เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเราต่างยืนอยู่บนทางแยก เพราะสิ่งที่เราตัดสินใจในปัจจุบัน นอกจากจะส่งผลถึงอนาคตคนรุ่นใหม่แล้ว ยังส่งผลต่อโลกทั้งใบ เรื่องนี้กลายเป็นความชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก และเนื่องจากความยั่งยืนไต่ระดับสู่การเป็นวาระสำคัญขององค์กรและผู้บริโภค เราจึงได้เห็นว่าองค์กรหลายแห่งกำลังใช้ความริเริ่มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกเพื่อมอบประโยชน์แก่โลกที่เราอาศัยอยู่
ในขณะที่ความต้องการในการปฏิรูปสู่ระบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ภาคส่วนต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญมากที่สุดในโลกไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม อาคาร และการก่อสร้าง ตลอดจนดาต้าเซ็นเตอร์ ไอที พลังงานและสาธารณูปโภคด้านต่างๆ ล้วนตัดสินใจไปในแนวทางเดียวกัน คือการนำเรื่องความยั่งยืนมาใช้เป็นด่านหน้าของกลยุทธ์ในองค์กร
–รวมคุณสมบัติแล็ปท็อป สำหรับสายคอนเทนต์ครีเอเตอร์ ให้สร้างสรรค์งานได้ทุกที่ทุกเวลา
–เทนเซ็นต์ คลาวด์ เผยผลสำรวจจาก IDC พบว่า ผู้บริโภคยุคใหม่ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็ว รอบด้าน สร้างสรรค์ ในแบบเรียลไทม์
เทคโนโลยีจึงกลายเป็นปัจจัยหลักที่สร้างศักยภาพให้แก่ภาคธุรกิจ รวมถึงผู้บริโภค ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมา มีการพึ่งพาโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเมินว่าภายในปี พ.ศ. 2578 ภาคไอทีทั่วโลก จะมีการใช้ไฟฟ้า สูงขึ้นถึง 8.5% เมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่ม 5% ในปี พ.ศ.2564 นอกจากนี้ อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ ก็จะกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องรับหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานที่สร้างความยั่งยืน ในการมีส่วนร่วมโดยตรงต่อเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนของสหประชาชาติ 5 ประการ (SDGs)
ความยั่งยืนและภาคอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์
ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์หลายแห่งในปัจจุบัน ตั้งแต่ไฮเปอร์สเกลเลอร์ ไปจนถึงผู้ให้บริการคลาวด์และโคโลเคชั่น ได้นำร่องตลาดไปก่อนแล้ว ด้วยการทำเป็นแบบอย่างพร้อมประกาศเจตนารมย์อันแรงกล้าต่อสาธารณชนเกี่ยวกับความมุ่งมั่นในเรื่อง Net Zero โดยนำแนวทางที่ให้ความยั่งยืนมากขึ้นมาใช้ในธุรกิจดิจิทัล
ตัวอย่างเช่น Microsoft ได้เริ่มหันไปใช้พลังงานลมแบบหมุนเวียน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะใช้กันมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ทั้งภาครัฐบาลและประชาชนต่างให้ความสนใจและมีความต้องการใช้พลังงานหมุนเวียนกันมากขึ้น
เรื่องนี้ คือความจริงที่กำลังเป็นที่สนใจอย่างมากในภาคโคโลเคชั่น และในการสำรวจที่จัดทำขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ โดยชไนเดอร์ อิเล็คทริคและ 451 Research โดยมีผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ระดับโลกกว่า 800 รายเข้าร่วมการสำรวจครั้งนี้ ผลสำรวจพบว่า 97% ของลูกค้าของผู้ให้บริการต่างขอให้มีเรื่องความยั่งยืนอยู่ในข้อผูกพันตามสัญญา และความต้องการเหล่านี้นับเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนให้เกิดความยั่งยืนในราว 50%
อย่างไรก็ตาม การตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในเรื่องแนวทางปฏิบัติด้านความยั่งยืน ด้วยเป้าหมายด้านสภาพแวดล้อมที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างกว้างขวางนั้น ภาคส่วนของเราจะต้องทำงานร่วมกัน ซึ่งองค์กรธุรกิจต่างๆ จะไม่สามารถทำงานแบบไซโลได้อีกต่อไป
สำหรับหลายองค์กร การรวมความยั่งยืนไว้ในแนวทางปฏิบัตินั้นเป็นเรื่องที่พูดง่ายมากกว่าการทำ แต่หากผลักดันให้เกิดการรับรู้ สร้างกลยุทธ์และใช้สิ่งจูงใจที่เหมาะสม เราจะสามารถสนับสนุนให้อุตสาหกรรมสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพพร้อมปลูกฝังเรื่องความยั่งยืนที่ถูกต้องได้ตั้งแต่แรกเริ่ม บางสิ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับผู้ให้บริการโคโลเคชั่น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากลูกค้าจำนวนมากอาศัยฐานการตัดสินใจจากการทำงานร่วมกับองค์กรที่ใส่ใจเรื่องความเป็นสีเขียว
แผนงานใน 4 ขั้นตอนเพื่อเอาชนะความท้าทายด้านสภาพอากาศ
ความยั่งยืนที่แท้จริงของดาต้าเซ็นเตอร์ในอุดมคติ ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คิด และในหลายแง่มุม การสร้างกลยุทธ์ที่ครอบคลุมต้องให้ผู้ดำเนินการมุ่งเน้นความสำคัญในหลายแง่มุมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ พื้นที่ สาธารณูปโภคด้านพลังงาน รวมถึงกลยุทธ์ในการดำเนินงาน และบริหารจัดการด้านพลังงาน
แนวคิดดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผมได้รับเชิญไปอภิปรายช่วง keynote ในการเปิดงาน DCD Europe Virtual เมื่อเร็วๆ นี้ และในช่วงเริ่มต้น จะมีองค์ประกอบพื้นฐานสามประการที่ต้องพิจารณา
ประการแรก เราต้องระบุหาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อช่วยในการดำเนินการได้อย่างยั่งยืน ประการที่สอง ควรประเมินสินทรัพย์สินขององค์กรเพื่อตัดสินใจว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ทั้งหมดได้อย่างไร และประการที่สาม ควรพิจารณาการออกแบบดาต้าเซ็นเตอร์ใหม่หรือแนวคิดที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายด้านประสิทธิภาพและความยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถนำมาใช้กับโครงการใหม่ หรือใช้ในการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเดิมที่มีอยู่ได้
สำหรับหลายองค์กร แนวคิดทั้งสามประการนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือเป็นแนวคิดที่ล้ำหน้า แต่เป็นหลักการสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนและช่วยสร้างแผนความยั่งยืนสี่ขั้นตอนได้อย่างครอบคลุม ซึ่งสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการเอาชนะความท้าทายด้านสภาพอากาศได้ ขั้นตอนสำคัญคือ:
1.กำหนดความสำเร็จให้กับองค์กรของคุณ และสร้างศักยภาพให้กับทีมงานเพื่อช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้
2.กำหนดเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายที่ใหญ่หรือเล็กก็ตาม และพยายามให้ได้ผลลัพธ์แม้เพียงเล็กน้อยก็ตามในจุดที่สามารถทำได้ – 1% ต่อปี ถ้าทำได้ตลอดระยะเวลา 25 ปี ก็จะสร้างผลกระทบที่มีนัยสำคัญในองค์กรระดับโลกได้
3.ปรับใช้โปรแกรมทั่วทั้งธุรกิจของคุณ และวิเคราะห์ในจุดที่สามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ในแต่ละเดือน แต่ละไตรมาส หรือในแต่ละปี
4.รักษาผลลัพธ์เอาไว้ ด้วยการดูแลสอดส่อง บริหารจัดการ และแบ่งปันบทเรียนที่ได้เรียนรู้
ปัจจัยขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ทุกวันนี้ มีหลายองค์กรที่ปรับปรุงโครงการด้านความยั่งยืนได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นพร้อมกับได้รับผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว ด้วยความช่วยเหลือของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ตัวอย่างเช่น ฝ่ายจัดหาพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกของ Equinix ได้จัดหาพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจาก 30% เป็น 82% ภายในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา ขณะที่การจัดหาพลังงานหมุนเวียน 100% ในทวีปอเมริกาเหนือช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากถึง 23.2 ล้านเหรียญสหรัฐ
ในทวีปยุโรป 75% ของกระแสไฟฟ้าของ Iron Mountain ถูกแปลงเป็นพลังงานสีเขียว ในขณะที่นำพลังงานหมุนเวียนทั้ง 100% ไปให้บริการสำหรับการดำเนินงานในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และเบเนลักซ์ เรื่องนี้ นอกจากจะช่วยประหยัดเงินและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังเป็นการผลิตพลังงานสะอาดในปริมาณที่เพียงพอต่อการจ่ายพลังงานเทียบเท่าการใช้สำหรับบ้าน 56,000 หลัง ซึ่งเป็นการเอารถยนต์ออกจากถนนมากกว่า 10,000 คันในแต่ละปี
การมุ่งเน้นที่ Net Zero และความยั่งยืนยังเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับเราที่ชไนเดอร์ อิเล็คทริคอย่างยิ่ง เราได้ประกาศแนวทางในการยกระดับความมุ่งมั่นขึ้นไปอีกขั้นเพื่อให้บรรลุความเป็นกลางด้านคาร์บอน รวมถึงการเร่งไปสู่เป้าหมายปี 2573 ของเราในการสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอนภายในเวลาห้าปีจนถึงปี 2568 เพื่อให้บรรลุการปล่อยมลพิษจากการปฏิบัติงานเป็นศูนย์ภายในปี 2573 โดยเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมาย SBT เพื่อให้ผลที่สมบรูณ์ และบรรลุ net-zero ในห่วงโซ่อุปทานภายในปี 2593 นอกจากนี้ เรามุ่ยังงมั่นที่จะลดการใช้ SF6 ภายในสิ้นปี 2568 ซึ่งรวมถึงในสวิตช์เกียร์ในดาต้าเซ็นเตอร์ของเราด้วย
ขณะนี้มีหลายประเทศที่ลงนามในข้อตกลงปารีส มีหลายอย่างที่ต้องทำและมีเวลาไม่มาก แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้เห็นคือธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะในภาคของดาต้าเซ็นเตอร์ ต้องดำเนินการและต้องการที่จะทำเรื่องดังกล่าวโดยพร้อมเพรียง ด้วยการปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัล การใช้พลังงานไฟฟ้า และประสานการทำงานร่วมกันเพื่อช่วยผู้คนในโลก และเพื่อผลักดันไปสู่การประหยัดค่าใช้จ่าย สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป้าหมายที่เกินจริง และสามารถบรรลุได้ด้วยสูตรสำเร็จที่เรียบง่าย นั่นคือ พลังงานหมุนเวียน + การใช้พลังงานไฟฟ้า x ประสิทธิภาพ = ความยั่งยืน
ปัจจุบัน การพิจารณาผลกระทบด้านพลังงานของเราไม่ได้เป็นแค่เพียงองค์ประกอบเดียวที่ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ต้องคำนึงถึง และก็ไม่ใช่แค่เรื่องการปรับใช้เทคโนโลยีเท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีมุมมองแบบองค์รวมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและผลกระทบด้านพลังงานของเรา ซึ่งโดยทั่วไป ในขณะที่ผู้ประกอบการต่างขับเคลื่อนความริเริ่มที่ยั่งยืน คนเหล่านี้ ต่างพยายามอย่างมากในการรักษาประสิทธิภาพและคงความยืดหยุ่นเอาไว้ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของปริศนาที่หายไป ในการทำให้เป้าหมายดังกล่าวคงอยู่ได้ยาวนาน
ในแง่ของอุตสาหกรรม เราต้องให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น ช่วยลดผลกระทบด้านสภาพอากาศให้กับคนรุ่นหลัง ถึงเวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงแล้วเพื่อให้อุตสาหกรรมยืนหยัดต่อไปได้อีกยาวนาน
โดย มาร์ค การ์เนอร์ รองประธานฝ่าย Secure Power สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์