ซิสโก้ ประเทศไทย ได้รับการรับรองมาตรฐานในการเป็นสถานที่ทำงานที่ยอดเยี่ยมจาก Great Place to Work™ ซึ่งเป็นองค์กรระดับโลกที่มุ่งเน้นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวัฒนธรรมในสถานที่ทำงาน ประสบการณ์ของพนักงาน และความเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ Great Place to Work ทำการประเมินผลอย่างอิสระเกี่ยวกับบริษัทต่างๆ จากความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับประสบการณ์ในสถานที่ทำงาน
บริษัทที่ได้รับการรับรองจะต้องได้รับคะแนนอย่างน้อย 65% จากการสำรวจดัชนีความน่าเชื่อถือ Great Place to Work® Trust Index© โดยจากการสำรวจของ Great Place to work ประจำปี 2565 พบว่า พนักงาน 97% ของซิสโก้ ประเทศไทย มีความเห็นในแง่บวกต่อคำกล่าวที่ว่า “ถ้าหากพิจารณาจากทุกแง่มุม ฉันคิดว่าองค์กรนี้เป็นสถานที่ทำงานที่ยอดเยี่ยม” เปรียบเทียบกับ 53% สำหรับบริษัทระดับโลกโดยทั่วไป
–Crestron เปิดตัวแพลตฟอร์มควบคุมห้องเสมือนจริง เพิ่มความคล่องตัวในการปรับใช้พื้นที่ขององค์กร
–การพัฒนาพี้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD ต่างกับ TAD อย่างไร
ทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทย กล่าวว่า “ที่ซิสโก้ เราสนับสนุนการทำงานในรูปแบบไฮบริดมานานหลายทศวรรษ เราเปิดโอกาสให้พนักงานทำงานที่เหมาะกับสถานการณ์และความต้องการของพนักงานมากที่สุด นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมและสวัสดิภาพโดยรวมของพนักงานคือสิ่งที่เราให้ความสำคัญมากที่สุด และด้วยเหตุนี้เอง ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดอย่างหนัก พนักงานของเราสามารถทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและทำงานร่วมกับทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการจัดการภาระความรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ รางวัลที่ได้รับในครั้งนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นของเราในการสนับสนุนค่านิยมอันดีงาม ความหลากหลาย การยอมรับความแตกต่าง และวัฒนธรรม ซึ่งทำให้ซิสโก้เป็นสถานที่ทำงานที่ยอดเยี่ยม”
การสนับสนุนวัฒนธรรม Conscious Culture
วัฒนธรรมการตระหนักรู้ หรือ Conscious Culture เป็นวิถีปฏิบัติภายในองค์กรของซิสโก้ ซึ่งช่วยกระตุ้นเตือนให้พนักงานตระหนักรู้ถึงสภาพแวดล้อมที่ตนเองมีส่วนร่วม และรู้สึกถึงความรับผิดชอบและศักยภาพของตนเองต่อวัฒนธรรมที่หลากหลายและการยอมรับความแตกต่าง เพื่อให้ทุกคนรู้สึกปลอดภัยและได้รับโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำงาน
ทีมงานทั้งหมดของซิสโก้มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมการยอมรับความแตกต่างในสถานที่ทำงาน โดยมีการดำเนินโครงการต่างๆ เช่น “Standout Assessment” ซึ่งพนักงานจะพบปะพูดคุยกับผู้จัดการทุกสัปดาห์ และบอกเล่าความรู้สึกเกี่ยวกับการทำงาน รวมถึงจุดแข็งและสิ่งที่พนักงานให้ความสำคัญเป็นพิเศษ สิ่งที่ชอบ สิ่งที่เกลียด และความช่วยเหลือที่พนักงานต้องการ โครงการดังกล่าวเปิดโอกาสให้ทีมงานได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเปิดกว้างและพิจารณาเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ
พนักงานกว่า 30,000 คนเข้าร่วมในกลุ่ม Inclusive Communities ของซิสโก้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรด้านทรัพยากรบุคคลและเครือข่ายพนักงานที่ช่วยให้บุคลากรได้ติดต่อสื่อสารกันภายในชุมชนและเข้าร่วมในกลุ่ม interest group ต่างๆ เช่น Women of Cisco และ Connected Disabilities Awareness Network เป็นต้น
หัวใจหลักของวัฒนธรรมสถานที่ทำงานของซิสโก้ก็คือ การมุ่งเน้นแนวคิด “Whole You” โดยมีการสนับสนุนให้พนักงานดูแลเอาใจใส่ตนเอง รวมถึงแง่มุมต่างๆ ในการดำเนินชีวิตเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งในแง่ของร่างกาย จิตใจ สังคม และการเงิน ซึ่งจะช่วยให้พนักงานทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยมทั้งที่บ้านและที่ทำงาน นอกจากนี้ ในการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีสำหรับพนักงานทุกคน ซิสโก้ได้เปิดตัวโครงการ “Day for Me” ซึ่งกำหนดให้พนักงานมีวันหยุดพิเศษในการทำกิจกรรมตามที่ตนเองต้องการ
ในประเทศไทย มีการจัดกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ เช่น เกมตอบคำถามประจำเดือน และเกมตามล่าหาสิ่งของ รวมถึงการจัดตั้งชมรมต่างๆ สำหรับกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน เช่น การถ่ายภาพ และการลิ้มรสกาแฟ เพื่อเสริมสร้างความสมัครสมานสามัคคีในหมู่พนักงานท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาด
อานุพัม เตรฮาน ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบุคลากรและชุมชนของซิสโก้ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ญี่ปุ่น และจีนแผ่นดินใหญ่ กล่าวว่า “ที่ซิสโก้ เราให้ความสำคัญกับบุคลากร และเรามุ่งมั่นที่จะสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อให้พนักงานเป็นตัวของตัวเองและสามารถพัฒนาเติบโตในด้านอาชีพการงาน เราเชื่อมั่นว่าวัฒนธรรม Conscious Culture ของเราคือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายดังกล่าว การได้รับการรับรองครั้งนี้นับเป็นการตอกย้ำว่าซิสโก้คือนายจ้างที่ดีเยี่ยมที่ช่วยส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน”