ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้แย่ลงกว่าการประเมินครั้งก่อน โดยคาดว่าจะติดลบหนักถึง 9.4% กรณีเลวร้ายสุดมีโอกาสติดลบได้ถึง 11.4% จากสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกที่ยังเพิ่ม ความกังวลการแพร่ระบาดรอบที่ 2 ดับฝัน Travel Bubble ปีนี้ คาดเม็ดเงินหายจากระบบเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 2 ล้านล้านบาท จี้แบงก์เร่งปล่อยซอฟท์โลน และ รัฐเร่งใช้งบกระตุ้นเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท เสริมสภาพคล่อง หลังผลสำรวจพบ ผู้ประกอบการมีแรงประคองธุรกิจได้อีกเฉลี่ยเพียง 6 เดือน
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ว่า อัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาส 2 ของปีนี้ถือว่าเป็นตัวเลขต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ระดับ -15% ซึ่งติดลบมากกว่าช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง (ไตรมาส2/2541) ที่ระดับ -12.5% พร้อมปรับคาดการณ์ จีดีพี ทั้งปี63 จากเดิมคาดว่าจะติดลบ 3.4-4.9% เป็นติดลบ 8.4-11.4% หรือค่ากลางติดลบ 9.4% โดยประเมินตัวเลขส่งออก ติดลบ 10.2% เงินเฟ้อ ติดลบ -1.5% หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี อยู่ที่ระดับ 90.5%
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญมาจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ลุกลามทั่วโลก และความกังวลการแพร่ระบาดระลอก 2 ในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ส่งผลให้การส่งออกยังไม่ฟื้นและติดลบหนักขึ้น ขณะที่มาตรการ Travel Bubble มีแนวโน้มชะลอออกไปจากปีนี้ โดยประเมินว่าเม็ดเงินที่จะหายไปจากระบบเศรษฐกิจ ทั้งจากภาคการส่งออก การท่องเที่ยว ขณะนี้อยู่ที่ประมาณ 2 ล้านล้านบาท และหากสถานการณ์ไม่ดีขึ้น รวมถึงซ้ำเติมด้วยปัญหาภัยแล้ง ก็มีโอกาสที่เม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจจะหายไปถึง 3 ล้านล้านบาทในปีนี้ ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขความเสียหายทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
ขณะเดียวกัน พบว่ามีความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการจะตัดสินใจปลดคนงานจะมีมากขึ้น แม้ขณะนี้ผลการสำรวจจะพบว่า มีธุรกิจที่เริ่มปลดคนงานที่ 13.5% แต่ก็เห็นสัญญาณว่า ตั้งแต่ช่วงเดือน ต.ค. ที่สิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ หากผู้ประกอบการยังเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ก็จะมีการปลดคนงานและเลิกกิจการมากขึ้น การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มทำได้น้อย เพราะกำลังซื้อคนในประเทศหายไป 30-40% ขณะที่ภาคธุรกิจประเมินว่า จะสามารถประคองกิจการต่อไปได้อีกเพียง 6 เดือนเท่านั้นหากไม่มีรายได้ หรือมาตรการช่วยเหลือด้านเงินทุนเข้ามาเติมสภาพคล่อง
โดยได้เสนอให้รัฐบาลพิจารณาใช้เงินกู้ฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท ในการจ้างงานในตำแหน่งที่ถาวร เพิ่มกำลังซื้อในระบบ และเปิดโอกาสให้นายจ้างสามารถจ้างงานเป็นรายชั่วโมงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเลิกจ้างในภายหลัง รวมถึงการเร่งปรับเงื่อนไขการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ(ซอฟท์โลน) ช่วยเหลือสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการโดยเร็ว และพิจารณาขยายเวลาพักชำระหนี้ต่ออีก 6 เดือน เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งหากรัฐบาลดำเนินการในประเด็นเหล่านี้ จะช่วยแก้ปัญหาการปลดคนงาน และ การปิดกิจการ ให้ลดลงได้ ไม่เช่นนั้นก็มีโอกาสที่จะเห็นจำนวนคนตกงานมากถึง 3 ล้านคนภายใน 6 เดือนจากนี้ โดยเฉพาะในอุตสาหรรมการท่องเที่ยวและบริการ
ภาพประกอบจาก Pixabay
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จับมือพันธมิตรอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและสื่อสารประชาสัมพันธ์ เปิดตัวแคมเปญใหม่ล่าสุด "Everyday Special Moment เที่ยวกลางมีสุข ทุกโมเมนต์" มุ่งหวังกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยเฉพาะในภูมิภาคภาคกลาง ชวนนักท่องเที่ยวสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษและผ่อนคลายในวันธรรมดาที่ไม่จำเจ ภายใต้แนวคิด "Chic and…
บางจากฯ ประกาศความพร้อมเต็มสูบในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) 100% รายแรกของประเทศไทย ด้วยวัตถุดิบจากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว (Used Cooking Oil: UCO) และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรม ภายใต้มาตรฐานสากล…
บมจ.มั่นคงเคหะการ หรือ MK ประกาศแนวทางชำระคืนหุ้นกู้คงค้างรวมทั้งหมด 3,383 ล้านบาท โดยมีกำหนดชำระในช่วงระหว่างปี 2568 และ 2569 พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและผู้ถือหุ้นกู้ ปูทางสู่ความมั่นคงระยะยาว หลังจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจครั้งสำคัญ มุ่งเน้นธุรกิจสร้างรายได้ประจำ ภายใต้เรือธงหลักอย่าง…
นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ด้านขนส่ง) ในฐานะประธานอนุกรรมการบริหาร การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิศิษฐ์ แสง-ชูโต อนุกรรมการบริหาร รฟม. และคณะผู้บริหาร รฟม. เข้าร่วมกิจกรรม…
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่มีศูนย์กลางในประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้เร่งส่งทีมวิศวกรโครงข่ายเข้าตรวจสอบเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศอย่างเร่งด่วน…
ท่ามกลางภัยไซเบอร์ที่ทวีความรุนแรง ฟอร์ติเน็ต จับมือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) สร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ! ด้วยการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) เพื่อยกระดับทักษะความรู้ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ให้แก่นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมไฟฟ้า (แขนงวิชาไฟฟ้าสื่อสาร) ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ภารกิจครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงการถ่ายทอดองค์ความรู้…
This website uses cookies.