กทปส. ร่วมส่งเสริมและสร้างความเข้าใจการอยู่ร่วมกันในพหุสังคมไทยผ่านสารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย” และ สารคดีร้อยใจเรา ชุด วาดหวัง

กทปส. ร่วมส่งเสริมและสร้างความเข้าใจการอยู่ร่วมกันในพหุสังคมไทยผ่านสารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย” และ สารคดีร้อยใจเรา ชุด วาดหวัง

กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เล็งเห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นความงดงามของอารยธรรมอันหลากหลาย หรือความขัดแย้งและความแตกต่างทางความคิด เพื่อก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข จึงได้ให้การสนับสนุนมอบทุนการผลิตสารคดีสั้นชุดพิเศษ คือ สารคดีชุด “SOME ONE หนึ่งในหลาย” และ สารคดีร้อยใจเรา ชุด วาดหวัง

พหุสังคม พหุวัฒนธรรม เป็นต้นทุนของทุกสังคม ที่มีประโยชน์ในทางเศรษฐกิจและสังคม “ความหลากหลายทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสมดุลย์ แต่ความแตกตางนี้เองอาจจะทำให้เกิดการ ละเลย หรือละเมิดระหว่างกัน จึงจำเป็นต้องมีการส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจ และมองเห็นตัวตนของคนในพหุสังคม พหุวัฒนธรรม เพื่อเปิดกว้างทางความคิดเกิดการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจ ตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ดร.ตรี บุญเจือ ผู้อำนวยการสำนักรับเรื่องร้องเรียนและคุ้มครองผู้บริโภค ในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) กล่าวว่า กสทช. เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและเป็นหน่วยงานในการกำกับดูแล แล้วยังมีงานอีกส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรการสื่อสารของชาติในการขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชน

โดย กสทช. มีกองทุน กทปส. ในการที่จะทำประโยชน์ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และขับเคลื่อนนโยบายเชิงยุทธ์ศาสตร์ในการส่งเสริมให้กิจการขับเคลื่อนในเชิงสังคม โดยหยิบยกประเด็นในปัจจุบันที่กล่าวถึงการเคารพความหลากหลายในสังคม จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้สังคมเกิดความเข้าใจ เพื่อให้เกิดความเคารพสิทธิกันและกัน ไม่ละเมิด ไม่ละเลยกลุ่มคนใด

ซึ่งการส่งเสริมให้มีเนื้อหาผ่านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมที่เป็นสื่อออนไลน์ จะช่วยขับเคลื่อนให้สังคมเกิดความเข้าใจในความหลากหลาย พหุสังคม และขับเคลื่อนไปสู่สังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ด้วยการใช้ประโยชน์และ กองทุน กทปส. ให้ได้มากที่สุด ซึ่งอันนี้เป็นกระบวนการกลั่นกรองในการมอบทุนของทั้ง 2 โครงการนี้

Kerry Express เปิดจุดรับพัสดุที่ “โลตัส” นำร่อง 53 สาขา รองรับการขยายตัวของอีคอมเมิร์ซ-โซเชียลคอมเมิร์ซ

โดยทาง สำนักงาน กสทช. คาดหวังให้สารคดีพิเศษทั้ง 2 ชุดนี้ เป็นสื่อกลาง และขอให้ทุกคนได้ติดตามและนำประเด็นต่างๆ ที่รายการได้นำเสนอจากการเล่าเรื่องที่ละเมียดละไม และชวนตั้งคำถามถึงการมีมุมคิด การใช้ชีวิต อย่างเข้าใจกันและกันในสังคมที่มีความหลากหลายนี้ เพื่อลดการเหมารวม ตีตรา ดูถูก เหยียดหยาม คนในสังคม สนับสนุนการสร้างการเข้าถึงต่างๆ ของคนที่มีข้อจำกัด เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจในพหุสังคม วัฒนธรรม

ขวัญเรือน ถาวรทวีวงษ์ หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า สารคดีพิเศษชุด “Some One หนึ่งในหลาย” เป็นสารคดีเพื่อส่งเสริมความเข้าใจกลุ่มคนที่แตกต่างหลากหลายในสังคม นำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างตระหนักในคุณค่า และเท่าเทียมในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยทางสังคมและพหุวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ ถอดบทเรียนให้เกิดมุมมองใหม่ในสังคมไทย ด้วยความร่วมมือจากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชียมหาวิทยาลัยมหิดล

และที่สำคัญสารคดีชุดนี้ได้เปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนที่แตกต่างในสังคมมีโอกาสสื่อสารแสดงอัตลักษณ์ เชื้อชาติ ศาสนา สถานภาพทางสังคม เพศสภาพ และทัศนคติที่หลากหลายสู่สังคมวงกว้าง ทั้งในรูปแบบสารคดีโทรทัศน์ บทความวิชาการ และเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในกลุ่มสังคมต่างๆ เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมให้สังคมตระหนักถึงการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง ส่งผลต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และเป็นรูปธรรมต่อไป

ด้วยความหลากหลายของเนื้อหาสารคดีชุดนี้จึงมีผู้ดำเนินรายการจากนักสื่อสารมวลชนและนักวิชาการทางสังคมที่สะท้อนความหลากหลายร่วมกัน 5 ท่าน ได้แก่ นพพัฒน์จักร อัตตนนท์ ไอลดา พิศสุวรรณ วิทยา แสงอรุณทิววัฒน์ ภัทรกุลวณิชย์ และ ดร.นันทมนต์ กู้ตลาด สีสันของสารคดีชุดนี้คือการนำเทคนิค Graphics Recording ภาพลายเส้นฝีมือหมอการ์ตูนนิสต์สรุปเนื้อหาให้เข้าใจได้ง่ายๆ ภายใน 1 นาที

สารคดี SOME ONE หนึ่งในหลาย มีความยาวตอนละ 25 นาที จำนวน 45 ตอน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ช่อง MCOT HD 30 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.30-10.00 น. เริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2565 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ สารคดีชุดนี้ยังเผยแพร่ผ่านช่องทางโชเชียลมีเดีย ทั้ง Facebook และ YouTube ภายใต้ชื่อ “สารคดี SOME ONE หนึ่งในหลาย” และช่องทางพันธมิตรเครือข่าย โดยจะเผยแพร่ทั้งบทความ สารคดีความยาว 25 นาที และสารคดีคัดย่อ 5 นาที ที่จะเผยแพร่ในช่วงเวลาเดียวกับการออกอากาศทางโทรทัศน์

ส่วนสารคดี ร้อยใจเรา ชุด วาดหวัง เป็นสารคดีที่สร้างความตระหนักและความเข้าใจในความแตกต่างของสังคมไทยซึ่งเป็นพหุสังคม เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจ ความเคารพ และความชื่นชมความแตกต่างของชาติพันธุ์ ภาษความคิด ความเชื่อ ให้คนทุกกลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข โดยหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมและสร้างค่านิยมให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติและยอมรับความแตกต่างหลากหลายของพหุวัฒนธรรม

นิรมล เมธีสุวกุล ในฐานะ ผู้ควบคุมการผลิตรายการ กล่าวว่า ปกติสนใจงานทางด้านมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ภาษา ความแตกต่างที่เป็นอัตลักษณ์พิเศษของคนกลุ่มต่างๆ เมื่อได้ทราบเรื่องการเปิดให้เสนอโครงการ จึงมีความรู้สึกว่า สนใจและอยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนการสร้างความเข้าใจและส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในความแตกต่างของหลักคิดความเชื่อและการดำเนินชีวิตผู้คนในสังคมไทย

ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทำสารคดีชุดพันแสงรุ้งและเธอเขาเราใคร คิดว่า มีความรู้ความเข้าใจและมองเห็นประเด็นที่ควรทำในฐานะนักสื่อสารมวลชน การนำเสนอเรื่องราวที่แตกต่างให้กับคนที่คิดต่างกัน ให้หยุดและหันมาทบทวนใหม่ เกิดทัศนคติมุมมองใหม่ๆ ไม่หมกมุ่นเฉพาะความคิดของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง การรับฟังและยอมรับ มองเห็นคุณค่า ความงามความจริงของกันและกัน รู้สึกขอบคุณคณะกรรมการที่พิจารณาโครงการ หน่วยงาน กทปส.และ กสทช.ที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างความเข้าใจในสังคมแบบนี้

ผลงานสารคดีร้อยใจเรา ชุด วาดหวัง หวังจะให้เกิดความเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรมและมีพลังส่งไปยังพี่น้องกลุ่มชาติพันธุ์ภาษา ในการใคร่ครวญเรื่องการสำรวจอนุรักษ์ฟื้นฟูและสืบทอดคุณค่าความหมายของผู้คนแต่ละกลุ่มไม่ว่าจะใกล้ไกล จำนวนคนมากน้อยแค่ไหน ทุกคนทุกกลุ่มล้วนสำคัญและหวังว่าจะมีร่วมขับเคลื่อนต่อไปในมิติต่างๆ อย่างเข้มแข็ง

สารคดี ร้อยใจเรา ชุด วาดหวัง มีความยาว 25 นาที ทั้งหมด 13 ตอน นำเสนอเนื้อหาที่หนักแน่น ว่าชีวิตขับเคลื่อนด้วยความหวัง ผู้ดำเนินเรื่องในสารคดีชุดนี้มีตัวตนจริงและมีประสบการณ์จริงในพื้นที่บทบาทและเกี่ยวข้องกับเนื้อหาโดยตรง ถ่ายทำในสถานที่จริง เห็นบรรยากาศการสนทนารับฟังผู้ร่วมรายการ เช่น นักวิชาการ ชาวบ้าน ผู้ได้รับผลกระทบเชิงบวกเชิงลบ หลากหลายวัย โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ในแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่ละตอน เน้นภาพประกอบสวยงาม บอกเล่าเรื่องราว เชื่อมร้อยด้วยกราฟิกที่สดใส ทันสมัย ใช้เสียงประกอบและดนตรีประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อหาและเรื่องราวที่นำเสนอ

ออกอากาศทางช่องอัมรินทร์ ทีวี ในไตรมาส 2 ของปี 2566 ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 13.00 – 18.00 น.

Scroll to Top