ไทยยูเนี่ยน เดินหน้าธุรกิจด้วยนวัตกรรม FoodTech และการสร้างความยั่งยืนครบวงจร

ไทยยูเนี่ยน เดินหน้าธุรกิจด้วยนวัตกรรม FoodTech และการสร้างความยั่งยืนครบวงจร

ไทยยูเนี่ยน เดินหน้าสู่การเป็นธุรกิจที่เติบโตด้วยนวัตกรรม ลงทุนในด้าน Automation, Robotic และ AI (ปัญญาประดิษฐ์) มากขึ้นในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังลงทุนกับสตาร์ทอัพ FoodTech เพิ่มอีก 4 บริษัท โดยมีเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น และดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

“เราให้ความสำคัญกับนวัตกรรมมาตั้งแต่ปี 2015 เราต้องการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ช่วยให้สุขภาพของผู้บริโภคดีขึ้น รวมถึงความยั่งยืนของท้องทะเล ซึ่งถ้าดูจากการลงทุนจะเห็นว่าเราเป็นบริษัทอาหารที่ใช้นวัตกรรม FoodTech เพื่อผลักดันธุรกิจจากนี้ต่อไปในอนาคต” ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าว

Flying Spark เป็นสตาร์ทอัพรายแรกที่บริษัทเข้าไปร่วมลงทุน ปัจจุบันบริษัท Flying Spark ได้เข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศอิสราเอล ที่น่าสนใจ คือ บริษัทนี้ได้เข้ามาตั้งโรงงานในประเทศไทยโดยความร่วมมือกับไทยยูเนี่ยน ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความทันสมัยมากที่สุดบริษัทหนึ่งที่ทำเรื่องโปรตีนจากแมลงในระบบปิด และคาดว่าอีก 3 เดือนหลังจากนี้คาดว่าจะมีการผลิตเกิดขึ้นในประเทศไทย

แบรนด์เวิร์ส เดินหน้าสร้างคน และพาแบรนด์ไทยสู่ธุรกิจใหม่ในโลก Metaverse
TOPGOLF เปลี่ยนสนามไดร์ฟกอล์ฟให้เป็นพื้นที่ของทุกคนด้วย เทคโนโลยี-ความบันเทิง

ด้านบริษัท Alchemy จากสิงคโปร์ ผลิตสินค้าที่เป็นแป้งสำหรับผู้เป็นเบาหวาน โดยจะนำมาผลิตที่โรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร ภายใต้โรงงานใหม่ที่ผลิตอาหารสำเร็จรูป คาดว่าจะเสร็จภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งองค์ความรู้ที่บริษัทเข้าไปลงทุนกับสตาร์ทอัพเพื่อนำมาต่อยอดกับธุรกิจเช่นเดียวกัน

สำหรับการลงทุนในสตาร์ทอัพ FoodTech บริษัทยังเดินหน้าสร้างระบบนิเวศเพื่อผลักดันนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันลงทุนกับสตาร์ทอัพไปแล้วถึง 8 บริษัท ภายใต้เงินลงทุนทั้งหมด 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปัจจุบันใช้เงินลงทุนไปแล้วประมาณ 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) แบ่งเป็น

-กลุ่ม Alternative Protein 4 บริษัท ได้แก่ BlueNalu, AlephFarms, Orgafeed และ Flying SpArk

-กลุ่ม Functional Nutrition and Biotechnology 2 บริษัท ได้แก่ Alchemy และ ViAqua Therapeutics

-กลุ่ม Fund Investment 1 บริษัท ได้แก่ VisVires New Protein

-กลุ่ม Value Chain Technology 1 บริษัท ได้แก่ HydroNeo Smart Aquaculture

ไทยยูเนี่ยน เดินหน้าธุรกิจด้วยนวัตกรรม FoodTech และการสร้างความยั่งยืนครบวงจร

ซึ่ง 4 จาก 8 บริษัท เป็นการลงทุนในปี 2564 ที่ผ่านมา คือ

BlueNalu เป็นบริษัทจากสหรัฐฯ ทำเรื่องการพัฒนาโปรตีนจากแมลง ซึ่งในปัจจุบันได้ต่อยอดไปทำเรื่อง Lab Grown Meat เป็นการนำเนื้อเยื่อออกมาเพาะเป็นเนื้อปลา

ViAqua เป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วยในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งได้มีการขยายไปในกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยมากขึ้น

AlephFarms เป็นบริษัทจากอิสราเอล ที่ทำเรื่องการเพาะเนื้อเยื่อให้ออกมาเป็นเนื้อวัว

Orgafeed เป็นบริษัทสตาร์ทอัพในประเทศไทย ที่นำโปรตีนจากแมลงมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์รักษาสัตว์เลี้ยง ซึ่งจะเข้าไปตอบโจทย์ในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยยูเนี่ยนด้วย

สำหรับในปีนี้ ไทยยูเนี่ยนยังคงเข้าร่วมโครงการ Space-F ปี 3 ซึ่งจะมีสตาร์ทอัพเข้าร่วม 19 ราย มาจากหลายประเทศทั่วโลก และมีมากถึง 9 บริษัท เป็น Accelerator ที่มีความแข็งแกร่งและมีตัวต้นแบบของเทคโนโลยีมาทดลองกับอุตสาหกรรมบ้างแล้ว

“เรายังคงมองหาสตาร์ทอัพที่สามารถเข้ามาร่วมมือกับธุรกิจของเรา ซึ่งแผน 3 ปีหลังจากนี้ จะใช้นโยบาย Healthy Living Healthy Oceans โดยตั้งเป้าให้ธุรกิจที่มาจากการใช้นวัตกรรม สร้างรายได้ให้มากถึง 10 เปอร์เซ็นต์ จากรายได้ทั้งหมด และมีอัตรากำไรขั้นต้นมากกว่า 20% ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนการทางธุรกิจที่จะเน้นการทำกำไรให้มากขึ้น” ธีรพงศ์ กล่าว

ไทยยูเนี่ยน เดินหน้าธุรกิจด้วยนวัตกรรม FoodTech และการสร้างความยั่งยืนครบวงจร

เดินหน้าธุรกิจด้วยความยั่งยืนครบวงจร

ธีรพงศ์ กล่าวว่า สำหรับกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน บริษัทให้ความสำคัญกับการประมงที่ถูกต้อง ถูกกฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างถูกกฎหมายด้วย สำหรับนโยบายที่เปิดเผยออกมาแล้ว ได้แก่

-บรรจุภัณฑ์ยั่งยืน 100% คือการนำบรรจุภัณฑ์มารีไซเคิลได้ กลับมาใช้ใหม่ได้ หรือย่อยสลายได้ดี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดให้ได้ภายในปี 2025

-จัดการปัญหาโลกร้อนด้วยเป้าหมายทางหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะประกาศแผนอีกครั้งในช่วงกลางปีนี้

-แหล่งที่มาของปลาทูน่าจะต้องมาจากการประมงที่ถูกกฎหมาย ปราศจาก IUU และแรงงานทาส

ผลักดันการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานของบริษัท

ปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเล

-ลดขยะในการผลิตอาหารให้ได้ 50% ในกระบวนการผลิตอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง อาหารแช่เย็นและแช่แข็ง ภายในปี 2025 เมื่อเทียบจากปี 2021

กลยุทธ์ทั้งหมดนี้จะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีนี้ไปจนถึงปี 2030 เพื่อเข้ามาตอบโจทย์กับการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ

Scroll to Top