นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย บอกว่า ในการเเข่งขันครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมเเข่งขันรวมทั้งสิ้นกว่า 92 ทีม แบ่งเป็นทีมประเภทสถาบันการศึกษา 81 ทีม และเป็นทีมประเภทบุคคลทั่วไป 11 ทีม โดยรูปเเบบการเเข่งขันเเบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้เเก่ รอบเเรก เเข่งขันภาคสนามวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2565 และรอบถัดมาเป็นการเเข่งขันภาคสนามรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งจัดการเเข่งขันในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2565 ชิงรางวัลสูงสุดรวมกว่า 100,000 บาท เเละถ้วยรางวัลชนะเลิศจากนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ส่วนรองชนะเลิศอันดับสองจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาทเเละรองชนะเลิศอันดับสามจะได้รับเงินรางวัลมูลค่า30,000 บาท ส่วนรางวัลพิเศษรางวัลขวัญใจมหาชน จะได้รับรางวัลถ้วยรางวัลจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
คุณสมศักดิ์ ปรางทอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและกิจการเพื่อสังคม-1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “สำหรับการจัดการเเข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงเพื่อธุรกิจเเห่งอนาคตในครั้งนี้ กฟผ. เล็งเห็นว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักรับรู้ของนักเรียน นักศึกษากับบทบาทยานยนต์ไฟฟ้าที่มีผลกระทบด้านสิ่งเเวดล้อม เศรษฐกิจเเละอุตสาหกรรม รวมถึงต่อยอดเเนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนการสร้างโมเดลทางธุรกิจ เเละพัฒนาบุคลากรสายอาชีพด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าดัดเเปลงในประเทศต่อไป”
ด้านสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยนายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมฯ กล่าวว่า “ทางสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับการสนับสนุนโครงการการเเข่งขันรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดเเปลงเพื่อธุรกิจเเห่งอนาคตจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเเห่งประเทศไทย เเละผู้สนับสนุนทุกๆท่าน ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญที่นิสิต นักศึกษา เเละประชาชนทั่วไปจะได้เเสดงศักยภาพในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง เเละถือเป็นหมุดหมายที่ดี ที่จะช่วยกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศให้มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ นอกจากนี้เมื่อมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเเล้ว เราอาจได้เห็นธุรกิจเเห่งอนาคตที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้นอย่างเเพร่หลาย โดยบุคลากรคนรุ่นใหม่เหล่านี้ที่เป็นกำลังหลักสำคัญอีกด้วย”
ในการเเข่งขันครั้งนี้ ทางคณะกรรมการจัดงานได้จัดสนามการเเข่งขันโดยเเบ่งออกเป็น 10 สถานีหลัก ได้เเก่สถานีที่ 1 ทดสอบอัตราเร่งของรถ เป็นสถานีที่ผู้เข้าเเข่งขันจะได้รับสัญญาณจากกรรมการให้ขับรถด้วยอัตราเร่งทันทีในระยะทาง 30 เมตร สถานีที่ 2 รักษาระดับความเร็ว เป็นการทดสอบความเร็วตามความสามารถของรถ โดยให้ผู้ขับขี่รักษาความเร็วก่อนการเบรก ด้วยการรักษาความเร็วเฉลี่ย 20 – 25 กม./ชม. ในระยะทางทดสอบ 50 เมตร สถานีที่ 3 ทดสอบระยะการเบรก ใช้ความเร็วระดับเดียวกับจุดที่ 2 เเต่มีระยะการตัดสินใจที่ให้เบรกประมาณ 5 เมตร สถานีที่ 4 ทดสอบการประกอบของรถ จุดมุ่งหมายเพื่อทดสอบการประกอบทางกลของชิ้นส่วน โดยการขับรถวิ่งผ่านลูกระนาด ระยะทาง 50 เมตร เเละผู้ขับขี่ต้องรักษาความเร็วเฉลี่ยที่20-25 กม./ชม. สถานีที่ 5 ทดสอบบังคับเลี้ยววิ่งอ้อมกรวย ซึ่งจะเป็นการทดสอบโดยมีการวางกรวยในเเนวเส้นตรงกลางถนน ด้วยระยะทาง 50 เมตร เเละผู้ขับขี่ต้องรักษาความเร็ว 15-20 กม./ชม. สถานีที่ 6 ทดสอบการขึ้นทางลาดชัน เพื่อทดสอบกำลังของรถในการวิ่งขึ้นเนิน ซึ่งผู้ขับขี่ต้องหยุดรถในพื้นที่หยุดรถ เเละเมื่อไดัรับสัญญาณ ต้องขับรถขึ้นเนินให้ได้ทันที โดยผู้ขับขี่ต้องรักษาความเร็วเฉลี่ยที่ 20 – 25 กม./ชม. สถานีที่ 7 การวิ่งในช่องทางคดเคี้ยวในช่องกรวย เพื่อทดสอบการทรงตัวเเละการบังคับเลี้ยวของการขับรถในช่องกรวยที่มีความกว้างเเต่ละคู่ 1.5 เมตร ด้วยระยะทาง 50 เมตร ในความเร็วเฉลี่ย 15-20 กม./ชม. สถานีที่ 8 การวิ่งผ่านเนินชะลอความเร็ว ผู้ขับขี่ต้องลดความเร็วจนรถหยุดนิ่ง เป็นการชะลอความเร็วให้รถลดความเร็วก่อนขับขี่ลงเนินที่สูงชัน สถานีที่ 9 สถานีตรวจวัดพลังงาน ผู้เข้าเเข่งขันต้องขับรถตลอดระยะทางของการเเข่งขันด้วยความเร็วเฉลี่ยที่ 20 กม./ชม. ตั้งเเต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสิ้นสุด โดยวิธีการใช้เครื่องอ่าน RFID เเละสถานีสุดท้ายสถานีที่ 10 สถานีตรวจวัดการป้องกันน้ำ เป็นการตรวจวัดความปลอดภัยของอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง เมื่อต้องขับขี่ในพื้นที่น้ำท่วมขัง
โดยการเเข่งขันได้สิ้นสุดลงวันที่ 3 เมษายน ทีมที่ได้รับรางวัลรวมทั้งสิ้น 7 รางวัลโดยเเบ่งเป็นกลุ่มที่ 1 ผู้ได้รับรางวัลจากประเภทกลุ่มสถาบันการศึกษา ทั้งหมด 3 รางวัล ได้เเก่ทีม E-TECH-Motorcycle 2021 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้รับถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาพร้อมเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท รองชนะเลิศอันดับหนึ่งได้เเก่ทีมวิทยาลัยเทคนิคตราด ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท เเละรองชนะเลิศอันดับสองได้เเก่ทีม BB5 จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบังได้รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท
ส่วนกลุ่มที่ 2 ผู้ได้รับรางวัลประเภทกลุ่มประชาชนทั่วไป รางวัลชนะเลิศในกลุ่มนี้คือทีม Itimgarage X Crafting lab ได้รับเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัลจากนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
รองชนะเลิศอันดับหนึ่งได้แก่ทีม โมโตอีวี ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท
เเละรองชนะเลิศอันดับสองได้เเก่ทีม Pari automotive ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท
นอกจากนี้ยังมีรางวัลพิเศษรางวัลขวัญใจมหาชน ได้เเก่ทีม E-TECH-Motorcycle 2021 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค) ได้รับถ้วยรางวัลจากสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย
เกี่ยวกับ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (Electric Vehicle Association of Thailand)
สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยเป็นสมาคมที่ไม่เเสวงหาผลกำไร โดยเเนวทางของสมาคมมุ่ง ส่งเสริมเเละสนับสนุนการเเลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการด้าน เทคโนโลยีเเละ นวัตกรรมยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท ยังรวมไปถึงการให้คำปรึกษาข้อบังคับ มาตรฐานเเละการดำเนินงานในการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย ในปัจจุบันสมาคมมี คุณกฤษฎา อุตตโมทย์ ทำหน้าที่นายกสมาคมเเละ มี สมาชิกที่มา จากภาคเอกชน สถาบันศึกษา รัฐวิสาหกิจ เเละบุคคลทั่วไป รวมทั้งสิ้น กว่า 300 รายโดยทางสมาคมมีการกำหนดการจัดการประชุม ในทุกๆเดือนเเละมีการเเบ่ง คณะทำงานในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนเเละส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ไทยให้เติบโตอย่างมั่นคงเเละยั่งยืน ติดตามข่าวสารของสมาคมได้ที่ www.evat.or.th