HILL ASEAN เผยเทรนด์ตลาดปี 65 แนะวิธีเจาะกลุ่มแฟนด้อมในอาเซียน

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน หรือ HILL ASEAN (ฮิลล์ อาเซียน) แถลงเปิดตัวผลการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาเซียน (ASEAN Sei-katsu-sha) ล่าสุด ในหัวข้อ “เจาะลึกเรื่องแฟนด้อม: ฐานพลังคนกลุ่มใหม่ สู่การขับเคลื่อนสังคมอาเซียน” โดยได้วิเคราะห์ไลฟ์สไตล์ มุมมองความคิด และพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ พร้อมตกผลึกออกมาเป็นแนวทางการต่อยอดทำการตลาดในปี 2565

วรรณรัตน์ วิศวสุขมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮิลล์ เอเชีย จำกัด กล่าวว่า ฮิลล์ อาเซียน ได้ทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง ติดต่อกันเป็นปีที่ 8 และในปีนี้เองทาง ฮิลล์ อาเซียน ได้เล็งเห็นความสำคัญของคนกลุ่มใหม่ๆ จึงเกิดความสนใจเจาะลึกพฤติกรรมแฟนด้อมในอาเซียนในปัจจุบัน จากผลวิจัยครั้งนี้ ฮิลล์ อาเซียน ได้ให้คำจำกัดความของ “แฟนด้อม” หมายถึง ผู้คนที่มีความหลงใหลชื่นชอบในตัวบุคคลหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นศิลปินไอดอล การ์ตูน กีฬา งานอดิเรกต่างๆ อีกทั้งยังหมายรวมถึง อาณาจักรหรือวัฒนธรรมของกลุ่มของคนคอเดียวกัน ที่มารวมตัวกันด้วยความชอบใดความชอบหนึ่ง ที่ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า “Oshi-katsu” ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่กำลังเป็นเทรนด์อยู่ในแดนปลาดิบขณะนี้

สำหรับในอาเซียนก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันผู้คนในภูมิภาคนี้มีการรวมตัวและกลายเป็นสมาชิกกลุ่มแฟนด้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยหลายเหตุผล เช่น “มีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น” ในช่วงโควิด-19 “มีช่องทางที่เอื้อต่อการแชร์ข้อมูลและเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบมากขึ้น” อันเนื่องมาจากความแพร่หลายของเครือข่ายสังคมออนไลน์ และเว็บไซต์ที่รวบรวมคลิปวิดีโอฟรีให้ทุกคนเข้าถึงได้ รวมถึง “มีวิธีในการแสดงออกถึงความชอบที่หลากหลายมากขึ้น” ช่วยให้คนกลุ่มนี้สามารถสร้างคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอและภาพได้ด้วยตัวเอง งานวิจัยชิ้นนี้ยังชี้ให้เห็นอีกว่า กลุ่มคนเหล่านี้ไม่เพียงมีความหลงใหลในสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบ แต่ยังใช้เวลาแบ่งปันความสุขนี้กับเพื่อนๆ เกิดเป็นพลังด้านบวกที่หล่อเลี้ยงอาณาจักรแฟนด้อมให้เติบโต และคอยช่วยเหลือดูแลซึ่งกันและกัน

เปิดตัว realme narzo 50 Pro 5G พร้อมหูฟัง realme Buds Q2s
ซัมซุงเผยโฉมไลน์อัพ Neo QLED 8K ปี 2022

แฟนด้อมคืออะไร? (ตามคำจำกัดความโดย ฮิลล์ อาเซียน) ความหลงใหลหรือชื่นชมในสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือหลายสิ่ง ที่มีอิทธิพลเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของบุคคล ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มคนที่มีความชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน โดยความเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตในที่นี้มีรูปแบบหลากหลาย ตั้งแต่วิธีการมีปฏิสัมพันธ์กันของผู้คนไปจนถึงการสร้างรายได้เสริมจากสิ่งที่รัก เป็นต้น

ทั้งนี้ ฮิลล์ อาเซียน ได้ทำการสำรวจวิจัยเชิงปริมาณและสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแฟนด้อมในชาติอาเซียน 6 ประเทศและญี่ปุ่น※1 โดยครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องต่างๆ ประกอบด้วย แรงจูงใจที่ทำให้พวกเขามารวมกลุ่มกัน, กิจกรรมภายในกลุ่มแฟนด้อม, ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมแฟนด้อม รวมไปถึงโครงสร้างและคุณค่าของชุมชนแฟนด้อม

วรรณรัตน์ วิศวสุขมงคล กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่เหล่าสมาชิกแฟนด้อมในอาเซียนได้รับจากการรวมกลุ่มกัน ไม่ได้มีแค่ความสนุกสนานเพลิดเพลินหรือเป็นไปเพื่อคลายเครียดจากชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังเป็น “การเติมเต็มคุณค่าในตนเอง” ด้วยการแสวงหาแง่มุมใหม่ๆ ให้กับชีวิต ทำในสิ่งที่ใจปรารถนา และตอกย้ำถึงข้อดีของตนเอง นอกจากนี้ ฮิลล์ อาเซียน ยังพบอีกว่า แฟนด้อมมีความรู้สึกเชื่อมโยงผูกพันกัน เสมือนเป็น “คนในครอบครัว” โดยที่สมาชิกในชุมชนจะคอย “ช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่างบริสุทธิ์ใจ” โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน นอกจากนั้นชุมชนแฟนด้อมยังเชื่อมั่นใน “พลังของแฟนคลับ” และรักที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในโลก ยิ่งไปว่านั้น สมาชิกแต่ละคนยังมีบทบาทของตัวเองในการส่งเสริมและพัฒนาแฟนด้อมที่ตนเองหลงรัก ทั้งนี้ ชุมชนของเหล่าแฟนด้อมในชาติอาเซียนมีลักษณะเสมือน “สังคมในอุดมคติ” หรือ “ยูโทเปีย” ที่สมาชิกทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ปราศจากการแบ่งชนชั้น เป็นเหมือนฐานที่มั่นของทุกคน ในยุคปัจจุบันที่ชุมชนแฟนด้อมส่วนใหญ่อยู่ในโลกออนไลน์ การสื่อสารระหว่างกันเป็นไปอย่างเปิดกว้างและเสรี ปราศจากข้อจำกัดเรื่องอายุ เพศ เชื้อชาติ หรือสถานะสังคมอย่างแท้จริง

ในทางกลับกัน แรงจูงใจที่ทำให้ผู้คนเหล่านี้เข้าร่วมกลุ่มแฟนด้อมที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ยังสะท้อนให้เห็นว่า พวกเขามีความหวังความปรารถนาที่ไม่อาจสมหวังหรือทำให้สำเร็จได้ในโลกแห่งความเป็นจริง อันเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่มีแต่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 รวมไปถึงประเด็นทางสังคมมากมายที่ฝังรากลึกมานานในภูมิภาคอาเซียน เช่น ปัญหาการเมือง สิ่งแวดล้อม เพศ สิทธิมนุษยชน ที่คนธรรมดาทั่วไปไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยกำลังของตนเอง ด้วยเหตุนี้ อาณาจักรแฟนด้อมในอาเซียนจึงเปรียบเสมือนยูโทเปียที่ทุกคนเสมอภาคกัน และเป็นโลกใบใหม่ที่มอบโอกาสทางเศรษฐกิจและการอยู่รอดให้แก่พวกเขาได้ โดยฮิลล์ อาเซียน ได้เรียกแฟนด้อมที่สามารถดึงดูดใจผู้บริโภคอาเซียนเช่นนี้ว่า “MATTER-VERSE” หรือ “จักรวาลแห่งคุณค่า” ซึ่งหมายถึง ชุมชนในอุดมคติที่ความปรารถนาในด้านต่างๆของทุกคนจะได้รับการเติมเต็ม

1) ประเทศที่ศึกษา ได้แก่ ไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และ ญี่ปุ่น (สำรวจเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียว)

“MATTER-VERSE” ชุมชนในอุดมคติที่ซึ่ง “ความปรารถนา” ที่ยากจะสมหวังได้ในโลกแห่งความเป็นจริงของทุกคนจะได้รับการเติมเต็มการที่ผู้บริโภคอาเซียนเข้าร่วมกลุ่มแฟนด้อมด้วย “ความปรารถนา” นั้น ชี้ให้เห็นว่า ความหวังเหล่านี้มิอาจทำให้สำเร็จได้ในโลกแห่งความเป็นจริง เนื่องจากพวกเขาไม่มีกำลังเพียงพอที่จะเอาชนะปัญหาสังคมที่มีอยู่มากมายได้ด้วยตนเอง แฟนด้อมจึงกลายมาเป็น “ยูโทเปียหรือโลกใบใหม่ที่มอบโอกาสทางเศรษฐกิจและการอยู่รอด” ซึ่งจะช่วยทำให้ความปรารถนาในด้านต่างๆของเหล่าแฟนด้อมเป็นจริงได้

ลักษณะของชุมชนแฟนด้อมในอาเซียน (อ้างอิงจากผลการสำรวจเชิงปริมาณและการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง)

[แฟนด้อมที่อยู่ในความสนใจ]

เมื่อสอบถามถึงกลุ่มแฟนด้อมที่ชื่นชอบมากที่สุดในตอนนี้ คำตอบที่พบมากที่สุด คือ ฟุตบอล ซีรี่ส์ ยูทูป กลุ่มศิลปินไอดอล K-POP ภาพยนตร์ไซไฟ และแบรนด์เทคโนโลยีต่างๆ ส่วนแฟนด้อม 3 อันดับแรก ที่ผู้คนในแถบอาเซียนคลั่งไคล้มากที่สุดในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คือ “K-POP” “เกมส์” และ “การทำอาหาร” สำหรับผู้คนในชาติอาเซียนซึ่งปกติมักไม่เข้าครัวเองมากนัก การที่หัวข้อการทำอาหาร สามารถติดอันดับการสำรวจได้จึงเป็นเรื่องแปลกใหม่มาก ส่วนแฟนด้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ “อาชีพเสริม” เช่น “การปลูกต้นไม้” เพื่อหารายได้จากงานอดิเรก ก็เป็นอีกกลุ่มที่พบในการสำรวจครั้งนี้เช่นกัน

สำหรับในประเทศญี่ปุ่นนั้น แฟนด้อม 3 อันดับแรกที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ “J-POP” “การ์ตูนมังงะ/แอนิเมชัน” และ “เกมส์” เมื่อเทียบกับชาติอาเซียนแล้วจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีการผลิตคอนเทนต์มหาศาลภายในประเทศ ขณะที่ประเทศอาเซียนจะได้รับอิทธิพลจากคอนเทนต์ต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่

[วัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมแฟนด้อม]

เมื่อสอบถามถึงวัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมแฟนด้อม คำตอบที่พบมีหลากหลาย ตั้งแต่เป็นเพราะต้องการความตื่นเต้นความสนุกสนานในชีวิต อยากคลายเครียดจากชีวิตประจำวัน หรือไม่ก็เพื่อฆ่าเวลา แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดสำหรับชาติอาเซียนนั้น คือ ผู้คนจำนวนมากเข้าสู่โลกแห่งแฟนด้อม เพราะต้องการ “มีปฏิสัมพันธ์เชื่อมต่อกับผู้อื่น” ไม่ใช่แค่เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินส่วนตัว ซึ่งตรงกันข้ามกับแดนปลาดิบที่ผู้คนเข้าร่วมแฟนด้อมเพราะต้องการความสนุก บ้างก็เพื่อฆ่าเวลา หรือบรรเทาความเหงาเท่านั้น

[รูปแบบกิจกรรมและแรงจูงใจในการมีส่วนร่วมกับแฟนด้อม]

แฟนด้อมในอาเซียนส่วนใหญ่มีปฏิสัมพันธ์ภายในชุมชน ด้วยการแชร์ข้อมูลข่าวสารกับเพื่อนสมาชิกและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ผ่านกลุ่มบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ขณะที่แฟนด้อมในญี่ปุ่นนั้นจะให้ความสำคัญกับการเสพข่าวสารหรือคอนเทนต์ที่ตนเองสนใจมากกว่า เช่น ดูคลิปวิดิโอ กดติดตามบัญชีออฟฟิเชียลของสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบ

เมื่อถามถึงแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมกับแฟนด้อม คำตอบที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มแฟนด้อมในอาเซียน คือ “ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ” ซึ่งต่างจากแฟนด้อมชาวญี่ปุ่นที่ต้องการความสนุกสนานเพลิดเพลินมาเป็นอันดับ 1

และเมื่อถามถึงเหตุผลที่พวกเขายังคงเป็นแฟนพันธุ์แท้ของแฟนด้อมนั้นๆ คำตอบที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มอาเซียน คือ “มีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแฟนด้อม” ในทางกลับกัน คำตอบที่ได้รับคะแนนสูงสุดในหมู่แฟนด้อมญี่ปุ่น คือ “เป็นช่องทางในการหาไอเดียหรือเรียนรู้ในสิ่งที่พวกเขาชื่นชอบ” สำหรับแฟนด้อมชาวญี่ปุ่น “ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแฟนด้อม” นั้นไม่ใช่เหตุผลหลักที่ติดอันดับ TOP 10 เลยด้วยซ้ำ สะท้อนให้เห็นความแตกต่างที่ชัดเจนว่า ผู้คนในอาเซียนเข้าร่วมแฟนด้อม “เพื่อเชื่อมต่อกับผู้อื่น” ขณะที่ชาวญี่ปุ่นเข้าร่วมแฟนด้อม “เพื่อความบันเทิงและคลายเครียด” มากกว่า

[จุดเด่นของชุมชนแฟนด้อมในอาเซียน]

1.“ความเท่าเทียม” (Equality): สำหรับพวกเขาแล้ว แฟนด้อมคือ ชุมชนในอุดมคติ (ยูโทเปีย) ที่ปราศจากการแบ่งแยกหรืออคติ แต่ละคนได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน เพราะทุกคนมีความเชื่อมโยงกันด้วยความชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน

2.“ความคิดสร้างสรรค์” (Creativity): พวกเขาสนุกที่ได้ใช้เวลาร่วมกัน ความคิดสร้างสรรค์เหล่านี้จะแสดงให้เห็นเวลาที่ทุกคนลงมือทำงานด้วยกัน เช่น วางแผนจัดงานอีเวนท์ ออกแบบผลิตสินค้าต่างๆ ฯลฯ

3.“ความสัมพันธ์แบบครอบครัว” (Second Family): สำหรับพวกเขา แฟนด้อมเป็นเหมือนบ้านหลังที่สอง ที่ทุกคน “สนับสนุนกันอย่างบริสุทธิ์ใจ” และเชื่อใจกันเหมือนคนในครอบครัว พวกเขาให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกันในทุกเรื่อง แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับแฟนด้อมก็ตาม

4.“พลังของแฟนคลับ” (Strength in Numbers): พวกเขาเชื่อมั่นในพลังแห่งความสามัคคี เมื่อร่วมมือกันทุกคนย่อมมีพลังที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลง และนำมาซึ่งประโยชน์แก่แฟนด้อมและสังคมโดยรวมได้

[แฟนด้อมของแบรนด์]

สมาชิกแฟนด้อมชาวอาเซียนประมาณ 83% ตอบว่า พวกเขามีแบรนด์ในดวงใจที่คลั่งไคล้เอามากๆ (ในขณะที่มีสมาชิกแฟนด้อมญี่ปุ่น ราว 54% เท่านั้น ที่มีแบรนด์โปรดในดวงใจ)

ปัจจัยหลัก 3 ประการที่ทำให้พวกเขากลายเป็นแฟนคลับของแบรนด์ คือ

1.ผลิตภัณฑ์และบริการมีคุณภาพสูง ออกแบบมาอย่างดี
2.มีคุณค่าด้านอารมณ์ความรู้สึกและให้ความสำคัญกับการกระทำ
3.มีชุมชนแฟนคลับที่น่าดึงดูดใจ

“ความปรารถนาสำคัญ” 3 ประการ ที่ผู้คนในอาเซียนต้องการได้รับการเติมเต็มจากแฟนด้อม

1.ได้รู้สึกมีตัวตนและมีคุณค่า
2.ได้ทำให้สิ่งที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์กับตัวเอง
3.ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆในสังคม

เปรียบเทียบคุณลักษณะแฟนด้อมในอาเซียนและแฟนด้อมในญี่ปุ่น

จากการวิจัยและเจาะลึกพฤติกรรมแฟนด้อม ฐานพลังคนกลุ่มใหม่ สู่การขับเคลื่อนสังคมอาเซียน ทำให้เราเห็นมุมมองต่างๆ ของกลุ่มแฟนด้อม เห็นถึงข้อดีของการเป็นแฟนคลับ หรืออยู่ในแฟนด้อมอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะช่วยทำให้คนคนนั้นมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น เช่น พึงพอใจในชีวิตของตัวเอง มีความสุข หรือเห็นคุณค่าในตนเอง รวมทั้งยังช่วยกระตุ้นให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ แฟนด้อมสามารถกลายเป็นระบบสนับสนุนที่ดีได้ วรรณรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

supersab

Recent Posts

AI กับการทำงานสื่อ สรุปแล้วเราจะตกงานมั้ย?

วันนี้ Biztalk จะมาชวนคุยเรื่องของการนำ AI มาช่วยในการทำงานในมุมสื่อ ว่ามันจะมาแย่งงานเรา หรือ ที่เขาบอกว่า AI ไม่ได้จะมาแทนที่คนหรอก แต่จะมาช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น สรุปมันยังไงกันแน่ ผมจะเล่าในส่วนของประสบการณ์งานสื่อให้ฟังกันครับ https://www.youtube.com/watch?v=otDalAH1PXM ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่า…

6 hours ago

Galaxy Tab S10 FE Series: สู่ขุมพลัง AI และดีไซน์พรีเมียม ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์

ซัมซุงประกาศศักดาครั้งใหม่ในวงการแท็บเล็ต เปิดตัว Galaxy Tab S10 FE และ Galaxy Tab S10 FE+ สองแท็บเล็ตทรงพลังที่มาพร้อมดีไซน์หรูหราและฟีเจอร์ AI อัจฉริยะ ยกระดับประสบการณ์การใช้งานแท็บเล็ตไปอีกขั้น…

9 hours ago

GO HOTEL x CardX ส่งแคมเปญร้อนแรง ส่วนลด 15% และเครดิตเงินคืน 15% เริ่มแล้ววันนี้

"โก โฮเทล" (GO Hotel) โรงแรมบัดเจ็ตระดับพรีเมียมในเครือเซ็นทรัลพัฒนา ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ "คาร์ดเอกซ์" (CardX) เปิดตัวแคมเปญสุดพิเศษ "GO HOTEL x CardX" มอบโปรโมชั่นสุดคุ้ม 2…

9 hours ago

เปิดกลยุทธ์ใช้ LINE เพิ่มยอดขาย สร้างฐานลูกค้าภักดี คลินิกเสริมความงาม

ท่ามกลางการแข่งขันอันดุเดือดในอุตสาหกรรมความงามของไทย ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ที่ใส่ใจดูแลตัวเองมากขึ้น การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้จึงเป็นกลยุทธ์สำคัญที่ธุรกิจคลินิกเสริมความงามไม่ควรมองข้าม LINE แพลตฟอร์มแชทอันดับหนึ่งของไทย จึงจัดงาน "LINE FOR BUSINESS: EMPOWERING AESTHETIC CLINICS WITH HOLISTIC SOLUTIONS"…

9 hours ago

เอพี ไทยแลนด์ ตรวจสอบโครงสร้าง 82 โครงการ โดยทีมวิศวกรผู้ชำนาญพร้อมเตรียมเข้าสู่การฟื้นฟู

นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บมจ. เอพี ไทยแลนด์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น บริษัทฯ มีความห่วงใยสูงสุดต่อลูกบ้านทุกท่าน โดยตั้งแต่วันเกิดเหตุการณ์ บริษัทฯ ได้จัดตั้ง War…

13 hours ago

นักวิ่ง 3,000 คน วิ่งกระทบไหล่ “หมูเด้ง” ในงาน “เขาเขียว10 ซีซั่น 8 พรีเซนเต็ด บาย ยำยำ ช้างน้อย”

สวนสัตว์เปิดเขาเขียว เนรมิตงานวิ่งฟันรัน "เขาเขียว10 ซีซั่น 8 พรีเซนเต็ด บาย ยำยำ ช้างน้อย" ดึงดูดนักวิ่งตัวจิ๋วและครอบครัวกว่า 3,000 ชีวิต สัมผัสประสบการณ์วิ่งสุดมันส์ ท่ามกลางธรรมชาติและสัตว์ป่า พร้อมกระทบไหล่…

18 hours ago

This website uses cookies.