TMB มองเศรษฐกิจไทยปี 62 ไปต่อได้ จากแรงขับเคลื่อนภายใน หนุนดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป

นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร TMB Analytics เผยเศรษฐกิจไทยปี 62 มีแนวโน้มขยายตัวได้ 3.8% จากแรงหนุนของเครื่องยนต์ภายในทั้งการบริโภคขยายตัวต่อเนื่อง การลงทุนภาคเอกชนที่ได้รับผลบวกจาก EEC ขณะที่ภาคส่งออกเติบโตแผ่วลง ประเมินการท่องเที่ยวกลับเข้าสู่ระดับปกติ นอกจากนี้ คาดว่าธุรกิจธนาคารพาณิชย์มีทิศทางดีต่อเนื่อง สินเชื่อและเงินฝากเติบโตดี NPL อยู่ในระดับทรงตัว แนะผู้ประกอบการเร่งปรับตัว

TMB Analytics ปรับประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 61 เหลือ 4.0% จากเดิมมอง 4.5% เหตุจากปัจจัยนอกประเทศเน้นๆ” ภาคส่งออกที่เริ่มมีสัญญาณโตแผ่วลงตั้งแต่กลางปี จนติดลบในไตรมาสสามซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือนจากที่เริ่มฟื้นตัว บวกกับภาคท่องเที่ยวเจอเหตุการณ์เรือล่มที่จังหวัดภูเก็ต ส่งผลให้นักท่องเที่ยวจีนลดลงมากทั้งที่ปกติเป็นช่วงพีค ซึ่งทั้งสองด้านยังคงเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี ทำให้ทั้งปีคาดมูลค่าส่งออกขยายตัวชะลอลงที่ 7.4% ขณะที่ปัจจัยภายในทั้งการบริโภคและการลงทุนที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี และมีโมเมนตัมส่งต่อไปถึงปีหน้าเป็นแรงหนุนให้เศรษฐกิจขยายตัว

หลายเครื่องชี้ส่งสัญญาณเศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ช่วงขาลง Leading Indicator ของ OECD ชี้เศรษฐกิจโลกผ่านจุดพีคในไตรมาสสามมาแล้ว แม้แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯที่ขยายตัวแข็งแกร่งต่อเนื่องก็มีแนวโน้มเติบโตน้อยลงในปี 62 สอดคล้องกับการปรับลดลงของราคาน้ำมันและดัชนีภาคการผลิตโลกโดยเฉพาะในไตรมาสสามปี 61 ขณะที่เศรษฐกิจจีนที่นอกจากจะได้รับแรงกดดันจากสงครามทางการค้ารุนแรงขึ้นส่งผ่านไปยังภาคการผลิตอุตสาหกรรมชะลอลง ในภาคการเงินเห็นสัญญาณการชะลอลงของเศรษฐกิจจีน จากการควบคุมการปล่อยสินเชื่อเข้มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อนอกระบบ และดัชนีตลาดหุ้นที่บ่งบอกความมั่งคั่งของคนจีนดิ่งลงทุบสถิติ

มอง 3 ปัจจัยเสี่ยงกระทบส่งออกไทยปี 62 ชะลอตัวที่ 4.3% โดยปัจจัยที่ส่งผลลบชัดเจน ได้แก่ ภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้การส่งออกของไทยลดลงราว 1 พันล้านดอลลาร์หรือ 0.4% และเรายังเผชิญกับการตั้งกำแพงภาษีบนสินค้าไทยและตัดสิทธิ GSP จากสหรัฐฯเป็นปัจจัยส่งผลลบฉุดส่งออกไทยลดลงไปราวอีก 0.1% ขณะที่ปัจจัยด้านสงครามการค้าสหรัฐ-จีน แม้ไทยได้รับผลลบทางอ้อมจากการที่จีนส่งออกไปสหรัฐฯไม่ได้ ซึ่งทำให้สินค้าที่เราเป็นซัพพลายเชนส่งออกไปผลิตต่อในจีนมีปัญหา แต่ในอีกด้านมองเป็นโอกาสที่สหรัฐฯจะนำเข้าสินค้าจากผู้ผลิตประเทศอื่นๆรวมทั้งไทยด้วยเพื่อทดแทนการนำเข้าจากจีน ดังนั้น ปัจจัยด้านสงครามการค้า สรุปแล้วคาดว่าจะเป็นผลบวกทำให้เราส่งออกได้เพิ่มขึ้น 0.1% ซึ่งทำให้ในปี 62 มูลค่าส่งออกโดยรวมจะยังคงเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1หมื่นล้านดอลลาร์ หรือขยายตัว 4.3% นอกจากนี้ FDI จากจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการย้ายฐานการผลิตและกระจายฐานการผลิตมาไทยและอาเซียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ

คาดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติแตะ 40.2 ล้านคนในปี 62 หรือเพิ่มขึ้น 6.6% แม้ในช่วงไตรมาส 4 ปี 61 ตลาดนักท่องเที่ยวจีนยังคงลดลง แต่คาดว่าจะกลับสู่ระดับปกติในปี 62 หากย้อนดูเหตุการณ์หลายครั้งที่ส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวจีน เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย ก็จะสามารถฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็ว โดยไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับ 3 ของนักท่องเที่ยวจีน (ส่วนแบ่งตลาด 7%) รองจากฮ่องกง มาเก๊า นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวตลาดอื่นๆ ทั้งยุโรปและอาเซียนมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง

เศรษฐกิจโลกชะลอ แต่เศรษฐกิจไทยปี 62 ยังเติบโตได้ 3.8% โดยมีปัจจัยภายในเป็นแรงขับเคลื่อนหลัก การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องจากสินค้าคงทน ซึ่งเป็นผลจากปลดล็อคมาตรการรถคันแรก รวมทั้งรายได้ภาคเกษตรที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้นในทุกสินค้า อย่างไรก็ดี เมื่อดูความสัมพันธ์ของการบริโภคสินค้าคงทนกับสินเชื่อเช่าซื้อ พบว่าในช่วงของมาตรการรถคันแรก สินเชื่อเพิ่มขึ้นถึง 2.1 แสนล้านบาท เทียบกับช่วงหลังปลดล็อคมาตรการ ตัวเลขล่าสุดสินเชื่อเช่าซื้อรถเพิ่มขึ้นแล้ว 1.6 แสนล้านบาท แต่มีแนวโน้มที่สินเชื่อรถจะชะลอความร้อนแรงลงในปี 62 ส่วนหนึ่งเพราะมีแรงกดดันจากภาระผ่อนรถที่ขยับสูงขึ้นเป็น 37% ของรายได้ สะท้อนการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวต่อเนื่องแต่ไม่เป็นอัตราเร่ง

การลงทุนมีความต่อเนื่องและชัดเจนในครึ่งหลังปี 62 โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ EEC ทั้งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนของภาคธุรกิจ โดยส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน จะเกิดขึ้นได้ภายใต้พ.ร.บ.EEC เช่น รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สนามบินและศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา ท่าเรือแหลมฉะบัง คาดเริ่มเห็นการก่อสร้างในครึ่งหลังปี 62 คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 1 แสนล้านบาท ส่วนของภาคเอกชนคาดเริ่มเห็นการลงทุนของอุตสาหกรรม S-Curve ที่ได้รับการอนุมัติจาก BOI ในปี 59-60 ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ปิโตรเคมี เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ในด้านตลาดการเงิน ดอกเบี้ยนโยบายเริ่มเข้าสู่วงจรขาขึ้นในปลายปี 61 แต่เป็นการปรับขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป คาดสิ้นปี 62 อยู่ที่ 2% โดยมีหลายปัจจัยสนับสนุนทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ถือว่าสูงกว่าระดับศักยภาพ อัตราเงินเฟ้อขยับสูงขึ้นอยู่ในกรอบเป้าหมาย และเป็นการสร้างความสามารถในการดำเนินนโยบายหรือ policy space รองรับความผันผวนตลาดการเงินโลก โดยดอกเบี้ยนโยบายจะปรับขึ้นจาก 1.5%เป็น 1.75%ณ สิ้นปี 61 และคาดว่าจะปรับขึ้นได้อีก 1 ครั้งในไตรมาส 3 ปี 62 ซึ่งคาดว่าจะไม่ส่งผลต่อต้นทุนการเงินของภาคธุรกิจมากนักเนื่องจากสภาพคล่องของธนาคารยังอยู่ในระดับสูง

TMB Analytics มองว่าค่าเงินบาทอาจผันผวนหนักและมีทิศทางอ่อนค่าลง ขณะที่บอนด์ยีลด์ระยะยาวปรับสูงขึ้น สิ้นปี 62 ค่าเงินบาทมีโอกาสแตะ 33.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยภายนอกทั้งภาคส่งออกและการท่องเที่ยวที่ชะลอตัว ขณะที่การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติผันผวนมากขึ้นจากสภาพคล่องโลกที่ตึงตัวมากขึ้น และอาจเป็นการไหลออกสุทธิ กดดันเงินบาททั้งปีเฉลี่ยที่ 33.0 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าจากเฉลี่ยราว 32.3 บาทต่อดอลลาร์ในปี 61 นอกจากนี้ บอนด์ยีลด์ไทยระยะยาวมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ กดดันผลตอบแทนการลงทุนในตราสารหนี้และกระทบต้นทุนการกู้ยืมเงินของภาคเอกชน

“การดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในปี 62 มีแนวโน้มดีต่อเนื่อง ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและเป็นปีแห่งการลงทุน” สินเชื่อโดยรวมมีแนวโน้มขยายตัว 5.8% จากปี 61 ที่ขยายตัวราว 6.3% ซึ่งมาจากการเติบโตของสินเชื่อ SME และสินเชื่อรายย่อยที่มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ย 6% จากการฟื้นตัวของกำลังซื้อ โดยสินเชื่อ SME ที่เติบโตเป็นธุรกิจก่อสร้างและบริการ ส่วนสินเชื่อรายย่อยเติบโตดี นำโดยสินเชื่อเช่าซื้อรถที่เติบโตเป็นผลจากการปลดล็อคมาตรการรถคันแรกและรายได้ภาคครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับสินเชื่อขนาดใหญ่คาดกลับมาเติบโตโดยได้รับผลดีจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและมาตรการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และ EEC

คุณภาพสินเชื่อไม่น่ากังวลมากนัก โดย NPL Ratio สินเชื่อธุรกิจปรับดีขึ้น และทรงตัวในสินเชื่อรายย่อย ซึ่งสอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีแม้จะโตแผ่วลง อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มสินเชื่อรายย่อย พบว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยมีแนวโน้ม NPL เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากผลของการเร่งปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ด้านเงินฝากมีแนวโน้มขยายตัว 5.6% ตามความต้องการสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นและแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น อย่างไรก็ตามจากการเติบโตสินเชื่อที่ไม่เร่งตัวมาก คาดว่าจะทำให้สภาพคล่องธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในระดับสูงเกือบ 4 ล้านล้านบาท”

แนะผู้ประกอบการเร่งปรับตัวรองรับ 4 ปัจจัยท้าทาย “เงินบาทผันผวน เศรษฐกิจโลกชะลอ การท่องเที่ยวอ่อนไหว การย้ายฐานการผลิตจากจีน” เช่น ใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน กระจายตลาดส่งออก โฟกัสกลุ่มนักท่องเที่ยวอิสระ พัฒนาทักษะแรงงานรองรับเทคโนโลยีใหม่ เป็นต้น นายนริศกล่าวสรุป

BizTalk NEWS

Recent Posts

ทรู คอร์ปอเรชั่น หนุนแฟนความเร็วทั่วโลกรองรับงานระดับนานาชาติ “MotoGP”

ทรู คอร์ปอเรชั่น เดินหน้าสนับสนุนการจัดงานระดับโลก "PT Grand Prix of Thailand 2024" หรือ "ไทยแลนด์ โมโตจีพี 2024" ศึกชิงเจ้าแห่งความเร็ว ณ…

11 hours ago

Virgin Active เปิดตัวแคมเปญ ‘Real Wellness My Way’ ตอกย้ำจุดยืนแบรนด์ใหม่ล่าสุด ผลักดันการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างเป็นรูปธรรม

Virgin Active Thailand เปิดตัวแคมเปญที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจุดยืนระดับโลกของแบรนด์อย่าง 'Where Wellness Gets Real' ที่ได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม ตอกย้ำวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์เบื้องหลังที่มาของจุดยืนของแบรนด์ล่าสุดที่พร้อมมอบแนวทางในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างเป็นรูปธรรม และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าชาวไทยอย่างแท้จริง 'Where Wellness Gets…

11 hours ago

ซีพีแรม ร่วมแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ด้านโลจิสติกส์ Smart Logistics Talk : The Future of Business Transformation ในงาน LogiMAT Southeast Asia 2024

คุณวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด ร่วมแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ด้านการจัดการระบบโลจิสติกส์ ภายใต้หัวข้อ “Smart Logistics Talk: The Future of…

11 hours ago

Beam สตาร์ทอัพฟินเทคไทย ปิดจุดอ่อนระบบรับชำระเงิน ด้วยภารกิจ สร้างการชำระเงินที่ง่ายที่สุด สร้างรายได้ปีละ 100 ล้านใน 3 ปี

Beam สตาร์ทอัพฟินเทคที่โตเร็วอันดับต้นๆ ของเมืองไทย ตอบรับกระแสคอมเมิร์ซที่มาแรงต่อเนื่องด้วยระบบชำระเงินครบวงจร ช่วยลดขั้นตอนยุ่งยากซ้ำซ้อน เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการทำธุรกรรม ตอบโจทย์ธุรกิจทุกขนาด พร้อมตั้งเป้าสร้างระบบการชำระเงินที่ง่ายที่สุดในโลก ตอกย้ำวิสัยทัศน์ “The World’s Simplest Ways…

11 hours ago

A10 Networks นำเสนอแนวทางการรักษาความปลอดภัยและ ส่งมอบแอปพลิเคชัน AI ที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นทางไซเบอร์

A10 Networks ส่งโซลูชันด้านความปลอดภัยและโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI เพื่อช่วยให้ลูกค้าเพิ่มความยืดหยุ่นทางไซเบอร์และใช้ประโยชน์จากพลังของ AI ในการรักษาความปลอดภัยและจัดการโครงสร้างพื้นฐานขององค์กร เพื่อลดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้และประสิทธิภาพ ส่งผลให้โครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีขององค์กรง่ายขึ้น จากเทรนด์ GenAI และโมเดลภาษาขนาดใหญ่ รวมถึง GPU…

11 hours ago

Lalamove เผยยอดส่งข้ามจังหวัดเติบโต 40% ตอบรับดีมานด์การส่งของที่สูงขึ้นของรายย่อยและ SMEs

Lalamove เดินหน้าส่งมอบบริการ “ส่งด่วนข้ามจังหวัด ส่งกับ Lalamove” ตอบรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการขนส่งด่วนข้ามจังหวัด ช่วยสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องแบกรับต้นทุนสูง อย่างค่าพาหนะและทีมงานขนส่งของตัวเอง พร้อมมุ่งเน้นการสร้างโอกาสในการเติบโตให้แก่คนขับรถอิสระที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ Lalamove การบริการส่งข้ามจังหวัดทั่วไทย พร้อมส่งถึงมือผู้รับทุกจุดหมายทั่วไทยยกเว้น 3…

11 hours ago