นางสาวเคอรี่ ลุย ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมาร์ สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค เปิดเผยว่า การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญของคาเธ่ย์เสมอมาเนื่องจากเป้าหมายของแบรนด์คือการขับเคลื่อนผู้คนไปข้างหน้าในชีวิต เรามุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง และบุกเบิกเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมการบินให้มากขึ้น เราดำเนินหลากหลายวิธีการเพื่อที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้บรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และนำไปสู่การเดินทางที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการชดเชยคาร์บอนที่ดำเนินการโดยการคำนวณการปล่อยคาร์บอน (Fly Greener) / โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของอากาศยานและการทำงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน (Corporate Sustainable Aviation Fuel) / การใช้ปลอกหมอนและผ้านวมทำจากผ้าฝ้ายที่ยั่งยืน 100% ในชั้นธุรกิจ การใช้ผ้าห่มที่ทำจากขวดพลาสติกรีไซเคิลและพรมจากวัสดุเหลือใช้ไนลอนที่นำกลับมาใช้ใหม่ การลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวบนห้องโดยสารบนเครื่องบินชั้นประหยัด โดยในปี 2565 สายการบิน ฯ สามารถลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวได้ถึง 56% ต่อผู้โดยสาร 1 คน และจะยังคงลงมือทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนต่อไปในปี 2567 สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ได้ดำเนินการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นฟื้นฟูถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติ ตลอดจนรับมือกันแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยสายการบินฯ ได้ปลูกต้นไม้ที่ป่าชายเลนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่ปี 2564 เป็นจำนวนกว่า 21,000 ต้น และในปี 2567 นี้ สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค ในประเทศไทยก็จะร่วมมือกับเคทีซีในการปลูกต้นไม้ที่ป่าชายเลนในจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 4,000 ต้น
ดร.วาสนา พงศาปาน ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า อพท. ดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มรายได้และกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่น โดยทำหน้าที่กำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่พิเศษฯ โดยบูรณาการและร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน มีความสมดุลใน 3 มิติ ทั้ง“เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม” ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม Co-creation & Co-own ขณะนี้มี 9 พื้นที่พิเศษฯ ที่ได้รับการประกาศแล้ว ซึ่ง อพท. ได้นำหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและเกิดผลเป็นรูปธรรมแล้ว ได้แก่
1) เกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) ใช้พัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษฯ จนได้รับรางวัล Green Destinations Top 100 Stories แล้ว 5 แห่ง
2) ร่วมขับเคลื่อนเมืองสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UCCN) เพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แล้ว 4 เมือง
3) ส่งเสริมมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (STMS) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว 86 องค์กร
4) เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community-Based Tourism หรือ CBT Thailand) ได้พัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้แก่ชุมชน CBT เข้าสู่กระบวนการพัฒนาและด้านการตลาด รวมถึงเครื่องมือการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) มาอย่างต่อเนื่องและในปี 2567 ตั้งเป้าหมายสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่พิเศษไม่น้อยกว่า 60 ล้านบาท
นางสาวสุวิมล งามศรีวิโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย เซเรนาต้า โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กรุ๊ปและตัวแทนสมาคม TEATA สมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) กล่าวว่า ปัจจุบันเทรนด์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเริ่มมองหาการท่องเที่ยวเชิงสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนมากขึ้น โดยผู้ประกอบการและบริษัทนำเที่ยวที่ให้บริการนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Inbound Tour) กว่า 50% ของตลาดนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจะมีการตรวจประเมินสถานที่พักด้านคุณธรรม / สังคมชุมชน / ความปลอดภัย และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก่อนเซ็นสัญญานำนักท่องเที่ยวเข้าพักสะท้อนให้เห็นว่านักท่องเที่ยวต้องการสร้างประสบการณ์ที่ดีในการท่องเที่ยวโดยเน้นกิจกรรมท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) และคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality)
สำหรับโรงแรมในเครือเซเรนาต้า โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท กรุ๊ปถือเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวยั่งยืน (Sustainable Tourism) ตั้งแต่ปี 2519 โดยให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อสนับสนุนส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เช่น ร่วมจัดตั้งสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) / ร่วมดำเนินโครงการ TEATA “เที่ยวไทยไร้คาร์บอน 50 เส้นทาง” (Eco Friendly – Low Carbon) / ร่วมโครงการ Stay Green Stay with SERENATA มอบส่วนลดสำหรับสมาชิกที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) ร่วมกับ KTC World Travel Service
นางสาวธันย์ชนก น่วมมะโน ผู้แทนประจำประเทศไทย การท่องเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า การท่องเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ได้มีการพัฒนากลยุทธ์และปลูกฝังแนวคิดสวิสเทเนเบิล (Swisstainable) ตั้งแต่ปี 2562 เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยมีเป้าหมายให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่สุดในโลกและเป็นจุดมุ่งหมายของนักเดินทางซึ่งจะส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์และยังเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นอีกด้วย สำหรับยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของสวิตเซอร์แลนด์(Swisstainable Strategy) โดยการท่องเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์ได้เชิญกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งภาคขนส่ง / ภาคอุตสาหกรรม / โรงแรมที่พัก / ร้านอาหาร และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เข้าร่วมแคมเปญ ซึ่งทุกองค์กรจะได้รับการอนุมัติให้ใช้สัญลักษณ์สวิสเทเนเบิล (Swisstainable) ตามระดับความมุ่งมั่นของแต่ละองค์กร โดยปี 2566 ที่ผ่านมามีองค์กรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมทั้งหมด 2,500 องค์กรและตั้งเป้าหมายภายในสิ้นปี 2567 จะมีองค์กรเข้าร่วมมากถึง 4,000 องค์กร
ขณะที่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาสวิตเซอร์แลนด์สามารถร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนได้ เช่น การบริโภคผลิตภัณฑ์ ผลผลิตจากท้องถิ่นที่ผลิตในสวิตเซอร์แลนด์ / สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติของสวิตเซอร์แลนด์อย่างแท้จริงทั้งภูเขา ทะเลสาบ / เลือกการเดินทางท่องเที่ยวด้วยรถยนต์ไฟฟ้า และอยู่ต่อรวมถึงเข้าพักนานขึ้น (Stay Longer) เพื่อซึมซับธรรมชาติและเพิ่มประสบการณ์ท้องถิ่นในสวิตเซอร์แลนด์ และประเทศจะคงความดั้งเดิมของการท่องเที่ยวเพื่อให้นักท่องเที่ยวเลือกสวิตเซอร์แลนด์เป็นจุดหมายปลายทางในอนาคตตามพันธกิจ “ธรรมชาติของเราเป็นแรงขับเคลื่อนให้คุณ” (Our Nature Energizes You.)
มิสเตอร์อัวร์ส เคสเลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการรถไฟยุงเฟรา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ กล่าวว่า ปัจจุบันพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวทั่วโลกเริ่มมองหาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนมากขึ้น กลุ่มบริษัทรถไฟยุงเฟรา (Jungfrau Railway Group) จึงได้พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์และแสดงให้เห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวและความยั่งยืนสามารถทำคู่ขนานไปด้วยกัน ทั้งนี้ได้กำหนดกลยุทธ์การใช้ทรัพยากรนิเวศอย่างยั่งยืนเช่น การใช้รถไฟและกระเช้าลอยฟ้า (Cable Car) ที่ใช้พลังงานหมุนเวียนทั้งหมด 100% นอกจากนี้ได้เตรียมจัดตั้งกองทุนความยั่งยืนระยะเวลา 10 ปี สำหรับการดูแลหมู่บ้านกรินเดิลวาลด์ (Grindelwald) และหมู่บ้านเลาเทอร์บรุนเนน (Lauterbrunnen) กรุงเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีแผนที่จะสร้างระบบโซลาร์ขนาด 12 เฮกตาร์บนเทือกเขาแอลป์ โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตพลังงานให้ได้ 12 กิโลวัตต์ – ชั่วโมงต่อปี เพื่อจัดหาพลังงานให้กับ 3,000 ครัวเรือนในช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ราคาไฟฟ้าแพงที่สุดเพราะมีความต้องการใช้มากที่สุด
นางสาวพัทธ์ธีรา อนันต์โชติพัชร ผู้บริหาร KTC World Travel Service และการตลาดหมวดสายการบิน “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า KTC World Travel Service หน่วยงานที่ดูแลและให้บริการด้านการท่องเที่ยวให้กับสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซี ได้วางกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ดังนี้
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…