SCB CIO ประเมินธนาคารกลางหลักส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ย เพื่อจัดการกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นมีการรับรู้ (priced-in) ดอกเบี้ยขาขึ้นไปบ้างแล้ว แต่ยังรอความชัดเจนเพิ่มเติมจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนเป็นปัจจัยที่ต้องติดตาม แม้โอกาสการเกิดสงครามเต็มรูปแบบค่อนข้างตํ่า แต่ความตึงเครียดและการใช้มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มยืดเยื้อ แนะหุ้นไทย และเวียดนาม เป็นที่หลบภัยที่ดี
ส่วนหุ้นสหรัฐและยุโรป จับจังหวะทยอยสะสมเมื่อปรับตัวลง ด้านตลาดพันธบัตรแนะลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่มี Duration น้อยกว่า 2 ปี รวมถึงสะสมน้ำมันและทองคำ เพื่อเป็นตัวช่วยจัดการความเสี่ยงเงินเฟ้อและภูมิรัฐศาสตร์
–เดลต้า ตั้งเป้าปี 2030 ใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์
–แคสเปอร์สกี้ เสนอแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดกับการ Remote Working
ดร.กำพล อดิเรกสมบัติ ผู้อำนวยการอาวุโส SCB Chief Investment Office (SCB CIO) ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปี และมีแนวโน้มชะลอตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปีแต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางหลัก รวมถึงการฟื้นตัวของตลาดแรงงานทำให้ธนาคารกลางหลัก เช่น Bank of England, US Federal Reserve และล่าสุด European Central Bank ทยอยส่งสัญญาณขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ SCB CIO จึงได้ปรับมุมมองการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ( Fed fund rates )ในปี 2022 คาดว่าจะมีการปรับขึ้น 175 bps (จากเดิม 100 bps) โดยเป็นการปรับขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกเป็นหลัก (front-loaded rate hikes) และมีโอกาสที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ในการประชุม Fed ระหว่างวันที่ 15-16 มีนาคมนี้ ส่วนในยุโรปตลาดเริ่มมีการปรับคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและทำ QE taper คาดว่าจะเสร็จสิ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2022
ด้านความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนเป็นปัจจัยที่ต้องเฝ้าระวัง แม้โอกาสการเกิดสงครามเต็มรูปแบบค่อนข้างตํ่า แต่ความตึงเครียดมีแนวโน้มยืดเยื้อ อาจจะมีผลกระทบช่วงสั้นจากมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มถูกนำมาใช้จะตกอยู่กับตลาดการเงินรัสเซีย กลุ่มธนาคารยุโรปที่มีการปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจในรัสเซีย และเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้ราคาพลังงานอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
ส่วนทางด้านตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นมีการรับรู้ (priced-in) ดอกเบี้ยขาขึ้นไปบ้างแล้ว แต่ยังรอความชัดเจนเพิ่มเติมจากธนาคารกลางหลัก โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรเร่งตัวขึ้นเร็วกว่าอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่แท้จริง (real yields) เร่งตัวสูงขี้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 การคาดการณ์เงินเฟ้อของตลาดโดยรวมยังเชื่อว่าเงินเฟ้อจะชะลอตัวลงในช่วงครึ่งปีหลัง ปัจจัยเสี่ยงหลักคือราคาพลังงานที่ยังอยู่ในระดับสูง
โดยหากราคาพลังงานไม่ชะลอตัวลง อัตราเงินเฟ้อสูงอาจมีแนวโน้มยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์ไว้ ทั้งนี้ จากแนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายขาขึ้นทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นเร่งตัวขึ้นเร็วกว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาว ส่งผลให้ yield curve ในหลายประเทศเริ่มมีความชันลดลง (flattening) ส่วนผลประกอบการของหุ้นขนาดใหญ่ในสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมายังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ผลประกอบการของบริษัทขนาดเล็กเริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง
ดร.กำพล กล่าวต่อไปว่า SCB CIO แนะนำทยอยสะสมหุ้นสหรัฐฯ และ ยุโรป ส่วนตลาดหุ้นเวียดนามและไทยเป็นที่หลบภัยที่ดี ปรับมุมมองทองคำเป็น Neutral และน้ำมันเป็น Slightly positive เพื่อ Hedge เงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วจาก Fed ผลตอบแทนสินทรัพย์เสี่ยงมีแนวโน้มชะลอตัวลง และมีความผันผวนมากขึ้น ทำให้การลงทุนควรเป็นลักษณะ Selective buy โดยนักลงทุนที่รับความผันผวนได้ ยังเน้นให้ลงทุนในตลาดหุ้นมากกว่าตลาดพันธบัตร เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (Bond Yield) ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้น
โดยตลาดพันธบัตรควรเน้นลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่มี Duration น้อยกว่า 2 ปี และเลี่ยงการลงทุนในตราสารหนี้เอเชีย High Yield ที่มีหุ้นกู้จีน High Yield รวมถึงตราสารหนี้ยุโรป High Yield โดยเฉพาะกลุ่มธนาคารที่อาจได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน
กลยุทธ์การลงทุนในตลาดหุ้นแนะนำทยอยสะสมในช่วงที่ตลาดหุ้นมีการปรับตัวลดลง (Buy on dip) แม้ตลาดหุ้นส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นดอกเบี้ยที่รวดเร็ว โดยเชื่อว่าหุ้นในตลาดยุโรปและสหรัฐฯ ในกลุ่ม Quality growth และ Value มีแนวโน้มฟื้นตัวได้เร็วกว่าหุ้นกลุ่มอื่นๆ โดยเน้นหุ้นที่มี Pricing power สูง มีงบดุลแข็งแกร่ง และมี Valuation ที่สมเหตุสมผลสอดคล้องกับศักยภาพการเติบโตของผลกำไร ทางด้านตลาดหุ้นเวียดนามและไทย มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจำกัดจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ขึ้นช้ากว่าเศรษฐกิจที่คาดการณ์ว่าผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และเป็นตลาดที่มีหุ้นกลุ่ม Tech และGrowth ค่อนข้างน้อย จึงเป็นที่หลบภัยที่ดี เหมาะสำหรับการลงทุนในช่วงเวลานี้
สำหรับนักลงทุนมั่งคั่งระดับสูง การลงทุนใน Private Asset เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนและลดความผันผวนให้กับพอร์ตโดยรวมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ในช่วงที่ตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ เช่น ตลาดหุ้นไทย การลงทุนใน Structure Note KIKO (ตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์) เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อีกด้วย