สภาวิศวกร ชี้แผ่นดินไหวขนาด 7.8 แมกนิจูด สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งในตุรเคีย (เดิมคือตุรกี) และซีเรีย โครงสร้างพื้นฐาน และอาคารบ้านเรือนเสียหายนับพัน ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งกระฉูด ย้ำไทยมีรอยเลื่อนเฝ้าระวังหลายจุด รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ยังน่าเป็นห่วงเนื่องจากเป็นดินอ่อน ต้องเฝ้าระวังโครงสร้างพื้นฐานและอาคารบ้านเรือนเป็นพิเศษ เตือนประชาชนหากอยู่ในอาคารขณะเกิดแผ่นดินไหวควรหลบที่ใต้โต๊ะ และหาสิ่งของป้องกันศีรษะ ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตรียมพร้อมส่งทีม USAR Thailand เข้าช่วยเหลือหากมีการร้องขอ
–UOB คาด GDP ไทยปี 2566 โต 3.7% รับอานิสงส์ท่องเที่ยวจีนฟื้น เงินบาทแข็งและส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง
รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานคณะทำงานประสานงานด้านภัยพิบัติจากอาคารถล่ม สภาวิศวกร เปิดเผยว่า จากกรณีแผ่นดินไหวขนาด 7.8 แมกนิจูดได้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงทั้งในตุรเคียและซีเรีย โดยแผ่นดินไหวในครั้งนี้ถือว่าเป็นแผ่นดินไหวครั้งที่รุนแรงมากที่สุดในบริเวณนั้น นับตั้งแต่ ปี 1939 นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการถล่มของโครงสร้างพื้นฐาน และอาคารบ้านเรือนในช่วงเวลาเช้ามืดที่ประชาชนกำลังนอนหลับพักผ่อน โดยศูนย์กลางในการเกิดเหตุแผ่นดินไหวในครั้งนี้อยู่บริเวณรอยเลื่อนอะนาโตเลียตะวันออก อยู่ห่างจากเมืองเนอร์ดากิไปทางตะวันออก 26 กิโลเมตร ในจังหวัดกาเซียนเท็ป โดยอยู่ลึกลงไปใต้ดินราว 18 กิโลเมตร สร้างความเสียหายทั้งในประเทศตุรเคียและซีเรีย
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุความรุนแรงดังกล่าวพบว่า แผ่นดินไหวเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นเปลือกโลก ซึ่งเคลื่อนที่เข้าหาหรือแยกจากกัน ก่อให้เกิดการสะสมพลังงานมาอย่างต่อเนื่อง พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาเพื่อปรับสมดุลของเปลือดโลกมีลักษณะเป็นคลื่น และเมื่อมาถึงพื้นผิวจะก่อให้เกิดการสั่นสะเทือน จนกลายเป็นแผ่นดินไหวในที่สุด โดยหากเกิดขึ้นในมหาสมุทรก็มีโอกาสเกิดสึนามิขึ้นได้ อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นผลกระทบตามมาคือ โครงสร้างพื้นฐานและอาคารบ้านเรือนที่เกิดการถล่มและทรุดตัวลงเป็นจำนวนมาก ทำให้มีผู้เสียชีวิตพุ่งสูงกว่า12,000 คน และผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 20,000 คน โดยปัจจุบันยังคงมีประชาชนติดอยู่ใต้ซากปรักหักพัง ซึ่งยังไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด ท่ามกลางสภาพอากาศที่มีหิมะตกหนัก ไม่เอื้ออำนวยต่อการเข้าช่วยเหลือและค้นหาผู้ประสบภัย
รศ.เอนก อธิบายต่อว่า สำหรับประเทศไทย ก็มีรอยเลื่อนที่ยังต้องเฝ้าระวังอยู่ในหลากหลายพื้นที่ จึงต้องมีการศึกษาและอัปเดทข้อมูลอยู่ตลอด เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ตระหนักรู้ถึงผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่จะตามมา ในด้านของโครงสร้างพื้นฐานและอาคารบ้านเรือนในประเทศไทย กระทรวงมหาดไทยมีการออก “กฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. 2564” ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2564 โดยแบ่งบริเวณเฝ้าระวังออกเป็น 3 บริเวณ แบ่งตามระดับการได้รับผลกระทบ รวม 43 จังหวัด โดยมีประกาศกระทรวงเพื่อการนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ซึ่งกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในบริเวณที่อยู่ในการบังคับเช่นกัน เนื่องจากพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นดินอ่อน อยู่ใกล้รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ในจังหวัดกาญจนบุรี จึงต้องมีการออกแบบอาคารที่สร้างใหม่ให้รัดกุม และต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก หรือมีเทคโนโลยีทางด้านการก่อสร้าง เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบเพื่อให้ป้องกันเหตุแผ่นดินไหวได้ ในขณะที่อาคารเก่าก็ควรมีการพิจารณาปรับปรุง และปิดจุดด้อยที่จะทำให้เกิดอาคารถล่มด้วยเช่นกัน
ทางด้านประชาชน เมื่อพบกับเหตุแผ่นดินไหวเมื่ออยู่ในอาคารควรพยายามหาสิ่งของในการป้องกันศีรษะหรือหลบใต้โต๊ะ หรืออุปกรณ์เครื่องใช้ที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงให้ห่างจากชั้นวางของ หรือชั้นหนังสือริมผนัง เนื่องจากอาจมีการโค่นล้มลงมาทับได้ นอกจากนี้ไม่ควรอยู่ใกล้หน้าต่าง เนื่องจากหากเกิดการแตกของกระจกจะทำให้ได้รับบาดเจ็บได้ หลังเกิดเหตุควรตรวจสอบว่าอาคารมีการชำรุดเสียหายหรือไม่ ตรวจสอบท่อน้ำ สายไฟ สายแก๊สว่ามีการชำรุดหรือไม่ หากมีการชำรุดเสียหายเกิดขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งควรแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขโดยเร็ว รศ. เอนก กล่าวเพิ่มเติม
นอกจากนี้ด้าน ผศ.ดร.ธเนศ วีระศิริ กรรมการสภาวิศวกร และประธานอนุกรรมการประสานงานด้านภัยพิบัติและความปลอดภัยสาธารณะ สภาวิศวกร กล่าวเสริมว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือปภ. เตรียมพร้อมส่งทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (Urban Search and Rescue) หรือ USAR Thailand เข้าช่วยกู้ภัยแผ่นดินไหวตุรเคีย-ซีเรีย ซึ่งในทีมจะประกอบไปด้วย ทีมการจัดการ ทีมการค้นหา ทีมการกู้ภัย ทีมการแพทย์ และทีมโลจิสติกส์ โดยมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้าง และได้รับการอบรมด้านการค้นหาและกู้ภัยในเขตเมืองเป็นหนึ่งในทีมกู้ภัย เพื่อประเมินและวิเคราะห์หาแนวทางการกู้ภัยที่เหมาะสมที่สุด โดยทีมไทยก็ได้เตรียมพร้อมเดินทางและเข้าช่วยเหลือทันทีหากได้รับสัญญาณ นอกจากนี้สภาวิศวกรยังมีทีมวิศวกรอาสาที่พร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในการช่วยเหลือด้านภัยพิบัติทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การเกิดโศกนาฏกรรมจากสถานการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงนี้ ทางสภาวิศวกรจะติดตามอย่างใกล้ชิด พร้อมศึกษาเพื่อเตรียมรับมือและป้องกันเหตุในประเทศไทยอย่างท่วงที
ติดตามข่าวสารและความรู้ใกล้ตัวเกี่ยวกับงานวิศวกรรมตลอดจนความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกร ได้ที่สายด่วน 1303 ไลน์ไอดี @coethai เพจเฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/coethailand ช่องทางยูทูบ (YouTube Channel) สภาวิศวกร Council of Engineers Thailand และเว็บไซต์ https://coe.or.th
ภาพจาก apnews.com
Biztalk ประจำวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2568 ชวนคุยเรื่องการออกกฎระเบียบบังคับให้สายการบินใช้น้ำมันลดโลกร้อน (น้ำมันอากาศยานยั่งยืน= SAF) จะเริ่มใช้จริงได้เมื่อไหร่ มีอะไรที่ต้องพิจารณาบ้าง คุยกับ พลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย…
ข่าวดีสำหรับคุณแม่! ไปรษณีย์ไทย จับมือ กรมอนามัย ยกระดับการส่งน้ำนมแม่ทั่วประเทศ ด้วยบริการ EMS ด่วนพิเศษ ฟรีค่าจัดส่ง ตอกย้ำสายใยรักจากอกแม่ สู่ลูกน้อยที่อยู่ห่างไกล หนุนเด็กแรกเกิดรับคุณค่าอาหารจากนมแม่เต็มที่ เริ่มแล้ววันนี้! บริษัท ไปรษณีย์ไทย…
Siam.AI Cloud สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยบนเวทีระดับโลก โดยเข้าร่วมงาน NVIDIA GTC 2025 พร้อมขึ้นกล่าวในหัวข้อสำคัญ "Empower the Ecosystem with Sovereign Foundation Models"…
โครงการ ‘Dynamic Cities via Mobility Data หลากชีวิตในเมืองที่โลดแล่น’ ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่าง ทรู คอร์ปอเรชั่น และ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย…
vivo ประกาศอย่างเป็นทางการถึงการเตรียมเปิดตัว vivo V50 Lite สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมจุดเด่นอันแข็งแกร่งภายใต้แนวคิด “แบตอึด จนขอท้า” หรือ “BlueVolt Battery So…
เอปสัน ประกาศเปิดตัวการประกวดภาพถ่ายพาโนรามาระดับนานาชาติ "Epson International Pano Awards" ครั้งที่ 16 อย่างเป็นทางการ พร้อมเชิญชวนช่างภาพทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นจากทั่วโลก ส่งผลงานเข้าร่วมประชันฝีมือ เพื่อชิงรางวัลรวมมูลค่ากว่า 50,000 เหรียญสหรัฐ การประกวดครั้งนี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่…
This website uses cookies.