ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการ“1ST THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 2019” ภายใต้แนวคิด “Unlocking the Potential of Thailand Digital Economy: International Digital ID Use Cases” ปลดล็อกศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลไทยมองนานาชาติเขาใช้ดิจิทัลไอดีให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไรเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนานาชาติในการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลหรือDigital ID (ดิจิทัลไอดี) ร่วมกัน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวว่า ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่เน้นการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่น่าเชื่อถือสะดวกปลอดภัยและรวดเร็วภายใต้โครงสร้างพื้นฐานบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลหรือDigital ID ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างทัดเทียม
โดยDigital ID เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกันในระบบดิจิทัลทำให้การพิสูจน์ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่างๆผ่านอิเล็กทรอนิกส์มีความน่าเชื่อถือมีมาตรฐานเดียวกันซึ่งปัจจุบันรัฐบาลเดินหน้าผลักดันกฎหมายดิจิทัลหลายฉบับหนึ่งในนั้นคือ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่3 และ4) พ.ศ. 2562 เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ดังนั้นการมีดิจิทัลไอดี หรือระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่มีมาตรฐานและถูกต้องตามกฎหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยอุดช่องโหว่ของปัญหาเหล่านี้เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้ามาไว้ด้วยกันในระบบดิจิทัลทำให้การพิสูจน์ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่างๆผ่านออนไลน์มั่นคงปลอดภัยได้มาตรฐานซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเชื่อมต่อระบบกับนานาชาติในอนาคตได้เพราะดิจิทัลไอดีจะมาช่วยปลดล็อกและเติมเต็มศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยได้อย่างเต็มสูบ
นางสุรางคณา วายุภาพ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(สพธอ.) หรือETDA (เอ็ตด้า) กล่าวว่าETDA กำลังเร่งผลักดันและกำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล(Digital ID) อีกทั้งการรับช่วงต่อในการผลักดันกฎหมายลูกของพ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฉบับที่4 พ.ศ. 2562 โดยคาดว่าว่าจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม2562
ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะช่วยปลดล็อกและเติมเต็มศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยได้อย่างเต็มกำลังเพราะทำให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมีมาตรฐานน่าเชื่อถือและมั่นคงปลอดภัย
“ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องร่วมกันผลักดันให้การใช้ดิจิทัลไอดีเปลี่ยนโฉมหน้าการทำธุรกรรม และการใช้บริการต่างๆผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองกระดาษและสำเนาบัตรประชาชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย” นางสุรางคณากล่าว
ทรู คอร์ปอเรชั่น เตรียมเสนอขายหุ้นกู้ชุดใหม่ จำนวน 5 ชุด แก่นักลงทุนทั่วไป เพื่อเป็นทางเลือกในการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมั่นคงในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยมีอายุตั้งแต่ 3 ปี ถึง 10 ปี พร้อมอัตราดอกเบี้ยคงที่ระหว่าง…
'กรุงศรี ออโต้' คว้ารางวัลอันทรงเกียรติถึง 3 สาขา จากเวที Future Trends Awards 2025 ได้แก่ รางวัล The Most Innovative…
HMD Global ตอกย้ำความเป็นแบรนด์ยุโรป จับมือบาร์ซา จัดเต็มสมาร์ทโฟนรุ่นพิเศษ พร้อมกิจกรรม "HMDxBarça Go Goal Gold!!" เอาใจแฟนบอลลุ้นทองคำและของรางวัลเพียบ Human Mobile Devices (HMD)…
Biztalk ประจำวันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน 2568 ชวนคุยเรื่องการออกกฎระเบียบบังคับให้สายการบินใช้น้ำมันลดโลกร้อน (น้ำมันอากาศยานยั่งยืน= SAF) จะเริ่มใช้จริงได้เมื่อไหร่ มีอะไรที่ต้องพิจารณาบ้าง คุยกับ พลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย…
ข่าวดีสำหรับคุณแม่! ไปรษณีย์ไทย จับมือ กรมอนามัย ยกระดับการส่งน้ำนมแม่ทั่วประเทศ ด้วยบริการ EMS ด่วนพิเศษ ฟรีค่าจัดส่ง ตอกย้ำสายใยรักจากอกแม่ สู่ลูกน้อยที่อยู่ห่างไกล หนุนเด็กแรกเกิดรับคุณค่าอาหารจากนมแม่เต็มที่ เริ่มแล้ววันนี้! บริษัท ไปรษณีย์ไทย…
Siam.AI Cloud สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยบนเวทีระดับโลก โดยเข้าร่วมงาน NVIDIA GTC 2025 พร้อมขึ้นกล่าวในหัวข้อสำคัญ "Empower the Ecosystem with Sovereign Foundation Models"…
This website uses cookies.