที่มีดัชนีนวัตกรรมดีที่สุดของปี 2021 ก็สร้าง “พันกโยเทคโนวาเลย์” (Pangyo Techno Valley) ที่เมืองซ็องนัม สำหรับประเทศไทยก็มีการวางเป้าหมายในการสร้าง “ซิลิคอนวัลเลย์แบบเวอร์ชันไทยแลนด์” ไว้เช่นกัน แต่จะเกิดขึ้นได้จริงหรือจะเป็นเพียงการขายฝัน ลองมามอง 3 มิติการพัฒนาที่น่าสนใจกัน

OR จับมือ บลูบิค กางแผน ออร์บิท ดิจิทัล มุ่งสู่การเป็นผู้นำ Digital Mobility & Lifestyle
คราวน์ โทเคน “CWT” ตัวเชื่อมระบบนิเวศของโลก IP – NFT และ Metaverse

“ย่านนวัตกรรม” สมการหน่วยแรกก่อนพาสชั้นสู่ “เมืองนวัตกรรม” และ “จักรวาลนฤมิตของนวัตกรรม”

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมักมองการพัฒนาพื้นที่ทางนวัตกรรมในระดับใหญ่ ซึ่งก่อนจะก้าวไปสู่จุดนั้นได้ควรเริ่มจากจุดเล็กๆ อย่าง “ย่านนวัตกรรม” (Innovation District) เพื่อให้ความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่อย่างชัดเจน เช่น ย่านการแพทย์ ย่านเทคโนโลยีดิจิทัล ย่านวัฒนธรรม ฯลฯ และเมื่อมีความชัดเจนจะเกิดการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ เกิดเม็ดเงินลงทุนของภาคเอกชน และเกิดแรงจูงใจให้สตาร์ทอัพอยากนำไอเดีย หรือผลงานเข้ามาทดลองใช้จริงในย่านนั้น ๆ

เมื่อมีจำนวนมากขึ้นก็จะขยายไปสู่การเป็นเมืองนวัตกรรม สมาร์ทซิตี้ และเชื่อมต่อไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงที่มีความต่อเนื่องกัน โดยตัวอย่างการเชื่อมต่อย่านนวัตกรรมที่ NIA ได้เริ่มทำก็คือตั้งแต่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี) เชื่อมต่อไปยังย่านนวัตกรรมพระราม 4 ทรูดิจิทัลพาร์ค ถนนบางนาตราด ยาวไปจนถึงสนามบินอู่ตะเภา และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

ปัจจุบัน NIA ได้ริเริ่มพัฒนาย่านนวัตกรรมแล้ว 16 ย่านจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ 27 ย่านในประเทศ ซึ่งเฉพาะในกรุงเทพฯ สามารถรวบรวมพื้นที่ประมาณ 2-3 ล้านตารางเมตร และมีภาคเอกชน เช่น ทรูดิจิทัล พาร์ค เอไอเอส ฯลฯ ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง และย่านที่เริ่มเห็นแววในการส่งเสริมการลงทุนอย่างจริงจังก็คือ “ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี” ที่ปัจจุบัน BOI เห็นชอบให้เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยมีพื้นที่ศูนย์กลางนวัตกรรมและการวิจัยทางการแพทย์ เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมและแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) ระหว่างผู้ประกอบการกับสถาบันหรือหน่วยงานของภาครัฐ ซึ่งนับเป็นข่าวดีมากที่ในอนาคตคนไทยจะได้เห็นพื้นที่ทางการแพทย์ที่สำคัญ ทัดเทียมกับประเทศชั้นนำในระดับโลก

นอกจากนี้ มั่นใจว่าจะขยายโอกาสการส่งเสริมการลงทุนในลักษณะเดียวกันในพื้นที่ย่านอื่นเพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างสรรค์นวัตกรรมบนพื้นฐานความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่ และก็เริ่มมีเมืองนวัตกรรมในจักรวาลนฤมิต (Metaverse) กันบ้างแล้ว

“ดีพเทค” อีกตัวแปรสำคัญของนวัตกรรมไทย

ดร.พันธุ์อาจ ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โอกาสที่จะสร้างให้เกิดเมืองที่เป็นเสมือนซิลิคอนวัลเลย์นั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Tech) ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของธุรกิจนวัตกรรมหลายประเภทและเป็นเครื่องมือสร้างความแตกต่างให้สตาร์ทอัพทั้งในเรื่องสิทธิบัตร ความยากในการลอกเลียนบริการและผลิตภัณฑ์ รวมถึงเป็นนวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างตรงจุด

ทั้งนี้ ในปี 2565 – 2566 NIA ตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนสตาร์ทอัพด้านดังกล่าวให้ได้อย่างน้อย 100 ราย ใน 6 สาขา ได้แก่ การแพทย์และสุขภาพ อาหาร เกษตร อวกาศ การป้องกันประเทศ และอารีเทค (ARITech; AI , Robotic และ Immersive) ซึ่งคาดว่าจะช่วยตอบโจทย์สำคัญกับภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่อีอีซีได้อย่างตรงจุด

โดยเมื่อมีการเกิดขึ้นของดีพเทคสตาร์ทอัพตามจำนวนเป้าหมายที่วางไว้แล้วก็จะเชื่อมโยงไปสู่ภาคอุตสาหกรรมทั้งที่เป็นบริษัทขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เพื่อให้ภาคส่วนเหล่านี้ได้มีโอกาสทำงานร่วมกันจนเกิดการต่อยอดสร้างมูลค่าในเชิงพาณิย์และสามารถนำไปใช้อย่างแพร่หลาย จนเกิดเป็นระบบนิเวศที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน

โจทย์จากรัฐก่อนสร้างผลลัพธ์ซิลิคอนวัลเลย์เมืองไทย

ที่ผ่านมาภาครัฐในฐานะเป็นผู้วางนโยบายและแนวทางการพัฒนาประเทศ ได้กำหนดนโยบายที่เอื้อต่อการลงทุนโดยเฉพาะพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ (Eastern Economic Corridor หรือ EEC) เพื่อผลักดันเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพให้สามารถเติบโตไปพร้อมกับการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งระยะแรกจะเป็นการยกระดับใน 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ที่ถือเป็นกลุ่มเขตอุตสาหกรรมสำคัญอันดับต้นๆ ของประเทศ โดยมุ่งเน้นการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมผ่านโครงการนำร่อง เช่น

-เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EECi ที่เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมบนพื้นที่ EEC สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในวังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง มีเป้าหมายในการยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ควบคู่กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

-เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล หรือ EECd ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน ด้านอุตสาหกรรม และนวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาคที่เน้นให้เกิดการลงทุนทางธุรกิจดิจิทัลควบคู่กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ตลอดจนยกระดับการลงทุนและพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีเดิมไปสู่อุตสาหกรรมดิจิทัลยุคใหม่ที่เป็นกลไกสำคัญในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ประเทศไทย 4.0

นอกจากนี้ ยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผ่านอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค และเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ (Science City) ซึ่งเป็นสวนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่เป็นศูนย์รวมของบริษัททันสมัยและเป็นผู้นำในภาคอุตสาหกรรมไฮเทคและวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต ซึ่งประกอบด้วยศูนย์วิจัยและพัฒนา ผู้ให้บริการรับทําวิจัยตามสัญญา และสตาร์ทอัพ โดยกำหนดขอบเขต 4 โซน ได้แก่ โซนวิชาการ โซนวิจัยและพัฒนา โซนนวัตกรรม และโซนวิถีชีวิตแบบอัจฉริยะ

ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าหากภาครัฐและเอกชนเพร้อมจับมือกันขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็น “ประเทศแห่งนวัตกรรม” โอกาสที่จะเกิด “ซิลิคอนวัลเลย์เมืองไทย” นั้นอยู่ไม่ไกลเกินฝันอย่างแน่นอน

supersab

Recent Posts

“โค้ก” ซีโร่ กลิ่นวานิลลา: เขย่าตลาดเครื่องดื่ม เติมความซ่าส์ หอมหวานลงตัว เอาใจ Gen Z

โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…

10 hours ago

Epson ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นแท่นผู้นำคนใหม่

บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…

11 hours ago

รฟม. ลุยตรวจเข้ม ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง รถไฟฟ้าสายสีม่วง

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…

12 hours ago

LINE MAN MART ผนึกกำลัง Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายบริการช้อปปิ้งออนไลน์สู่ 1,400 สาขา จัดเต็มส่วนลดสุดปังทุกสัปดาห์!

LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…

15 hours ago

พฤกษา จับมือ รพ.วิมุต มอบสิทธิพิเศษดูแลสุขภาพลูกบ้านตลอดปี 2568 ตอกย้ำผู้นำอสังหาฯ สร้างชุมชนสุขภาพดี

พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…

15 hours ago

HONOR Magic7 Pro 5G ยอดขายพุ่งทะยาน 2.4 เท่า สะท้อนความเชื่อมั่นเทคโนโลยี AI

ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…

15 hours ago