บริษัท เซ็นจูรี่ 21 (ประเทศไทย) เปิดผลการเก็บข้อมูลและวิจัย “Century21 Poll” ในหัวข้อ “บ้านหลังแรก สำหรับผู้มีรายได้น้อย ที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการเอกชน” จากกลุ่มตัวอย่างตัวแทนผู้มีรายได้น้อยจากทั่วประเทศ 1,091 คน พบว่า 75.40% ของตัวแทนผู้มีรายได้น้อยทั้งหมดต้องการบ้านหลังแรก ที่พัฒนาโดยเอกชน โดยมีความต้องการให้รัฐบาลและเอกชนสนับสนุนเรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ฟรีค่าธรรมเนียมโอน ซึ่งผู้มีรายได้น้อยต้องการสูงถึง 98.4% 2) มาตรการฟรีค่าจดจำนอง ต้องการ 96.90% 3) ต้องการให้แถมเฟอร์นิเจอร์พื้นฐาน เช่น เตียงนอน – ตู้เสื้อผ้า 86.90% ตามด้วย 4) ต้องการอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3 ตลอดอายุการผ่อนถึง 79.60%
ขณะเดียวกันพบว่าตัวแทนผู้มีรายได้น้อย 42.90% ไม่ต้องการ “มาตรการสนับสนุนการมีบ้านของประชาชนตาม พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร” แต่ทั้งนี้เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เพิ่มเติมพบว่า ประชาชนที่มีรายได้น้อยส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ดังนั้นนัยดังกล่าวนี้จึงสะท้อนได้ว่า หากเอกชนต้องการจะดำเนินโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้ประสบผลสำเร็จ เอกชนควรต้องให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ สื่อสาร “ข้อมูล/สารสนเทศในเชิงกฎหมาย” เหล่านี้ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการที่อยู่อาศัยให้มากขึ้น
นายธิติวัฒน์ ธีรกุลธัญโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นจูรี่21 (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทสานต่อ “นโยบายมุ่งเน้นสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้” ผ่านศูนย์วิจัยข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการทำผลสำรวจภายใต้ชื่อ “Century21 Poll” เพื่อนำเสนอมุมมองที่มาจากความคิดเห็นที่รอบด้านและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ล่าสุดได้ทำการสำรวจในหัวข้อ “บ้านหลังแรก สำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยผู้ประกอบการเอกชน” เพื่อสำรวจความต้องการและความคิดเห็นของผู้มีรายได้น้อยต่อ “บ้านหลังแรก” ที่พัฒนาโครงการโดยผู้ประกอบการเอกชน โดยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มที่เป็นประชาชนไทยที่เริ่มประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษา ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 600 บาท จนถึง 15,834 บาท (พิจารณาตามหลักประกันทางเศรษฐกิจยามชราภาพผ่านมาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรมสรรพากร) จากทั่วประเทศ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,091 คน ทั้งนี้กระบวนการได้มาซึ่งขนาดของกลุ่มตัวอย่างเป็นไปตามนัยเชิงทฤษฎี/แนวคิดเกี่ยวกับการได้มาซึ่งจำนวนตัวแทนในการให้ข้อมูลเพื่อการวิจัย ณ ระดับความเชื่อมั่น 95% ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5%
ข้อมูลจากการสำรวจความต้องการเกี่ยวกับบ้านหลังแรกที่ประกอบการโดยผู้ประกอบการเอกชน ดำเนินการสำรวจใน 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ การสำรวจในประเด็นเกี่ยวกับ พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 528) ซึ่งเมื่อปี 2554 ถือว่าเป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนที่ไม่เคยเป็นเจ้าของบ้าน หรือคอนโดมิเนียมมาก่อน สามารถซื้อบ้านหรือคอนโดฯเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้โดยอาศัยมาตรการทางภาษีเข้ามาสนับสนุนในประเด็นนี้ ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนที่มีรายได้น้อยต้องการบ้านหลังแรกตามนัยแห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เพียงร้อยละ 57.10 ไม่ต้องการร้อยละ 42.90 ซึ่งเมื่อสัมภาษณ์เพิ่มเติมพบว่า ประชาชนที่มีรายได้น้อยที่ให้ข้อมูลเพื่อการวิจัย ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ผลการสำรวจประเด็นนี้จึงสะท้อนว่า หากเอกชนหรือผู้ประกอบการเอกชนต้องการจะดำเนินโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยให้สำเร็จ “การประชาสัมพันธ์” หรือ “การสื่อสาร” หรือ “การส่งเสริมการขาย” จักเป็นปัจจัยดึงดูดหลักที่ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยต้องการที่อยู่อาศัยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในความต้องการเกี่ยวกับบ้านหลังแรก แต่ดำเนินการโดยภาคเอกชน (เอกชนสร้าง-ขาย-จัดการด้านการเงินให้) กลับพบว่า ประชาชนที่มีรายได้น้อยที่ให้ข้อมูลเพื่อการวิจัย ต้องการบ้านหลังแรกที่มาจากผู้ประกอบการเอกชนมากถึงร้อยละ 75.40
ประเด็นหลักที่ 2 ในการวิจัยเชิงสำรวจ บริษัทฯ ได้สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ บ้านหลังแรก ที่เอกชนเป็นผู้สร้าง ผู้ขาย และผู้จัดการด้านการเงิน ใน 7 ประเด็นย่อย พบว่าประชาชนแสดงความคิดเห็นในประเด็นย่อยต่างๆเรียงลำดับดังนี้
1. การฟรีค่าธรรมเนียม ประชาชนที่มีรายได้น้อยแสดงความเห็นว่า เห็นด้วยถึงร้อยละ 98.40 ซึ่งผลการวิจัยเชิงสำรวจนี้สอดคล้องกับ “มาตรการถาวร” ในการลดค่าโอน-จำนองบ้านสำหรับผู้มีรายได้น้อย ที่ประกาศ เมื่อ มิถุนายน 2561 จากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 0.01 หรือจากเดิม 1,000,000 บาท ต้องจ่าย 30,000 บาทเหลือจ่ายเพียง 300 บาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับบ้านที่มีราคาไม่เกิน 1.50 ล้านบาท (ดำเนินการโดยการเคหะแห่งชาติ)
2. การฟรีค่าจดจำนอง ประชาชนที่มีรายได้น้อยแสดงความเห็นว่า เห็นด้วยถึงร้อยละ 96.90 ผลการวิจัยเชิงสำรวจนี้สอดคล้องกับ “เงื่อนไขสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ” โดยประชาชนที่มีรายได้น้อยที่จะได้รับสิทธิดังกล่าว ต้องมีสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ มีรายได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน ระยะการผ่อนไม่เกิน 40 ปี ไม่ต่ำกว่า 7 ปี อายุต้องไม่เกิน 70 ปี ทั้งนี้สิทธิที่จะได้รับ ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ ค่าประเมินราคาหลักประกัน ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ค่าจดทะเบียนนิติกรรมจำนอง เป็นต้น โดยรับดอกเบี้ยคงที่ 5 ปีแรก ที่ร้อยละ 2.50
3. การแถมเฟอร์นิเจอร์พื้นฐาน เตียงนอน และตู้เสื้อผ้า ประชาชนที่มีรายได้น้อยแสดงความเห็นว่า เห็นด้วยถึงร้อยละ 86.90 ผลการวิจัยเชิงสำรวจดังกล่าวนี้ สะท้อนว่า บ้านแต่ง Fully Furnished จะมีอยู่ 2 แบบ คือบ้านตัวอย่าง ซึ่งโครงการจะขายออกไปช่วงท้ายก่อนปิดโครงการ และบ้านมาตรฐานที่เป็นบ้านเปล่ามาแต่งเฟอร์นิเจอร์เพิ่ม ซึ่งจะเป็นบ้านที่นำมาจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขาย ดังนั้นหากผู้ประกอบการเอกชน (เอกชนสร้าง-ขาย-จัดการด้านการเงินให้) จะดำเนินการขายบ้านหรือที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยได้อย่างดี คล่องตัว สิ่งที่ผู้ประกอบการเอกชนต้องให้ความใส่ใจคือ “การส่งเสริมการขาย” ที่ตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคที่เป็นผู้มีรายได้น้อย ซึ่งผู้รายได้น้อยจะให้ความสำคัญกับส่วนลด ฟรีดาวน์ ฟรีจดจำนอง ดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อน มากกว่าเฟอร์นิเจอร์
4. อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปีตลอดอายุการผ่อน ประชาชนที่มีรายได้น้อยแสดงความเห็นว่า เห็นด้วย ร้อยละ 79.60 ผลการวิจัยเชิงสำรวจนี้ สะท้อนว่า แม้ประชาชนที่มีรายได้น้อยจะเห็นด้วย เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย 3% แต่หากการจัดการดอกเบี้ยของผู้ประกอบการเอกชนสามารถดำเนินการดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ (Fixed rate) จะทำให้จำนวนยูนิตที่ผู้ประกอบการเอกชนสร้างไว้ สามารถขายออกได้ง่ายกว่า
5.ราคาผ่อนชำระขั้นต่ำ 3,800 บาท/เดือน ประชาชนที่มีรายได้น้อยแสดงความเห็นว่า เห็นด้วย ร้อยละ 78.50 ผลการวิจัยเชิงสำรวจนี้ สะท้อนว่า แม้ประชาชนที่มีรายได้น้อยจะเห็นด้วย แต่จากการสัมภาษณ์เพิ่มเติมกลับพบว่า ประชาชนที่มีรายได้น้อยพร้อมจะผ่อนชำระมากขึ้นหากสามารถหาเงินในแต่ละเดือนได้มากขึ้น ดังนั้น ผู้ประกอบการเอกชน ควรนำข้อมูลนี้ไปทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการเปิดโอกาสให้มีการผ่อนขั้นต่ำ-ขั้นสูงได้ในแต่ละเดือน เพื่อเป็นอีกปัจจัยดึงสำหรับให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย/บ้านที่ประกอบการโดยผู้ประกอบการเอกชน (เอกชนสร้าง-ขาย-จัดการด้านการเงินให้) อันจะทำให้ระยะเวลาในการผ่อนสามารถลดต่ำกว่า 40 ปีได้ ขณะเดียวกันไม่ก่อหนี้เสียให้เกิดขึ้นกับระบบการเงินโดยรวม
6. จำนวนระยะเวลาในการผ่อนชำระ สูงสุด 40 ปี ประชาชนที่มีรายได้น้อยแสดงความเห็นว่า เห็นด้วยร้อยละ 72.80 ผลการวิจัยเชิงสำรวจในประเด็นย่อยนี้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ “ราคาการผ่อนชำระขั้นต่ำ” ที่ต้องอาศัย “มาตรการการบริหารจัดการการขาย” ที่เหมาะสมสอดคล้องกัน
7. อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3-5 ปีตลอดอายุการผ่อน ประชาชนที่มีรายได้น้อยแสดงความเห็นว่า เห็นด้วยร้อยละ 60.70 ผลการวิจัยเชิงสำรวจนี้ สะท้อนว่า แม้ประชาชนที่มีรายได้น้อยจะเห็นด้วยกับการคงที่ดอกเบี้ยตลอดอายุการผ่อน แต่อัตราดอกเบี้ยก็ยังคงเป็นเป็นปัจจัยดึงดูดที่ผันแปรหรือเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย
นอกจากนี้ บริษัท ยังได้ทำการสอบถามเกี่ยวกับอุปสรรคในการมีบ้านหลังแรก ที่ประกอบการโดยผู้ประกอบการเอกชน ผลการสำรวจสรุปได้ว่า อุปสรรคสำคัญประกอบด้วย ความไม่ชัดเจนของกฎหมายและข้อกำหนดจากทางธนาคารพาณิชย์ ร้อยละ 85.90 รองลงมาคืออุปสรรค ภาระหนี้ครัวเรือนที่ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ได้ ร้อยละ 59.70 และอุปสรรคเงินดาวน์ ร้อยละ 45.50 เมื่อทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปสรรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปสรรคเกี่ยวกับข้อกฎหมายหรือข้อกำหนดของธนาคารพาณิชย์ พบว่า หากผู้ประกอบการเอกชนร่วมมือกับภาครัฐมากขึ้นอุปสรรคเหล่านี้จะสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเช่นกัน
ด้าน ผศ.ดร. พรพรรณ วีระปรียากูร ซึ่งเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ศูนย์วิจัยข้อมูลด้านอสังหาริมทรัพย์ Century21 Poll ได้สรุปแนวทางเสนอแนะ จากผลการสำรวจครั้งนี้ว่า ทางรอดและความเป็นไปได้ ที่ผู้ประกอบการเอกชน (เอกชนสร้าง-ขาย-จัดการด้านการเงินให้) อยู่ที่ การสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย ซื้อบ้าน/ที่อยู่อาศัยที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการเอกชน เกี่ยวข้องกับ “ตัวจูงใจ/ตัวล่อ” ได้แก่ การฟรีค่าธรรมเนียม การฟรีค่าจดจำนอง และการจัดการปัญหา/อุปสรรคหลัก ทั้งความไม่ชัดเจนของกฎหมายและข้อกำหนดจากทางธนาคารพาณิชย์ เมื่อวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ นำมาสู่ข้อสรุปเชิงเสนอแนะ (research proposition) ที่ว่า “ตำแหน่งหรือทำเลที่ตั้งของที่อยู่อาศัย/บ้านอยู่ติดถนนหลัก หรือการคมนาคมสะดวก หรือใกล้สถานที่ทำงาน สถานพยาบาล ห้างสรรพสินค้า” สิ่งเหล่านี้เป็นเป็นดึงดูดให้มีการซื้อมากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องสัมพันธ์กับ”มาตรการการบริหารจัดการการขาย” ที่เหมาะสม
ส่วนทางตันและความไม่สมเหตุสมผลที่สรุปได้จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่า ทางตันสำหรับผู้ประกอบการเอกชน (เอกชนสร้าง-ขาย-จัดการด้านการเงินให้) อยู่ที่ “บ้าน” เป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานการก่อสร้าง ทั้งในส่วนวัสดุก่อสร้าง แบบบ้านทันสมัย ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน และการดูแลระหว่างการขายและภายหลังการขาย ที่อาจจะเป็นภาระแก่ผู้มีรายได้น้อยในระยะยาว เช่น การเรียกเก็บค่าส่วนกลาง เป็นต้น
LINE GAME ส่งเกมมือถือตัวใหม่ล่าสุด "LINE ไอเดิล เรนเจอร์" เกมแนว Idle RPG เอาใจเกมเมอร์สายชิล เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายนที่ผ่านมา และได้รับกระแสตอบรับอย่างล้นหลาม ทะยานขึ้นสู่อันดับ…
มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ ร่วมกับสภากาชาดไทย และภาคีเครือข่ายจิตอาสา ร่วมมอบความอบอุ่น ส่งต่อความห่วงใยผู้ยากไร้และด้อยโอกาสในกิจกรรม “หนาวนี้ทำดีเพื่อพ่อ” จ.กาญจนบุรี วันนี้ (26 พ.ย. 67) นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ ประธานมูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์ได้ร่วมกิจกรรมกับสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย…
เตรียมตัวพบกับ realme C75 สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดที่ไม่ได้มาเล่นๆ พร้อมทลายทุกขีดจำกัดของความทนทาน ด้วยมาตรฐานการกันน้ำกันฝุ่นระดับ IP69 เจ้าแรกและเจ้าเดียวในเซกเมนต์ พร้อมชูโรงด้วยดีไซน์สุดแข็งแกร่ง การันตีคุณภาพระดับโลกด้วยใบรับรองจาก TÜV Rheinland เปิดตัวอย่างเป็นทางการ 3 ธันวาคมนี้…
สหพัฒนพิบูล ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเจ้าดัง "มาม่า" เดินหน้ารุกตลาดคนรุ่นใหม่ จับมือ Netflix และนักร้องสาวสุดฮอต "อิ้งค์ วรันธร" เปิดตัวแคมเปญสุดพิเศษ "มาม่า OK X Netflix Squid…
YouTrip (ยูทริป) ประกาศเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดที่เชื่อมต่อ YouTrip เข้ากับ Google Pay ให้นักเดินทางไทยสัมผัสประสบการณ์การชำระเงินแบบไร้สัมผัสที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น ผ่านอุปกรณ์ Android โดยไม่ต้องพกบัตรให้ยุ่งยาก ไม่ต้องพกบัตร! จ่ายสะดวกทั่วโลกด้วยปลายนิ้ว…
การประชุม COP29 ณ เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ที่ผ่านมา ไม่เพียงเป็นเวทีสำคัญระดับโลกที่ผู้นำและตัวแทนจากนานาประเทศร่วมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้แสดงพลังสร้างสรรค์ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนโลกไปสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะ "ธาร ธีรภาสิริ" หรือ "มียู" วัย…