StartDee เปิด BIG DATA เผยพฤติกรรมเด็กเรียนออนไลน์

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแอปพลิเคชั่นที่น่าสนใจอยากมากเลยทีเดียวในช่วงก่อนเปิดเทอมที่ผ่านมาสำหรับ StartDee ภายใต้แนวคิดของผู้ก่อตั้ง และซีอีโอหนุ่มรุ่นใหม่ คุณไอติม พริษฐ์ วัชรสินธุ ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการในการออกแบบหลักสูตร ผ่านการคิดค้น พัฒนา และทดลองใช้งานจริง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการ และพฤติกรรมการเรียนของเด็กนักเรียนทั่วประเทศ เพื่อปลดล็อกข้อจำกัดการศึกษาไทย ล่าสุดขึ้นแท่น ท็อป 3 แอปพลิเคชันด้านการศึกษาไทยเป็นทีเรียบร้อย

ทั้งนี้ยังได้เปิด BIG DATA เผยพฤติกรรมเด็กเรียนออนไลน์มี 3 รูปแบบ ได้แก่ Power Learner, Active Learner และ Passive Learner พร้อมชู 3 จุดแข็ง “เข้าถึงทั่วประเทศ – บทเรียนดีที่ตอบโจทย์ และ เข้าใจนักเรียน”

จาก BIG DATA ของ StartDee พบพฤติกรรมเด็กเรียนออนไลน์ ที่แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ Power Learner, Active Learner และ Passive Learner

กลุ่มแรก คือ Power Learner เป็นกลุ่มนักเรียนที่มีความขยัน กระตือรือร้น มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนออนไลน์ และสามารถใช้งานแพลตฟอร์มออนไลน์ได้อย่างคล่องแคล่ว ตลอด 3 สัปดาห์ นักเรียนกลุ่มนี้เข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้นในทุกสัปดาห์ โดยระยะเวลาการเข้าใช้แอปรวมในสัปดาห์ที่ 3 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ 2 ถึง 43% ทั้งยังมียอดการทำแบบฝึกหัดโดยเฉลี่ยมากขึ้นถึง 14.8% สำหรับเด็กกลุ่มนี้ StartDee จึงมีฟีเจอร์  “My StartDee” รายงานผลการเรียนของผู้ใช้แต่ละคน พร้อมกับฟีเจอร์ “ตะลุยโจทย์” ให้ผู้เรียนเข้าไปตะลุยโจทย์เสริมสร้างความเข้าใจได้อย่างเต็มที่ 

กลุ่มที่สอง คือ Active Learner เป็นผู้เรียนกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ใช้ทั้งหมด ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการเข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่อง แต่ยังใช้เวลาเรียนในแอปพลิเคชันไม่มากนัก โดยน้อง ๆ ส่วนใหญ่ยังคุ้นเคยกับการเรียนที่ได้พบเจอและมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน แต่ก็พร้อมเปิดรับแพลตฟอร์มออนไลน์ และใช้เป็นแหล่งข้อมูลเสริมในการทบทวนเนื้อหาที่โรงเรียน และทำความเข้าใจกับบทเรียนที่ยังไม่เข้าใจ เพื่อตอบโจทย์การเรียนออนไลน์ของเด็กกลุ่มนี้ StartDee จึงมีฟังก์ชันการค้นหา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเฉพาะบทเรียนที่สนใจได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ “กระทู้ถามตอบ” ที่เปิดให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนร่วมกัน และถาม-ตอบคำถามระหว่างกันในแอปได้ เสมือนมีเพื่อนเรียนอยู่ด้วยกันตลอด

กลุ่มสุดท้าย คือ Passive Learner เป็นนักเรียนกลุ่มที่เข้ามาลงทะเบียนเรียนและทดลองใช้แอปพลิเคชันแล้ว แต่ยังขาดการเข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่อง เด็กกลุ่มนี้ใช้เวลาในการเรียนต่อสัปดาห์ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับสองกลุ่มก่อนหน้า ทั้งยังมองว่าการเรียนออนไลน์เป็นรูปแบบการเรียนที่น่าเบื่อ เน้นใช้งานออนไลน์แพลตฟอร์มเพื่อหาความบันเทิง เช่น เล่นเกม หรือรับชมคลิปบนยูทูปเป็น เพื่อจูงใจเด็กกลุ่มนี้ และเปลี่ยนแนวคิดว่าการเรียนออนไลน์ก็เป็นเรื่องสนุกได้ StartDee จึงออกแบบการใช้งานแอปให้มีความเป็นเกม (Gamification) พร้อมเสนอฟีเจอร์ “StartDee World” ให้ผู้เรียนได้สะสมเหรียญรางวัล เมื่อทำแบบทดสอบหรือภารกิจประจำวันสำเร็จ ซึ่งสามารถนำไปใช้ตกแต่งตัวละครร่วมกันกับเพื่อนได้อีกด้วย

นอกจากนี้ StarDee ได้เปิดเผยถึง 3 จุดแข็งดังนี้

1. เข้าถึงทั่วประเทศ

ภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ พบว่ามีเด็กนักเรียน 1,196 โรงเรียนจาก 77 จังหวัดทั่วประเทศ เข้ามาลงทะเบียนเรียนในระบบของ StartDee เหตุที่ StartDee สามารถเข้าถึงเด็กไทยได้อย่างครอบคลุม มีปัจจัยหลักมาจากการออกแบบบทเรียนสามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายผ่านสมาร์ทโฟนทุกรุ่นรองรับทุกระบบ ทั้ง iOS และ Android ซึ่งสมาร์ทโฟนนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงเด็กไทยได้มากถึง 86% ทั่วประเทศ (อ้างอิงจากฐานข้อมูลของ OECD)

2.   บทเรียนดีที่ตอบโจทย์

เมื่อเจาะลึกไปที่ Big Data เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของเด็กนักเรียนทั่วประเทศ พบว่ามีรูปแบบการเรียนออนไลน์ที่เหมาะสำหรับเด็กไทย อยู่ 3 ประการหลัก ได้แก่ บทเรียนดี ต้อง “สั้น กระชับ ประทับใจวัยรุ่น” , บทเรียนดี ต้อง “ปรับช้า-เร็วได้ตามใจ กดหยุดเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ” , บทเรียนดี ต้อง “มีเรื่องราว” 

เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้โดยง่าย StartDee จึงนำแอนิเมชันบทบาทสมมติมาเล่าให้ต่อเนื่องตลอดทั้งบทเรียน โดยเมื่อพิจารณา 10 อันดับคลิปวิดิโอที่ได้รับความนิยมสูงสุดภายในแอป พบว่าทุกคลิปล้วนมีความสั้น กระชับ และมีลักษณะความเป็นเรื่องราว ได้แก่
“เปิด” บทเรียนอย่างน่าสนใจด้วยบทบาทสมมติ 
“เล่า” ด้วย story ประจำบทเรียนที่สอดคล้องกันในทุกหัวข้อย่อย
“ลื่นไหล” ด้วยแอนิเมชันและ real-time pop-up text
“ปิด” ด้วยการสรุปรวบยอดก่อนจบคลิป

3. เข้าใจนักเรียน

จาก BIG DATA ของ StartDee พบพฤติกรรมเด็กเรียนออนไลน์ แบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ Power Learner, Active Learner และ Passive Learner โดยนักเรียนแต่ละกลุ่มจะมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ StartDee จึงได้มีฟีเจอร์ที่เฉพาะเจาะจงแต่ละกลุ่มเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของพฤติกรรมของเด็ก ดังนี้

Power Learner กลุ่มนักเรียนที่มีความขยัน กระตือรือร้น มีฟีเจอร์  “My StartDee” รายงานผลการเรียนของผู้ใช้แต่ละคน พร้อมกับฟีเจอร์ “ตะลุยโจทย์” ให้ผู้เรียนเข้าไปตะลุยโจทย์เสริมสร้างความเข้าใจได้อย่างเต็มที่ 

Active Learner เป็นผู้เรียนกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด มีฟีเจอร์ “กระทู้ถามตอบ” ที่เปิดให้ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์ในการเรียนร่วมกัน และถาม-ตอบคำถามระหว่างกันในแอปได้ เสมือนมีเพื่อนเรียนอยู่ด้วยกันตลอด

Passive Learner เป็นนักเรียนกลุ่มที่เข้ามาลงทะเบียนเรียนและทดลองใช้แอปพลิเคชันแล้ว แต่ยังขาดการเข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่อง เพื่อจูงใจเด็กกลุ่มนี้ จึงมีฟีเจอร์ “StartDee World” ให้ผู้เรียนได้สะสมเหรียญรางวัล เมื่อทำแบบทดสอบหรือภารกิจประจำวันสำเร็จ

BizTalk NEWS

Recent Posts

True เปิดตัว “GO Travel MyPlan” eSIM ใหม่ เลือกเองได้ ไม่ต้องเปลี่ยนซิม

True สร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับการเดินทางต่างประเทศ เปิดตัวบริการโรมมิ่งสุดล้ำ "GO Travel MyPlan" eSIM ที่ให้คุณสัมผัสประสบการณ์การเชื่อมต่อที่สมาร์ทกว่าเดิม ไม่ว่าคุณจะใช้เครือข่ายใด ก็สามารถซื้อ eSIM ออนไลน์และใช้งานได้ทันที ไม่ต้องยุ่งยากกับการถอดหรือเปลี่ยนซิมอีกต่อไป! รับซัมเมอร์นี้ให้สุดเหวี่ยงกับ "GO…

1 hour ago

Garnier ดึงเทรนด์ #OOTD ของ GenZ รับซัมเมอร์สุดปัง พร้อมจับมือ Shopee นำทีม  9 แบรนด์แฟชั่นร่วม Summer Palette by Garnier Color Mix

Garnier Color Naturals ประเทศไทย เปิดตัวแคมเปญสุดสร้างสรรค์ "Summer Palette by Garnier Color Mix" ซึ่งเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญกับ Shopee แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำ พร้อมดึง…

2 hours ago

ซีพี-เมจิ เปิดตัว “เมจิ โพรไบโอติก ดริ้งค์” เจาะกลุ่ม Gen Z เติมความสดชื่น พร้อมดูแลสุขภาพ

ซีพี-เมจิ เดินหน้าพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกกลุ่ม โดยล่าสุดได้เปิดตัว "เมจิ โพรไบโอติก ดริ้งค์" เครื่องดื่มแนวใหม่ที่มุ่งเจาะตลาดคนรุ่นใหม่ Gen Z ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพและกำลังซื้อสูงในอนาคต ซีพี-เมจิ เล็งเห็นถึงไลฟ์สไตล์และอินไซต์ของกลุ่ม Gen Z ที่มักทำกิจกรรมหลากหลายและให้ความสำคัญกับสุขภาพ…

2 hours ago

ธปท. ผนึก AIS ปั้นเยาวชนเป็นทัพหน้าต้านภัยการเงินดิจิทัล

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับ AIS ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญ มุ่งเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากภัยมิจฉาชีพออนไลน์ให้แก่ประชาชนชาวไทยอย่างเข้มข้น ผ่านการส่งเสริมทักษะดิจิทัลและความรู้เท่าทันภัยทางการเงิน เพื่อยกระดับความปลอดภัยทั้งในการใช้งานบนโลกออนไลน์และการทำธุรกรรมทางการเงินอย่างยั่งยืน ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการผนึกกำลังระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลระบบการเงินของประเทศ และผู้นำด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการสร้างเกราะป้องกันภัยทางการเงินดิจิทัลให้แก่ประชาชนในวงกว้าง หัวใจสำคัญของความร่วมมือนี้คือ การดำเนินงานเชิงรุกในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดึงศักยภาพของคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจนี้…

23 hours ago

BizTalk x Sunny Horo ดวงประจำวันที่ 7 – 13 เมษายน 2568

BizTalk x Sunny Horo กับคอลลัมน์ ดวงธุรกิจ Weekly ชวนมาอัพเดต ดวงประจำวันที่ 7 - 13 เมษายน 2568 กัน ใครเกิดตรงกับวันไหน มาดูกันเลย…

23 hours ago

กรมรางฯ เร่งพัฒนาเส้นทางรถไฟ “สายสิงคโปร์-คุนหมิง” เปิดโอกาสการค้าไทยเชื่อมโลก

Biztalk ประจำวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2568 พาไปนครฉงชิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ติดตามโอกาสทางการค้าไทย ผ่านโครงการเชื่อมต่อการขนส่งทางรางในเส้นทาง สิงคโปร์-คุนหมิง ที่จะนำพาสินค้าไทยไปยังจีนและส่งต่อไปยังสหภาพยุโรป พร้อมอัพเดทความเคลื่อนไหวโครงการตั๋วร่วมและรถไฟ 20 บาทตลอดสาย ทุกสายกันยายนนี้…

23 hours ago

This website uses cookies.