“Digital ID เปลี่ยนประเทศไทยไม่เหมือนเดิม”

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอี) ประธานในพิธีเปิดงานประชุมวิชาการ“1ST THAILAND DIGITAL ID SYMPOSIUM 2019” ภายใต้แนวคิด  “Unlocking the Potential of Thailand Digital Economy: International Digital ID Use Cases” ปลดล็อกศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลไทยมองนานาชาติเขาใช้ดิจิทัลไอดีให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไรเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนนานาชาติในการพัฒนาระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลหรือDigital ID (ดิจิทัลไอดี) ร่วมกัน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ กล่าวว่า ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมกำลังก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่เน้นการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่น่าเชื่อถือสะดวกปลอดภัยและรวดเร็วภายใต้โครงสร้างพื้นฐานบริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลหรือDigital ID ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างทัดเทียม

โดยDigital ID เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้าไว้ด้วยกันในระบบดิจิทัลทำให้การพิสูจน์ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่างผ่านอิเล็กทรอนิกส์มีความน่าเชื่อถือมีมาตรฐานเดียวกันซึ่งปัจจุบันรัฐบาลเดินหน้าผลักดันกฎหมายดิจิทัลหลายฉบับหนึ่งในนั้นคือ ...ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(ฉบับที่3 และ4) .. 2562 เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

ดังนั้นการมีดิจิทัลไอดี หรือระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่มีมาตรฐานและถูกต้องตามกฎหมายจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยอุดช่องโหว่ของปัญหาเหล่านี้เนื่องจากเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อการยืนยันตัวตนจากทุกภาคส่วนเข้ามาไว้ด้วยกันในระบบดิจิทัลทำให้การพิสูจน์ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมต่างผ่านออนไลน์มั่นคงปลอดภัยได้มาตรฐานซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเชื่อมต่อระบบกับนานาชาติในอนาคตได้เพราะดิจิทัลไอดีจะมาช่วยปลดล็อกและเติมเต็มศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยได้อย่างเต็มสูบ

นางสุรางคณา วายุภาพ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(สพธอ.) หรือETDA (เอ็ตด้า) กล่าวว่าETDA กำลังเร่งผลักดันและกำหนดมาตรฐานการกำกับดูแลผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์และการให้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล(Digital ID)  อีกทั้งการรับช่วงต่อในการผลักดันกฎหมายลูกของ...ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ฉบับที่4  .. 2562 โดยคาดว่าว่าจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม2562

ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะช่วยปลดล็อกและเติมเต็มศักยภาพเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยได้อย่างเต็มกำลังเพราะทำให้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมีมาตรฐานน่าเชื่อถือและมั่นคงปลอดภัย

ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องร่วมกันผลักดันให้การใช้ดิจิทัลไอดีเปลี่ยนโฉมหน้าการทำธุรกรรม                และการใช้บริการต่างผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองกระดาษและสำเนาบัตรประชาชนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนไทย  นางสุรางคณากล่าว

Scroll to Top