News Update

ไทยครองอันดับ 2 ประเทศที่มีบริษัทติดอันดับ Southeast Asia 500 มากที่สุดในภูมิภาค บริษัทไทยติดอันดับมากถึง 107 บริษัท

Fortune บริษัทสื่อชั้นนำระดับโลก เผยผลการจัดอันดับ Southeast Asia 500 ปี 2567 เป็นครั้งแรก โดยมีรายชื่อของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ถูกจัดอันดับตามรายได้ สำหรับปีงบประมาณ 2566 Fortune ได้มุ่งเน้นภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในเศรษฐกิจโลก ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในภูมิภาค

การจัดอันดับครั้งแรกนี้ประกอบไปด้วยบริษัทจาก 7 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา โดยอินโดนีเซียครองอันดับหนึ่งด้วยรายชื่อบริษัทติดอันดับสูงสุดถึง 110 บริษัท ในขณะที่ประเทศไทยตามมาด้วย 107 บริษัท มาเลเซีย 89 บริษัท แซงหน้าสิงคโปร์ที่มี 84 บริษัท ตามด้วยเวียดนามที่ติดอันดับ 70 บริษัท ฟิลิปปินส์อยู่ที่ 38 บริษัท และกัมพูชาที่ 2 บริษัท

ในด้านรายได้ บริษัทค้าสินค้าโภคภัณฑ์ Trafigura ของประเทศสิงคโปร์ครองอันดับที่ 1 ด้วยยอดขาย 244 พันล้านดอลลาร์ จากการจำหน่ายแร่ธาตุ โลหะ และพลังงาน โดยมีจำนวนพนักงานน้อยที่สุดในบรรดาบริษัทชั้นนำ 10 อันดับแรก เมื่อพิจารณาตามรายได้ และเป็นบริษัทที่ทำกำไรได้มากเป็นอันดับสองในกลุ่มนี้

บริษัท 10 อันดับแรกใน Southeast Asia 500 เป็นกลุ่มบริษัทที่มีความหลากหลาย โดยภาคพลังงานมีบริษัทที่ติดอันดับสูงสุดจำนวน 3 บริษัทด้วยกัน ได้แก่ปตท. (PTT) ของไทยเข้ามาอยู่ในอันดับที่ 2 Pertamina ของอินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 3 และบริษัทไฟฟ้าภาครัฐของอินโดนีเซีย Perusahaan Listrik Negara อยู่ในอันดับที่ 6 อีกประเด็นที่น่าสนใจคือสิงคโปร์มีจำนวนบริษัทที่ติดอันดับมากที่สุดใน 10 อันดับแรก โดยมี Trafigura อยู่อันดับแรก ตามมาด้วย Wilmar ที่อันดับ 4 Olam ที่อันดับ 5 Flex ที่อันดับ 8 และ DBS ที่อันดับ 10 นอกจากนี้ ในสิบอันดับแรกยังมี CP All ของไทยอยู่ที่อันดับ 7 และ San Miguel ของฟิลิปปินส์ที่อันดับ 9 อีกสามบริษัทจากไทยที่ติดอันดับ 20 บริษัททำรายได้สูงสุดได้แก่: อินโดรามา เวนเจอร์ส (Indorama Ventures) อยู่ที่อันดับ 14 ปูนซิเมนต์ไทย (Siam Cement) อยู่ที่อันดับ 16 และ ซีพี แอ็กซ์ตร้า (CP Axtra) อยู่ที่อันดับ 19

บริษัทที่ใหญ่ที่สุด 10 อันดับแรกได้รับรายงานว่ามีรายได้ถึง 6.5 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของรายได้รวมในงบประมาณปี 2566 จากบริษัททั้งหมดใน Southeast Asia 500 ซึ่งมีรายได้ทั้งสิ้น 1.8 ล้านล้านดอลลาร์ เกณฑ์รายได้ขั้นต่ำในการมีรายชื่ออยู่ใน Southeast Asia 500 คือ 460.8 ล้านดอลลาร์ ด้วยรายได้รวมอยู่ที่ 2.42 แสนล้านดอลลาร์ การธนาคารจึงเป็นภาคส่วนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญ ธนาคาร 9 แห่งติดหนึ่งใน 20 บริษัทที่ทำกำไรได้มากที่สุด โดยนำด้วยธนาคาร DBS ของสิงคโปร์ทั้งในด้านรายรับและผลกำไร

ภาพรวมของ Southeast Asia 500 ในปีที่ผ่านมามีรายได้และผลกำไรที่ลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นได้รับผลกระทบจากธุรกิจภาคพลังงานที่ถดถอยลง จึงได้บดบังการเติบโตที่น่าประทับใจในหลายอุตสาหกรรม บริษัทที่มีการเติบโตอย่างน่าประทับใจได้แก่สายการบินเช่น การบินไทย (Thai Airways) บริษัทเหมืองแร่ในอินโดนีเซียเช่น Harita Nickel และ Merdeka Battery Materials รวมถึงบริษัทประกันภัยและธนาคารอีกมากมาย

Clay Chandler บรรณาธิการบริหารประจำภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า การจัดอันดับ Fortune Southeast Asia 500 สะท้อนให้เห็นถึงภูมิภาคที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีเศรษฐกิจหลักเติบโตเร็วกว่าภูมิภาคยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญมากขึ้นในเศรษฐกิจโลก เนื่องจากบริษัทข้ามชาติที่ติดอันดับ Global 500 หลายแห่งได้ย้ายห่วงโซ่อุปทานการผลิตไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตว่า Southeast Asia 500 จะติดตามการเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านสินค้าโภคภัณฑ์ การขนส่ง การเงิน การค้าปลีก เทคโนโลยี หรือการให้บริการ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปีต่อ ๆ ไป

อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงที่นักวิเคราะห์ของ Fortune สังเกตเห็น คือการที่มีซีอีโอและประธานบริษัทหญิง ประมาณ 30 คน จากกลุ่ม Southeast Asia 500 และมีซีอีโอที่อายุน้อยที่สุดคือ นายศินนท์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทบ้านปู (BANPU) ของประเทศไทย ซึ่งมีอายุ 34 ปี และได้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา โดยรวมแล้วมีผู้นำในวัย 30 กว่า ๆ ทั้งสิ้น 16 คน ดำรงตำแหน่งซีอีโอ, กรรมการผู้จัดการ, ประธานกรรมการบริหารหรือประธานบริษัท และในจำนวน 500 บริษัทนี้ ว่าจ้างพนักงานรวมแล้วเกือบ 6 ล้านคนด้วยกัน ทั้งนี้การเปิดตัวรายชื่อ Southeast Asia 500 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทชั้นนำที่ได้รับการยอมรับจากการรวมตัวกันภายใต้กลุ่ม Fortune 500 ซึ่งประกอบด้วย Fortune 500 Global, Fortune 500 Europe, Fortune China 500 และ Fortune Southeast Asia 500 ใหม่นี้

BizTalk NEWS

Recent Posts

จุฬาฯ ผนึก Google Cloud เปิดตัว “ChulaGENIE” AI สุดล้ำ ปฏิวัติวงการศึกษาไทย!

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประกาศความร่วมมือกับ Google Cloud เปิดตัว "ChulaGENIE" (Chula's Generative AI Environment for Nurturing Intelligence and Education)…

13 seconds ago

“ศรณ์” สร้างประวัติศาสตร์ คว้า 3 ดาวมิชลิน ร้านอาหารไทยร้านแรกของประเทศ

มิชลิน ไกด์ ประเทศไทย ประจำปี 2568 (The MICHELIN Guide Thailand 2025) มาพร้อมกับข่าวใหญ่สะเทือนวงการอาหารไทย เมื่อ "ศรณ์" ร้านอาหารใต้ชื่อดัง คว้ารางวัล…

50 minutes ago

บาร์บีคิวพลาซ่า ทุ่มทุนปั้น “Best Friend Brand” เปิดตัวหนังสือ “บาร์บีกอนกับภารกิจตามหาไฟศักดิ์สิทธิ์” หวังครองใจคนไทย

บาร์บีคิวพลาซ่า เดินหน้ายกระดับ "บาร์บีกอน" มาสคอตคู่ใจ สู่ "Best Friend Brand" พร้อมเปิดตัว "บาร์บีกอนกับภารกิจตามหาไฟศักดิ์สิทธิ์" นิทานธุรกิจเล่มแรกในไทย หวังเชื่อมสัมพันธ์ลูกค้า สร้างแรงบันดาลใจ และตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน Mascot…

1 hour ago

ห่วงใยหัวใจเพื่อนรัก “สุนัข” ก็เป็น “โรคหัวใจ” ได้นะ! รู้ทันภัยเงียบก่อนสายเกินแก้

สุนัขแสนรักของเราก็เหมือนกับคน ยิ่งอายุมากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บก็ยิ่งถามหา และหนึ่งในโรคร้ายที่อาจคร่าชีวิต "สุนัข" ได้แบบไม่ทันตั้งตัวก็คือ "โรคหัวใจ" โรงพยาบาลสัตว์อารักษ์ เผยสถิติสุดช็อกว่า สุนัขที่มาโรงพยาบาลถึง 10% พบปัญหาโรคหัวใจ! แถมสุนัขสูงวัยมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจจากความเสื่อมมากถึง 60% เลยทีเดียว…

1 hour ago

ไปรษณีย์ไทย ชวนต่อยอดรายได้ – เพิ่มยอดขายด้วยโมเดล EMS Point เปิดจุดบริการรับฝากของและพัสดุได้ฟรี! ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด เชิญชวนผู้ประกอบการร้านค้าปลีก-ค้าส่ง ธุรกิจบริการ หรือที่อยู่อาศัย สร้างรายได้จากพื้นที่ว่างหน้าร้านโดยเปิด จุดให้บริการรับฝากสิ่งของและพัสดุ “EMS Point” ด้วยมาตรฐานเดียวกับที่ทำการไปรษณีย์ โดยไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมแรกเข้า และไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม พร้อมรับค่าตอบแทนสูงสุด 40…

1 hour ago

เจาะลึกกลยุทธ์ “On-Demand Marketing” บน LINE MAN สูตรลับความสำเร็จของแบรนด์ดัง

ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างต้อง "เร็ว" บริการแบบ "ออนดีมานด์" (On-Demand) ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันที จึงกลายเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง LINE MAN แพลตฟอร์มเจ้าตลาดที่ไม่ใช่แค่แอปฯ สั่งอาหาร แต่ยังเป็นขุมพลังแห่งการตลาดออนไลน์ที่ทรงประสิทธิภาพ วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกเบื้องหลังความสำเร็จของแบรนด์ดัง ที่ใช้…

2 hours ago