มรภ.กลุ่มภาคใต้ ชู 5 ศูนย์อัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ พร้อมขับเคลื่อนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม สร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง

มรภ.กลุ่มภาคใต้ ชู 5 ศูนย์อัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ พร้อมขับเคลื่อนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม สร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง

กลุ่ม มรภ.ภาคใต้ ผนึกตั้งศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ เพื่อการขับเคลื่อนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม สร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง ชูด้านการบริการองค์ความรู้ นวัตกรรม แก่ชุมชนท้องถิ่น พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่น สร้างองค์ความรู้และทักษะสอดคล้องตามความต้องการหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น สู่การสร้างอาชีพ-รายได้ มุ่งให้ นศ. ร่วมพัฒนาท้องถิ่นและรักถิ่นฐาน พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรมและพึ่งตนเองได้ พร้อมเตรียมรับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่กำลังกลับมาคึกคักและตลาดฮาลาลที่เติบโตสูง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เปิดเผยว่า สำหรับ “โครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้” ภายใต้การดำเนินโครงการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือกในโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย “Reinventing University” ของกลุ่ม 3 ที่มุ่งยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based & Community) ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นสถาบันการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ 5 แห่งจึงได้ร่วมกันทำโครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ขึ้น

สรรพากรแจงชัด ไม่เคยเก็บภาษีจากโครงการคนละครึ่ง
ยอดขาย-เช่าที่ดินพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 6 เดือนแรก โต 31.% อีอีซี ยังเป็นทำเลทองดึงดูดการลงทุน

“สำหรับภารกิจหลักของศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ คือ การให้บริการด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม แก่ชุมชนท้องถิ่นในการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong learning) ด้วยการพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น ทั้งที่เป็น non-degree และ degree ที่สามารถนำผลการเรียนเก็บสะสมไว้ในระบบคลังหน่วยกิต (Credit Bank) และการให้บริการวิชาการและการพัฒนางานวิจัย สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ระดับสากลตามความต้องการของชุมชน/ท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหา สร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ให้มีความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ โดยจะมีการบูรณาการการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ นวัตกรรม และบุคลากร ร่วมกัน เพื่อใช้ความรู้ความสามารถในการพัฒนาศักยภาพในระดับภูมิภาคศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ทั้งนี้มี 5 ศูนย์ใน 5 แหล่งที่ตั้งตามความเชี่ยวชาญของแต่ละมหาวิทยาลัย ดังนี้

1) ศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ด้านการพัฒนานวัตกรรมท้องถิ่นและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
2) ศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ด้านการเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
3) ศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ด้านการเกษตรและอาหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
4) ศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
5) ศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช”

ทั้งนี้เป้าหมายและผลการดำเนินโครงการฯ จะทำให้มีศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ จำนวน 5 ศูนย์ ในการให้บริการด้านองค์ความรู้ นวัตกรรม แก่ชุมชนท้องถิ่น พร้อมสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการวิจัย และบริการวิชาการ เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ พัฒนาบุคลากรในชุมชน/ท้องถิ่น มีองค์ความรู้และทักษะสอดคล้องตามความต้องการหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น มีอาชีพ มีรายได้ และมีการพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง

มรภ.กลุ่มภาคใต้ ชู 5 ศูนย์อัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้ พร้อมขับเคลื่อนการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยอย่างเป็นรูปธรรม สร้างเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง

รวมทั้งให้นักศึกษามีทักษะชีวิตตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษา ตระหนักรู้ในความสำคัญของการพัฒนาท้องถิ่นและรักถิ่นฐาน มีความรู้และทักษะต่าง ๆ และสามารถประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อชุมชนท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังสร้างชุมชนนวัตกรรม ที่มีความสามารถในการพัฒนาการพึ่งตนเองและจัดการตนเองเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

“สำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด 2 ปีที่ผ่านมา การสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาศักยภาพบุคลากรจะเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือ โดยได้ยกตัวอย่างของศูนย์พัฒนาสมรรถนะและฝึกอาชีพตามมาตรฐานการท่องเที่ยวและบริการ กิจกรรม PKRU CMAS One Star Diver ซึ่งจากข้อมูลด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในพื้นที่ในส่วนของสถานประกอบการสอนดำน้ำเกินกว่า70% ดำเนินการโดยชาวต่างชาติ ทำให้เม็ดเงินไม่ได้อยู่ในประเทศ ดังนั้นหากเราสามารถพัฒนาบุคลากรในพื้นให้ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองระดับสากล จะเป็นการสร้างอาชีพและเม็ดเงินให้กับเศรษฐกิจประเทศได้ปีละหลายร้อยล้านบาท สำหรับในกลุ่มวิชาชีพนี้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หิรัญ ประสารการ กล่าว

พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการลงพื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคใต้ ในการติดตามการดำเนิน “โครงการพัฒนาศูนย์อัจฉริยะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นภาคใต้” ครั้งนี้มีการดำเนินโครงการฯ รุดหน้าเต็ม 100% พร้อมเป็นโมเดลต้นแบบในการพัฒนาด้านการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ (Area-Based & Community) ของการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยอีกหนึ่งพื้นที่ โดยจะเห็นได้จากศูนย์แต่ละแห่งมีความสอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิต และตอบโจทย์จุดแข็งแต่ละพื้นที่ อาทิ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลอันดามัน ซึ่งปัจจุบันประชากรมุสลิมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของประชากรโลกที่มีกว่า 7,871 ล้านคน หรือคิดเป็นกว่า 2,000 ล้านคน ส่งผลให้ตลาดอาหารฮาลาลเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูง โดยมีมูลค่าตลาดทั่วโลกประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ทั้งนี้ประเทศไทยถือเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารฮาลาลรายใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของโลก อีกทั้งยังมีพร้อมและความได้เปรียบในด้านโลจิสติกส์ รวมทั้งมีกลุ่มสินค้าที่มีความหลากหลายตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ซึ่งปัจจุบันไทยมีบริษัทที่ได้รับรองมาตรฐานอาหารฮาลาลประมาณ 5,000 บริษัท มีผลิตภัณฑ์ที่ขอรับการรับรองฮาลาลมากกว่า 160,000 รายการ (ข้อมูลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย) นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ ยังเดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนกลุ่มสินค้าฮาลาล พร้อมแนะนำผู้ประกอบการศึกษาและให้ความสำคัญกับตลาดสินค้าฮาลาลที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ดังนั้นการดำเนินการศูนย์จะเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอร์ที่สำคัญที่ผลักดันให้เกิดความเข้มแข็งให้กับตลาดนี้

Scroll to Top