ARV เปิดตัว Horrus โดรนขับเคลื่อนตนเองแบบอิสระเต็มรูปแบบ เตรียมรุกเชิงพาณิชย์ทั้งเอกชนและภาครัฐ

บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) เปิดตัว “Horrus: Fully Automated Drone Solution” เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ที่สามารถทำงานได้ด้วยการขับเคลื่อนตัวเองอย่างเป็นอิสระ(Unmanned Aerial Vehicle) เผยผลการทดลองนำร่องใช้งานในพื้นที่ศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. (PTIC) ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุนได้มากขึ้น ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงานให้บุคลากร เตรียมต่อยอดใช้งานด้านการช่วยเหลือสังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมเตรียม เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์สู่กลุ่มธุรกิจและหน่วยงานภาครัฐ ทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่

ดร.ธนา สราญเวทย์พันธุ์ General Manager, บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) เปิดเผยว่า ด้วยพันธกิจที่สำคัญของ ARV ในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชั้นสูงสำหรับสนับสนุนกิจกรรมการสำรวจ พัฒนา และผลิตปิโตรเลียม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับ ปตท.สผ. และต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจให้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ อาทิ ภาคเกษตรกรรม กลุ่มธุรกิจก่อสร้างและกลุ่มธุรกิจพลังงาน ซึ่งเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และหุ่นยนต์ (Robots) ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเศรษฐกิจของไทย เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับหรือโดรน เป็นเทคโนโลยีที่มีความโดดเด่น และถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมที่หลากหลายและแพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากสามารถช่วยเพิ่มทั้งประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงของบุคลากรในการปฏิบัติงาน ไปจนถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุฉุกเฉินและทำให้การช่วยเหลือสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี แต่ข้อจำกัดสำคัญของการบินโดรน คือจะต้องถูกควบคุมโดยนักบิน UAV ที่มีประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการบิน

ARV ในฐานะขององค์กรที่มีประสบการณ์ได้คลุกคลีอยู่กับเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับจากการที่มีบริษัทย่อยในเครืออย่าง บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ สไกลเลอร์ ที่นำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ เข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ทำให้มองเห็นข้อจำกัด (Pain Point) ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรม 3 ด้านหลัก ได้แก่ 1. บุคลากรที่เชี่ยวชาญมีประสบการณ์ในการบินอากาศยานไร้คนขับหรือนักบิน UAV มีจำนวนค่อนข้างน้อยในประเทศไทย 2. บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญมีค่าแรงสูง และไม่สามารถบินต่อเนื่องได้นานหลายชั่วโมง ส่งผลให้ผู้ใช้บริการมีต้นทุนสูงในแต่ละครั้งที่ปฏิบัติภารกิจ และ 3. ข้อจำกัดของพื้นที่ สภาพภูมิประเทศ สภาพอากาศ และสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมได้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อนักบินโดรน

“ARV จึงมีแนวคิดในการพัฒนา“Horrus: Fully Automated Drone Solution” ขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพให้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับให้สามารถทำงานได้ด้วยการขับเคลื่อนตัวเองอย่างเป็นอิสระ (Unmanned Aerial Vehicle – UAV) อย่างสมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยสามารถตั้งโปรแกรมการปฏิบัติภารกิจได้แบบอัตโนมัติ และปฏิบัติภารกิจซ้ำได้อย่างเป็นกิจวัตรผ่านแพลตฟอร์มการควบคุมระยะไกล (Remote controlled) โดยไม่ต้องใช้นักบิน (UAV) นับเป็นก้าวสำคัญของการปฏิวัติวงการอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ครั้งสำคัญในประเทศไทย” ดร.ธนา กล่าวเพิ่มเติม

ภาคภูมิ เกรียงโกมล Robotic Team Lead, บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) เปิดเผยว่า เทคโนโลยี “Horrus: Fully Automated Drone Solution” มีส่วนประกอบหลักๆ 3 ส่วน ดังนี้ 1. โดรนไร้คนขับ แบบ 4 ใบพัด บินต่อเนื่องได้ประมาณ 30 นาที ต่อการชาร์จไฟ 1 ครั้ง 2. แพลตฟอร์ม ควบคุมการทำงานจากระยะไกลเพื่อควบคุม Horrus และ3. Ground control station เป็นฐานในการรับคำสั่งการบิน และชาร์จไฟ ในการปฏิบัติภารกิจ ซึ่งเมื่อ 3 ส่วนนี้ทำงานร่วมกัน ผู้ใช้งาน (User) Horrus จะสามารถตั้งโปรแกรมการปฏิบัติภารกิจล่วงหน้าได้จากผ่านการควบคุมระยะไกล โดย Horrus จะส่งอากาศยานไร้คนขับออกปฏิบัติภารกิจตามจุดที่โปรแกรมไว้อย่างครบถ้วนแม่นยำเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจเรียบร้อยแล้วก็จะบินกลับมาชาร์จตัวเองในระยะรัศมี 6 กิโลเมตรที่จุด Ground Control station ซึ่งจุดนี้ยังมีหน้าที่ในการประมวลผล อัพโหลดภาพถ่าย และวิดีโอผ่านสัญญาณอินเตอร์เน็ต กลับมายังผู้ใช้งาน แม้แต่การถ่ายทอดภาพสัญญาณสดที่สามารถดูได้ทันทีแบบเรียลไทม์

โดยปัจจุบัน“Horrus: Fully Automated Drone Solution” ถูกนำร่องใช้งานจริงแล้วในศูนย์วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปตท.สผ. (PTTEP Technology and Innovation Centre – PTIC) รวมถึงใช้ในการสำรวจแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมตรวจสอบอย่างเป็นกิจวัตร (Routine inspection) แทนการส่งพนักงานโดยสารเรือออกไปสำรวจ เพื่อบินออกไปเก็บภาพถ่าย วิดีโอ ตลอดจนใช้คลื่นความร้อนเพื่อสำรวจ ตรวจ จับ รอยแตก รอยร้าวภายในและภายนอกของปล่องท่อเชื้อเพลิง ได้อย่างครบถ้วนและรวดเร็ว ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับพนักงาน ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดต้นทุนให้กับองค์กรได้มากขึ้น โดยได้เตรียมต่อยอดการใช้งานไปในอุตสาหกรรมสำรวจและผลิตพลังงานในเครือ ฯลฯ นอกเหนือจากประโยชน์ในมิติของธุรกิจแล้วยังเตรียมนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ การรักษาความปลอดภัยชายฝั่ง และการบรรเทาสาธารณภัย ช่วยลดปัญหาด้านอัคคีภัยและไฟป่า ผ่านเทคโนโลยีโดรนดับเพลิง ซึ่งเป็นโครงการของ บริษัท สไกลเลอร์ โซลูชั่นส์ จำกัด หรือ สไกลเลอร์ หนึ่งในบริษัทในเครือของ ARV ที่สามารถตรวจจับสัญญาณไฟ และดับไฟป่า ซึ่งจะมีการเปิดตัวเร็วๆ นี้”

supersab

Recent Posts

ธปท. ผนึก AIS ปั้นเยาวชนเป็นทัพหน้าต้านภัยการเงินดิจิทัล

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับ AIS ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญ มุ่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยมิจฉาชีพออนไลน์ให้แก่ประชาชนชาวไทยอย่างเข้มข้น ผ่านการส่งเสริมทักษะดิจิทัลและความรู้เท่าทันภัยทางการเงิน เพื่อยกระดับความปลอดภัยทั้งในการใช้งานบนโลกออนไลน์และการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างยั่งยืน ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลระบบการเงินของประเทศ และผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างเกราะป้องกันภัยทางการเงินดิจิทัลให้แก่ประชาชนในวงกว้าง หัวใจสำคัญของความร่วมมือนี้คือ การดำเนินงานเชิงรุกในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดึงศักยภาพของคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจนี้…

8 hours ago

BizTalk x Sunny Horo ดวงประจำวันที่ 7 – 13 เมษายน 2568

BizTalk x Sunny Horo กับคอลลัมน์ ดวงธุรกิจ Weekly ชวนมาอัพเดต ดวงประจำวันที่ 7 - 13 เมษายน 2568 กัน ใครเกิดตรงกับวันไหน มาดูกันเลย…

9 hours ago

กรมรางฯ เร่งพัฒนาเส้นทางรถไฟ “สายสิงคโปร์-คุนหมิง” เปิดโอกาสการค้าไทยเชื่อมโลก

Biztalk ประจำวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2568 พาไปนครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ติดตามโอกาสทางการค้าไทย ผ่านโครงการเชื่อมต่อการขนส่งทางรางในเส้นทาง สิงคโปร์-คุนหมิง ที่จะนำพาสินค้าไทยไปยังจีนและส่งต่อไปยังสหภาพยุโรป พร้อมอัพเดทความเคลื่อนไหวโครงการตั๋วร่วมและรถไฟ 20 บาทตลอดสาย ทุกสายกันยายนนี้…

9 hours ago

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ชี้ 3 เทรนด์พลิกโฉมอุตสาหกรรม CPG สู่ความยั่งยืนและผลกำไรที่ยั่งยืน

ในบริบทของอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวม การมุ่งเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงเป็นประเด็นสำคัญอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สำหรับภาคธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค (CPG) แนวโน้มที่โดดเด่นในปัจจุบันคือการให้ความสำคัญกับการเพิ่มพูนผลกำไรและผลตอบแทนที่มอบให้กับผู้ถือหุ้นเป็นลำดับต้น ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากนักลงทุน ทำให้หลายองค์กรอาจลดทอนความสำคัญของการลงทุนในด้านความยั่งยืนลง ซึ่งอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดว่าธุรกิจต้องเลือกระหว่าง "ความยั่งยืน" และ "ผลกำไร" เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ทว่า ในความเป็นจริงแล้ว…

14 hours ago

LINE Developers Meetup #6 อัปเดตเทคโนโลยี API ใหม่ล่าสุด ปลดล็อกศักยภาพนักพัฒนาไทยสู่ยุค AI เต็มรูปแบบ

LINE ประเทศไทย จัดงาน LINE Developers Meetup #6 สุดยิ่งใหญ่เมื่อเดือนมีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ณ กรุงเทพมหานคร งานรวมพลคนไอทีและนักพัฒนาผู้สนใจเทคโนโลยีจาก LINE ครั้งสำคัญนี้…

16 hours ago

แผ่นดินไหว กระทบตลาดอสังหาฯ 6 เดือน แต่ภาพรวมยังท้าทาย

Biztalk เสาร์นี้กับ ตั๊ก ฐิติกร ทิพย์มณเฑียร ร่วมประเมินทิศทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเหตุแผ่นดินไหวกับ คุณสัมมา คีตสิน นักเศรษฐศาสตร์อสังหาริมทรัพย์ https://www.youtube.com/watch?v=gL0ooLDVi3o -AI กับการทำงานสื่อ สรุปแล้วเราจะตกงานมั้ย?

1 day ago

This website uses cookies.