กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงในการสานต่อความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงาน ในการเสริมประสิทธิภาพระบบคลาวด์ พร้อมเสริมแกร่งให้กับศักยภาพด้านการแข่งขันทางดิจิทัลของประเทศไทย รวมถึงการนำโปรแกรมพัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัลของหัวเว่ยมาใช้ในการอบรมผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลของรัฐบาลไทยภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อร่วมกันสร้างอีโคซิสเต็มคลาวด์ที่มีความพร้อม และนำไปสู่รากฐานของเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลให้กับประเทศไทย
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) กล่าวว่า “ในฐานะตัวแทนของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผมขอขอบคุณทุกท่านสำหรับความทุ่มเทและความอุตสาหะที่ทำให้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ฉบับนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลฯ และบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด
–อาลีบาบา กรุ๊ป เผยไตรมาส 4 ปี 2564 รายรับ 38,066 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
–SCN โชว์กำไรสุทธิปี 64 โต 59% เตรียมปันผล 66 ล้านบาท หรือ 0.055 บาทต่อหุ้น
ในการนี้ รัฐบาลยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อก้าวสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล โดยรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ แก่นโยบายด้านการเน้นเรื่องเทคโนโลยีคลาวด์เป็นอันดับแรก ดังจะเห็นได้จากความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลฯและบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีคลาวด์ การวิจัยเชิงนวัตกรม การจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) รวมถึงการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัล
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ภาครัฐของเรายังจะได้พัฒนาทักษะและต่อยอดความรู้ด้านเทคโนโลยีคลาวด์ที่ศูนย์นวัตกรรมร่วมด้านซอฟต์แวร์อีกด้วย ตอนนี้ประเทศไทยได้ขึ้นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี 5G ในระดับภูมิภาคอาเซียน โดยมีคลาวด์เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางด้านดิจิทัล และในอนาคตอันใกล้นี้ ผมหวังว่าเราจะได้เห็นประชาชนชาวไทยสามารถเข้าถึงการให้บริการจากภาครัฐผ่านอุปกรณ์ทุกชนิด”
จุดเริ่มต้นบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
นับตั้งแต่มีการลงนามครั้งแรกในเดือนพฤศจิกายน ปี 2560 เราได้มีความร่วมมือกับหัวเว่ยผ่านโครงการต่างๆ จนมีการสานต่อในเชิงลึกมากยิ่งขึ้น โดยวัตถุประสงค์ของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง กระทรวงดิจิทัลฯและหัวเว่ย ในครั้งนี้จะว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีคลาวด์ให้แน่นเฟ้นยิ่งขึ้น ผ่านโครงการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและนวัตกรรม รวมไปถึงการพัฒนาทักษะของบุคลากร ความร่วมมือนี้ยังมุ่งหวังที่จะเร่งการเปลี่ยนผ่านบริการของรัฐบาลจากแบบดั้งเดิมสู่ระบบคลาวด์ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่าย ปรับปรุงและยกระดับบริการต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน
“เราจะส่งเสริมระบบคลาวด์สำหรับรัฐบาลเพื่อพัฒนาไปสู่ระบบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และการโอนถ่ายข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงาน นอกจากนี้ เราจะร่วมมือกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์สำหรับรัฐบาล โดยใช้เทคโนโลยีคลาวด์ระดับชั้นนำจากหัวเว่ย รวมถึงข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data), ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT เพื่อเพิ่มความหลากหลายและความสามารถในการให้บริการเชิงลึกให้แก่หน่วยงานของรัฐและสังคม”
รายละเอียดบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ
ชัยวุฒิ ยังเน้นย้ำถึงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือซึ่งรวมไปถึงการอบรมบุคลากรเป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลในด้านของคลาวด์, ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data), ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบ IoT พร้อมทั้งเสริมทักษะในด้านเทคโนโลยีที่จำเป็นให้แก่บุคลากรของรัฐจำนวน 2,000 คน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญึ่งเป็นปัจจันต่อการผลักดันเศรษฐกิจและสังคม
ความร่วมมือในครั้งนี้ยังจะรวมไปถึงการปรับโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์สาธารณะ เพื่อรองรับความต้องการและให้การบริการแก่ผู้ใช้งานในส่วนของภาครัฐที่มากยิ่งขึ้น ผลักดันการให้บริการสาธารณะผ่านระบบคลาวด์ของรัฐ ที่สำคัญ ทั้งสองฝ่ายต่างมุ่งเน้นที่จะร่วมกันเร่งสร้างอีโคซิสเต็ม (ระบบนิเวศดิจิทัล / Digital Ecosystem) ในวงกว้างนอกเหนือจากหน่วยงานรัฐ รวมถึงพาร์ทเนอร์ในอุตสาหกรรม สตาร์ทอัพ ธุรกิจ SMEs และมหาวิทยาลัย เพื่อนำโซลูชันไปใช้ในอุตสาหกรรมแนวดิ่ง
ทั้งนี้ ยังมีพันธมิตรจากหัวเว่ย คลาวด์ กว่า 20,000 รายทั่วโลก ซึ่งกระทรวงดิจิทัลฯ และหัวเว่ยจะร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เหล่านี้ในการพัฒนาดิจิทัลอีโคซิสเต็ม (ระบบนิเวศดิจิทัล / Digital Ecosystem) ชั้นนำที่เปิดกว้างเพื่อทุกฝ่ายจะสามารถทำงานร่วมกันได้
เป้าหมายในการเติบโตของหัวเว่ยในประเทศไทย และการลงทุนในระบบคลาวด์
อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เรารู้สึกซาบซึ้งและได้รับแรงกระตุ้นจากการสนับสนุนและความไว้วางใจของรัฐบาลไทยที่มีต่อหัวเว่ยอย่างต่อเนื่อง ในฐานะพาร์ทเนอร์ด้านไอซีทีที่ไว้วางใจได้และเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี หัวเว่ย คลาวด์ ให้บริการในประเทศไทยมากว่า 3 ปี เสริมศักยภาพให้แก่พาร์ทเนอร์กว่า 300 ราย ในกว่า 15 อุตสาหกรรม
เราภูมิใจที่เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์ระดับโลกรายแรกที่เปิดตัว Available Zone (AZ) ในประเทศไทย และเป็นรายเดียวที่มี AZ สามแห่งตั้งอยู่ที่นี่ นอกจากนี้ ในฐานะที่เรามุ่งมั่นสนับสนุนสังคมอย่างต่อเนื่อง หัวเว่ยจะยังคงส่งเสริมศักยภาพของอีโคซิสเต็มให้แก่ SMEs และบุคลากรที่มีความสามารถด้านดิจิทัลให้แก่ประเทศ ผ่านการริ่เริ่มโครงการต่างๆ ซึ่งรวมถึงโปรแกรมการแข่งขัน Huawei Spark Ignite, Huawei ASEAN Academy และ Seeds for Future ด้วยเป้าหมายความสำเร็จต่างๆ ในวันนี้ จะเร่งให้เกิดการใช้งานบริการคลาวด์และเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทย และขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน และทำให้เกิดโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์ได้ในที่สุด”