รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินแนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 64 ว่ามีแนวโน้มขยายตัวได้ 3.6% จากปีที่แล้วที่ -7% ภายใต้ปัจจัยบวก คือเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ 4-5% , มีประชากรโลกที่ได้รับวัคซีนโควิด19 ไม่น้อยกว่า 40% ของประชากรโลก ,ราคาน้ำมันเพิ่ม , การลงนาม RCEP
ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงคือ เรื่องวัคซีนที่ยังไม่ได้ประสิทธิภาพ และ ไม่เพียงพอ มีผลต่อความเชื่อมั่นต่อประชากรโลกและตลาดการค้าทั่วโลก , ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง , ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลนทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าทางบกและทางเรือเพิ่มขี้น เช่น ค่าขนส่งทางบกผ่านประเทศเพื่อนบ้านไปจีนปีนี้ จะเพิ่มขึ้นอีก 20% (ราว 1,300 บาทต่อตู้) กระทบส่งออกไทยหายไป 2.2% หรือ 1.54 แสนล้านบาท ขณะที่รายได้ผุ้ประกอบการหายไป 50% เพราะต้องใช้บริการหัวลากจากประเทศเพื่อนบ้าน และผลกระทบจากกรอบความตกลง EVFTA (เวียดนาม-อียู) โดยมีประเด็นที่ต้องติดตาม คือ นโยบายของโจ ไบเดน ที่เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อมและนโยบาย Buy America ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ , มาตรการ brexit deal และ การแบนสินค้าจากจีน
อย่างไรก็ตาม หากทิศทางเศรษฐกิจโลก ไม่ฟื้นตัวตามที่คาด และ วัคซีนโควิดยังไม่ได้ประสิทธิภาพจนสามารถคุมสถานการณ์ได้ โดยยังมีผู้ติดโควิดทั่วโลกเฉลี่ย 7-8 แสนคนต่อวัน ก็มีโอกาสที่การส่งออกของไทยจะร่วง -0.8% ได้เช่นกัน
ทั้งนี้ประเมินว่า จากการแพร่ระบาดโควิดรอบใหม่ ที่มีความรุนแรงกว่ารอบแรก จะทำให้ เกิดความไม่เชื่อมั่นในสินค้าไทย ทำให้สินค้าไทยถูกตรวจสอบเข้มมากขึ้น กำลังซื้อต่างประเทศยังไม่ฟื้นตัว 100% และต้นทุนขนส่งยังสูง
โดยได้เสนอ 4 แนวทางเรียกความเชื่อมั่นสินค้าไทยในตลาดโลก คือ 1. เปิดให้ตรวจสอบสินค้าย้อนกลับได้ 2.ประกันภัยสินค้าไทย หากติดโควิดจากสินค้าไทย จ่ายทันที 100,000 บาท แต่หากเสียชีวิตจ่าย 1 ล้านบาท , 3.ติดสติ๊กเกอร์รับประกันสินค้าปลอดโควิด Free Covid หรือ No Covid และ 4. ล็อคดาวน์ พื้นที่สินค้าเกษตรส่งออก เช่น จันทบุรี ระยอง ตราด ซึ่งเป็นพื้นที่ผลิตผลไม่ส่งออกเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อเคลียร์ปัญหาโควิด ก่อนผลผลิตจะออกสู่ตลาด เพื่อเรียกความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั่วโลก เป็นต้น