ETRAN เดินหน้าขยายตลาด B2B รุกตลาดขนส่งรูปแบบใหม่ เล็งเปิดแฟรนไชส์ในต่างจังหวัด

หลังจาก ETRAN ผ่านการระดมทุนในรอบ Series A มากกว่า 10 เดือน ได้นำเงินมาพัฒนาไลน์การผลิตเพื่อผลิตรถออกสู่ตลาดตามเป้าหมาย 5,000 คันภายในปี 2022 อีกส่วนหนึ่งนำมาใช้สร้างสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Swap Station) สร้างทีมที่จะมารองรับ Operation ที่จะเกิดขึ้น พร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจ B2B ไปในตลาดที่ยังไม่มีใครทำ และยังคงศึกษาเพื่อจะเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ ให้เป็นวัสดุรักษ์โลก เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

สรณัญช์ ชูฉัตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีทราน (ไทยแลนด์) จำกัด (ETRAN) กล่าวว่า สำหรับการผลิตรถ ที่ผ่านมาอาจจะเป็นช่วงเวลาที่โชคร้ายของบริษัท เพราะจากสถานการณ์โควิด ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการขาดแคลนชิป ซึ่งการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าจะต้องใช้ชิปเยอะมาก และทุกเจ้าใช้เหมือนกันหมด รวมถึงการสั่งซื้อแบตเตอรี่ก็ช้าเช่นกัน ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบไปประมาณ 3 เดือน

สจล. กับบทบาทการพัฒนาเทคโนโลยีและคน เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศรถ EV ในไทย
เปิดแผน สนพ. กับการสนับสนุนเพื่อก้าวสู่ยุคยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในไทย

ด้านสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ เบื้องต้นบริษัทมีแผนจะติดตั้งทั้งหมด 16 จุดใน กทม. ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 4 จุด บริเวณสาทร-ตากสิน รองรับลูกค้าฝั่งธน จุดที่ 2 อยู่ที่สำนักงานใหญ่วงศ์สว่าง จุดที่ 3 ที่ย่านอารีย์ และสุดท้ายอยู่ที่สามย่าน

“เรามี MOU ร่วมกับเชฟรอน มีการไปตั้งสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ในปั๊มน้ำมันของคาลเท็กซ์ นอกจากนี้ยังจะไปตั้งในปั๊มน้ำมัน ปตท. และในอนาคตจะได้เห็นพาร์ทเนอร์มากขึ้น ซึ่งยุทธศาสตร์ของเราคือการตั้งในพื้นที่ที่คนเข้าถึงได้สะดวก”

ด้านการพัฒนาความปลอดภัย สรณัญช์ กล่าวว่า การพัฒนาให้จักรยานยนต์มีความปลอดภัยไม่ใช่เพียงแค่การทำเบรคหรือโช้คให้แน่น แต่เป็นเรื่องการพัฒนาซอฟต์แวร์ สำหรับสมรรถนะด้านการขับขี่ ก็ยังพยายามพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ เก็บ Feedback จากการใช้งานของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนารถจักรยานยนต์ เข้ามาแก้ความผิดพลาดให้มันสมบูรณ์แบบมากขึ้น

สำหรับแอปพลิเคชัน ปัจจุบันนั้นลูกค้าสามารถดูจุดชาร์จได้ จองแบตเตอรี่ในตู้ จองวันที่จะเข้ามาซ่อมแซมบำรุงรักษา และกำลังจะต่อยอดไปสู่เรื่องการจ่ายเงินค่าเช่าผ่านออนไลน์ สำหรับศูนย์บริการนั้นเปิด 24 ชั่วโมง ให้บริการในกรุงเทพฯ และมีบริการไปรับรถที่เสียมาซ่อมถึงที่

“เราพยายามสเกลตลาดให้ได้มากขึ้น ให้คนเห็นจักรยานยนต์ ETRAN มากขึ้น หลังจากนี้สิ่งที่เราพยายามพัฒนาควบคู่เข้าไปกับจำนวนมากมากขึ้น คือการทำให้จักรยานยนต์มันฉลาดขึ้น โดยการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย เพราะจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุเป็นจำนวนมาก แต่ในระบบไฟฟ้าเราสามารถทำให้มันมีความปลอดภัยได้มากขึ้นเช่นเดียวกับรถยนต์ 4 ล้อ”

เดินหน้าขยายตลาด B2B แต่ยังมอง B2C

สรณัญช์ เชื่อว่าธุรกิจ B2B ยังมีความต้องการจักรยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่ายของธุรกิจ โดยเฉพาะตลาดขนส่ง ด้าน โรบินฮู้ด แพลตฟอร์มเดลิเวอรี ที่เป็นพาร์ทเนอร์เจ้าแรก ก็ได้นำจักรยานยนต์ของ ETRAN ไปให้บริการกับ Rider ซึ่งปัจจุบันมีคนสนใจมากขึ้น จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น

นอกจากนี้ ยังมองไปถึงการขนส่งที่รถจักรยานยนต์น้ำมันไม่สามารถทำได้ โดยร่วมมือกับ Denso  ออกแบบให้ติดตั้งตู้เย็นไว้ที่ด้านหลังคนขับได้ เชื่อมระบบไฟเข้ากับแบตเตอรี่ ซึ่งได้ทดลองกันมานานกว่า 1 ปี

“ปัจจุบันเราเป็นเจ้าเดียวในตลาดที่รองรับการขนส่งรูปแบบนี้ สามารถรองรับอาหารแช่เย็น ยา หรือ อวัยวะ เพราะตู้เย็นสามารถทำความเย็นได้ต่ำถึง -20 องศาเซลเซียส”

สำหรับแผนขยายตลาดไปในจังหวัดต่างๆ สรณัญช์ มีแผนจะเปิดในเชียงใหม่และชลบุรีเพิ่มในรูปแบบแฟรนไชส์ เพราะเชื่อว่าจะทำให้บริษัทสามารถเติบโตได้รวดเร็วขึ้น โดย 2 ธุรกิจหลักๆ ที่จะเข้าไปทำตลาดคือ ฟู้ดเดลิเวอรี ที่ปัจจุบันมีคนขับค่อนข้างมากอยู่แล้ว แต่อีก 1 ตลาดที่น่าสนใจ คือ ตลาดท่องเที่ยว เพราะหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยว อัตราการเช่าจักรยานยนต์ก็จะสูงขึ้น ซึ่ง ETRAN วางแผนที่จะให้คนเช่าจักรยานยนต์ไฟฟ้าในราคา 150 บาทต่อวัน ซึ่งราคาถูกกว่าการเช่าจักรยานยนต์น้ำมัน

ขณะที่ตลาด B2C สรณัญช์ มองว่าราคาจักรยานยนต์ไฟฟ้ายังสูงอยู่ โดยสาเหตุจากราคาแบตเตอรี่ ซึ่งจากนโยบายที่รัฐบาลออกมากระตุ้นการลดราคาสูงสุดคันละ 18,000 บาท จะช่วยกระตุ้นตลาด B2C

ด้านโครงสร้างพื้นฐานของจักรยานยนต์ไฟฟ้า ปัจจุบันยังรองรับไม่เพียงพอ และไม่สามารถชาร์จเองได้เพราะหลายคนอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียม ซึ่งไม่มีปลั๊กสำหรับชาร์จ การจะติดตั้งจุดชาร์จ EV แบบรถยนต์ก็เป็นไปได้ยาก ในส่วนนี้ทำให้บริษัทให้ความสำคัญกับสถานีสลับแบตเตอรี่ เพราะความพร้อมของโครงสร้างจะต้องเติบโตไปคู่กับจำนวนรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

สำหรับตลาดดัดแปลงรถจักรยานยนต์เป็นไฟฟ้า ยังมี 2 ปัจจัยที่น่าเป็นห่วง คือ มาตรฐานของการดัดแปลง เพราะถ้าไม่ได้มาตรฐานก็จะเกิดปัญหาในอนาคตได้ ส่วนที่สอง คือ ราคาแบตเตอรี่สูงมาก เพราะฉะนั้นการทำธุรกิจในลักษณะการ Subscribe แบตเตอรี่ กับตู้ Swap แทนการซื้อแบตเตอรี่แบบซื้อขาด จะช่วยให้คนเข้าถึงง่ายและสะดวกมากขึ้น

“เรายังอยากสร้างการรับรู้ในวงกว้าง จะเห็นว่าในยุคหนึ่งที่น้ำมันแพง คนก็หันไปติดแก๊สกันหมด โดยเฉพาะ แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก และรถเมล์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใช้พลังงานมากในแต่ละวัน เช่นเดียวกับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ที่คนยังต้องการการรับรู้และความเชื่อมั่น”

เดินหน้าสร้างนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม

ETRAN เป็นบริษัทสตาร์ทอัพที่มุ่งมั่นตั้งแต่วันแรกของการก่อตั้งบริษัทว่าจะทำทุกขั้นตอนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สรณัญช์ กล่าวว่า ในด้านการเลือกวัสดุมาทำพาร์ทของจักรยานยนต์ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ปัจจุบันยังไม่พอใจในด้านความเหมาะสมเพราะวัสดุยังสามารถติดไฟได้ ซึ่งวัสดุที่นำมาใช้ไม่ควรติดไฟได้ จึงต้องพัฒนาสูตรกันต่อไป ส่วนอีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องของต้นทุนที่สูงขึ้นเล็กน้อย

สำหรับสถานีเปลี่ยนแบตเตอรี่ ร่วมมือกับ EGAT นำพลังงานหมุนเวียนเข้ามาช้าใส่แบตเตอรี่ในตู้เปลี่ยนแบตเตอรี่ อีกส่วนหนึ่ง คือ การบริหารจัดการขยะให้เป็นระบบ จัดการแยกขยะก่อนจะส่งให้ผู้ที่รับจัดการต่อไปอย่างเหมาะสม

“เรามุ่งมั่นเรื่องการทำ Green Chain ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก อุตสาหกรรมยานยนต์นั้นมีของเสียมาก ใช้พลังงานมหาศาลในการผลิตชิ้นส่วน ซึ่งเราพยายามเริ่มคุยกับผู้ผลิตชิ้นส่วนให้เข้าใจด้านความยั่งยืน ความสำคัญของซัพพลายเชนที่จะต้องสะอาด ซึ่ง EV เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมสะอาด คนรุ่นใหม่สนใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น อุตสาหกรรมที่ปรับตัวเข้ามาสู่ความยั่งยืน จะมีโอกาสเติบโตในอนาคตมากขึ้น”

supersab

Recent Posts

เจาะลึก Gen Z: ทำความเข้าใจคนรุ่นใหม่ หัวใจหลักของการตลาดยุคนี้

ในยุคที่โลกหมุนเร็วด้วยเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็ว การทำความเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับแบรนด์ต่างๆ และหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายที่ทรงอิทธิพลที่สุดในปัจจุบันก็คือ Gen Z หรือคนรุ่นใหม่ที่เกิดระหว่างปี 1997 ถึง 2012 พวกเขาเติบโตมากับโลกดิจิทัล มีมุมมองที่แตกต่าง และให้ความสำคัญกับคุณค่าที่หลากหลาย บทความนี้จะพาคุณไปเจาะลึกถึง Gen Z…

2 hours ago

ภัยไซเบอร์พุ่ง “ฟอร์ติเน็ต” ชี้ช่องโหว่ทักษะ เสี่ยงละเมิดข้อมูล สูญเงินกว่าล้านดอลลาร์

"ฟอร์ติเน็ต" เผยรายงานช่องว่างด้านทักษะไซเบอร์ ชี้ 92% ขององค์กรในไทยเผชิญภัยคุกคามจากปัญหาขาดแคลนบุคลากร แนะ 3 แนวทางรับมือ ผนึกกำลังภาครัฐ-เอกชน สร้าง "กองทัพไซเบอร์" ปกป้องเศรษฐกิจดิจิทัล ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยรายงานช่องว่างด้านทักษะความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกประจำปี 2024…

3 hours ago

FUJIFILM Business Innovation Thailand Launches 2024 strategy to strengthen innovative leadership with “Make a Leap to the New Stage”

FUJIFILM Business Innovation (Thailand) Co., Ltd., a leading provider of office solutions and innovative printing…

3 hours ago

FUJIFILM Business Innovation ปรับกลยุทธ์ “Make a Leap to the New Stage” หวังขึ้นแท่นผู้นำโซลูชันดิจิทัลในไทย

FUJIFILM Business Innovation ผู้ให้บริการโซลูชันสำนักงานและเครื่องพิมพ์ ประกาศทิศทางกลยุทธ์ไตรมาส 3 ปี 2024 ภายใต้แนวคิด "Make a Leap to the New…

3 hours ago

Solar D ส่งหุ่นยนต์ติดตั้งโซลาร์เซลล์ “Light Speed” เร็วกว่า 10 เท่า ลดต้นทุน-ดันธุรกิจไทยสู่ยุคพลังงานสะอาด

Solar D เปิดตัว “หุ่นยนต์ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์” นวัตกรรมสุดล้ำ Light Speed ติดตั้งเร็วกว่าแรงงานคนถึง 10 เท่า! ชูจุดเด่นลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ หนุนเป้าหมายเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ปี 2569…

3 hours ago

รฟม. เปิดแผนการรื้อถอน 3 สะพาน เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้ม พร้อมคุมเข้มลดผลกระทบระหว่างก่อสร้าง

วันนี้ (26 พฤศจิกายน 2567) นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทน ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม…

5 hours ago