ศาลปกครองกลาง พิพากษาคณะกรรมการ ม.36 – รฟม.ล้มประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม มิชอบด้วยกฎหมาย

ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 580/2564 ระหว่าง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ 1 กับพวกรวม 2 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ฟ้องว่า คณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 กับพวกรวม 2 คน กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีมติยกเลิกการประมูลในโครงการรถฟ้าสายสีส้มฯ และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) มีประกาศ ลว. 3 ก.พ. 2564 ยกเลิกประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ และยกเลิกการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนฯ เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ซื้อและยื่นเอกสารข้อเสนอการร่วมลงทุน ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ที่ยกเลิกการประกวดราคา และคำสั่งของผู้ว่า รฟม. ที่มีคำสั่งและออกประกาศยกเลิกการประกวดราคาโครงการดังกล่าว เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2564 เนื่องจากมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งทางรฟม.สามารถยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาได้ภายใน 30 วัน ประกอบกับช่วงก่อนหน้านี้ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาการแก้ไขหลักเกณฑ์การประมูลที่มีการเปลี่ยนแปลง ก็มิชอบด้วยกฎหมาย นั่นหมายถึง “เกณฑ์ราคา” ในการประมูลครั้งแรกยังมีผลอยู่ เรื่องนี้ก็ต้องฝากให้พิจารณากันต่อไปว่าจะทำอย่างไร และทางบริษัทฯ จะกลับไปหารือกับผู้เกี่ยวข้องกับโครงการทั้งหมดโดยเฉพาะฝ่ายกฎหมาย ว่าจะดำเนินการอย่างไรเช่นกัน

“การตัดสินของศาลครั้งนี้เราก็ดีใจ ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะเป็นการสร้างบรรทัดฐานการประมูลบ้านเรา การต่อสู้ครั้งนี้ก็ยังไม่รู้ว่าเราจะชนะหรือแพ้ แต่อยากให้เกิดการประมูลที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และเป็นธรรม เพราะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติ ศาลจะเน้นในเรื่องนี้มาก เพราะเป็นเรื่องสำคัญ เกี่ยวข้องกับชื่อเสียงของประเทศ และความเชื่อมั่นของนักลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่”นายสุรพงษ์กล่าว

อย่างไรก็ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางวันนี้ ชี้ให้เห็นว่าการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในการประมูลครั้งแรกยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการ เพราะคำสั่งยกเลิกประมูลไม่เป็นผล ซึ่งโดยปกติแล้วโครงการเดียวก็ต้องมีการประมูลครั้งเดียว และใช้หลักเกณฑ์เดียว ดังนั้นการออกประมูลรอบใหม่ที่ รฟม.กำลังเปิดรับซองเอกสารจากเอกชนวันที่ 27 ก.ค.นี้ จะดำเนินการอย่างไร ต้องรอดูการพิจารณาจาก รฟม.อีกครั้ง แม้ว่าจะมีการคืนซองข้อเสนอของเอกชนไปบ้างแล้ว แต่ศาลฯ ได้ชี้ว่าการประมูลรอบใหม่ก็ยกเลิกได้
.
อย่างไรก็ตามคำพิพากษาของศาลปกครองกลางวันนี้ ชี้ให้เห็นว่าการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในการประมูลครั้งแรกยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการ เพราะคำสั่งยกเลิกประมูลไม่เป็นผล ซึ่งโดยปกติแล้วโครงการเดียวก็ต้องมีการประมูลครั้งเดียว และใช้หลักเกณฑ์เดียว ดังนั้นการออกประมูลรอบใหม่ที่ รฟม.กำลังเปิดรับซองเอกสารจากเอกชนวันที่ 27 ก.ค.นี้ จะดำเนินการอย่างไร ต้องรอดูการพิจารณาจาก รฟม.อีกครั้ง ว่าจะดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางที่ศาลได้กรุณาวินิจฉัยไว้อย่างไร

Scroll to Top