“คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด” คือข้อความที่มักถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ ในสังคมออนไลน์ แต่ความจริงแล้ว หากย้อนดูสถิติจะพบว่าสวนทางจากประโยคดังกล่าวโดยสิ้นเชิง โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2548 – พ.ศ. 2561 พบว่าคนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไปใช้เวลาอ่านเฉลี่ยมากถึงวันละ 80 นาที อย่างไรก็ตาม จากสถิติดังกล่าวได้นำไปสู่คำถามที่ว่า การใช้เวลาอ่านมากแปลว่าดีเสมอไปจริงหรือไม่? และอ่านอย่างไรถึงเรียกได้ว่า “อ่านดี”
อ่านได้หรืออ่านเยอะไม่ใช่ทุกอย่าง “เพราะการอ่านไม่ได้หมายถึงแค่อ่านออก”
ปฏิเสธไม่ได้ว่า “เวลา” เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในตัวชี้วัดวัฒนธรรมการอ่านในไทยเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่ได้รวมไปถึง “คุณภาพ” จากผลการสอบโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) ซึ่งวัดความฉลาดรู้ด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ พบว่าตั้งแต่การประเมินรอบแรกในปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ผลการประเมินด้านการอ่านของนักเรียนไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading literacy) ตามนิยามของ PISA นั้นหมายถึงความสามารถที่จะทำความเข้าใจกับสิ่งที่ได้อ่าน รวมถึงนำไปใช้วิเคราะห์ และสะท้อนออกมาเป็นความคิดเห็นของตนเอง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนในด้านสะเต็มศึกษาและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังนั้น จากโจทย์ตั้งต้นดังกล่าว จึงได้พัฒนาสู่จุดเริ่มต้นของโครงการวิจัยและพัฒนานำร่อง “การใช้หนังสือภาพเพื่อเสริมสร้างความคิดอย่างมีวิจารณญาณและการอ่านอย่างมีความหมาย” หรือ โครงการ Picture Book ซึ่งดำเนินการภายใต้ โครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ที่มุ่งเน้นเสริมทักษะสะเต็มศึกษาแก่เยาวชนไทย ภายใต้การสนับสนุนโดยบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ผ่านการดำเนินงานของศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยสะเต็มศึกษาขององค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMEO STEM-ED) โดยใช้หนังสือภาพเป็นสื่อกลางในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีความหมาย พร้อมพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่านคิดวิเคราะห์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของสะเต็มศึกษาให้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น เพื่อปูรากฐานในการเรียนระดับที่สูงขึ้นต่อไปในอนาคต
ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO STEM-ED ได้กล่าวถึงแนวคิดพัฒนาการอ่านอย่างมีความหมายผ่านหนังสือภาพว่า “เราเห็นแนวทางจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น หรือชิลี ที่ใช้หนังสือภาพเป็นสื่อกลางการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ จึงนำแนวคิดนี้มาต่อยอดร่วมกับเชฟรอนในโครงการ Picture Book ซึ่งอยู่ภายใต้โครงการ Chevron Enjoy Science โดยพัฒนาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการอ่านและการเขียนจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและคณะนักวิจัยการศึกษา จากมหาวิทยาลัยเครือข่ายทางวิชาการ จำนวน 7 แห่งของประเทศไทย เพื่อปูพื้นฐานให้เด็กๆ ระดับประถมศึกษาตอนต้นสามารถอ่านโดยใช้กระบวนการคิด การฟัง จินตนาการ และตั้งคำถาม พร้อมทั้งจัดอบรมครูให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสือภาพ ซึ่งคัดเลือกจากเกณฑ์ที่เหมาะสมกับโครงการฯและนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น โดยจะต้องสามารถอ่านจบในเวลา 30 นาที รวมทั้งมีเนื้อเรื่องน่าติดตามและดำเนินเรื่องอย่างมีความหมายลึกซึ้ง ทำให้นักเรียนต้องค้นหาหรือได้คิด ซึ่งเราหวังว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นโมเดลสำคัญเพื่อขยายผลในระดับประเทศและเป็นต้นแบบให้อาเซียนต่อไป”
สำหรับโครงการ Picture Book ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2564 จนถึงเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งตลอดโครงการจะเห็นได้ว่านักเรียนสามารถฝึกคิดวิเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้นผ่านสื่อการสอนอย่างหนังสือภาพ ด้านนางสาวพรสุรีย์ กอนันทา รองประธานกรรมการบริหาร ฝ่ายกิจการองค์กร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราเล็งเห็นว่าความสำคัญของการอ่าน ไม่ใช่เพียงแต่ต้องอ่านออกเท่านั้น โดยการใช้หนังสือภาพสามารถช่วยส่งเสริมกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการอ่านอย่างมีความหมายได้อย่างแท้จริง ดังนั้นเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารญานให้กับเด็กตั้งแต่อายุน้อย เราจึงได้ตั้งเป้าหมายไปที่กลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1- 4 จำนวนประมาณ 600 คน
ใน 16 โรงเรียนจาก 7 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเรียนกับครูที่ผ่านการอบรมในโครงการ Chevon Enjoy Science จำนวน 32 คน ซึ่งปลายทางของโครงการดังกล่าว เราได้เห็นว่าเด็กๆ รักการอ่านมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถแสดงความคิดวิเคราะห์ออกมาได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ Chevron Enjoy Science ที่เน้นเตรียมความพร้อมด้านทักษะสะเต็มให้แก่เยาวชน เพื่อเติบโตมาเป็นพลังคนที่สำคัญแก่ประเทศชาติในอนาคต ตามความมุ่งมั่นของเชฟรอนที่เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงต้องเริ่มจากการศึกษา ซึ่งเป็นก้าวแรกที่สำคัญ”
เปิดจินตนาการผ่านหนังสือภาพ สู่การสร้างห้องเรียนแห่งความสุข
ผลจากการใช้หนังสือภาพและนิทานเข้ามาเป็นส่วนช่วยในการส่งเสริมการอ่านอย่างมีความหมาย ชี้ให้เห็นว่ากำลังดำเนินมาถูกทาง โดย ดร.รังรอง สมมิตร หัวหน้าโครงการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนหลังจากริเริ่มโครงการฯ ว่า “จากหนังสือเล่มแรกสู่เล่มที่สิบ เราได้เห็นชัดเจนว่าเด็กผูกพันกับหนังสือ และมีคลังคำศัพท์ในการพูดมากขึ้น กิจกรรมที่เราทำไม่ใช่การสอนอ่าน แต่เป็นการใช้ภาพเป็นสื่อกลางเพื่อลดทอนความกังวลด้านความผิดถูก โดยภาพกับคำจะทำงานกับความคิดให้เด็กมองภาพและเกิดความคิดอ่านอย่างเป็นระบบ อีกทั้งเปิดพื้นที่ให้เด็กจินตนาการผ่านการคิดวิเคราะห์ สังเกตมากขึ้น ดังนั้นสำหรับปลายทางของโครงการฯ เราเชื่อว่าการอ่านที่มีความสุขจะนำไปสู่การอ่านเพื่อค้นหา และเมื่อเราเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กๆ กล้าแสดงความคิดเห็น เมื่อนั้นเองที่เราจะได้เห็นศักยภาพที่ซ่อนอยู่ออกมา”
ด้าน อรวรรณ โสสะ คุณครูจากโรงเรียนวัดโลกา จังหวัดสงขลา ที่ได้นำเทคนิคการสอนโดยใช้หนังสือภาพจากโครงการฯ มาสอน ได้เล่าถึงกระบวนการเรียนรู้ของเด็กๆ ว่า “หนังสือภาพ ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเท่าเทียมในห้องเรียนได้อย่างนึกไม่ถึง โดยเมื่อเราได้ลองจัดการเรียนการสอนกับเด็กหลายๆ กลุ่ม ทั้งเด็กที่มีทักษะการอ่านดี ไปจนถึงกลุ่มเด็กๆ ที่ยังต้องพัฒนาด้านการอ่าน จะเห็นได้ว่าหนังสือภาพสามารถทลายกำแพงระหว่างเด็กสองกลุ่มนี้ เพราะภาพเป็นสื่อกลางที่ทำให้ไม่ว่าเด็กกลุ่มไหนก็สามารถมองภาพแล้วเข้าใจได้เหมือนเพื่อนๆ แทนที่จะใช้ตัวหนังสืออย่างเดียว อีกทั้งกระบวนการของเราได้เปิดพื้นที่ให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริง โดยเราเริ่มตั้งแต่การ Read Aloud หรืออ่านให้เด็กฟังแล้วให้เขียนเส้นเรื่องเหตุการณ์สำคัญในเนื้อเรื่อง ต่อด้วยการให้เด็กๆ แต่ละกลุ่มมาโต้แย้งถึงความคิดของตัวละครในการตัดสินใจกระทำบางอย่างในเรื่อง และสิ้นสุดลงที่ให้เด็กๆ วิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ที่เป็นจุดเปลี่ยนของเนื้อเรื่อง ดังนั้นกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้เด็กๆ กล้าคิด กล้าแสดงออกเท่านั้น แต่เป็นการให้เด็กสามารถอ่านคิดวิเคราะห์ได้เป็นระบบ ซึ่งในฐานะคุณครูมองว่ากระบวนการนี้จะเป็นทักษะติดตัวให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ในวิชาอื่นหรือในชีวิตประจำวันได้”
จะเห็นได้ว่า การอ่านอย่างมีความหมายไม่ได้เป็นเพียงการอ่านออกหรืออ่านได้ แต่คือพื้นฐานสำคัญที่เราทุกคนต้องเสริมสร้างให้เด็กและเยาวชนเพื่อเป็นรากฐานต่อยอดไปสู่การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading literacy) และช่วยให้เกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์ โดยโครงการวิจัยและพัฒนานำร่อง “การใช้หนังสือภาพเพื่อเสริมสร้างความคิดอย่างมีวิจารณญาณและการอ่านอย่างมีความหมาย” ถือเป็นก้าวเดินที่สำคัญในการมุ่งมั่นพัฒนาทักษะการอ่าน อันจะต่อยอดไปสู่พลังคนที่เข้มแข็งของประเทศไทย และนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่รู้จบต่อไปในอนาคต
AIS จับมือ OPPO เปิดตัว OPPO Find X8 Series สมาร์ทโฟนแฟลกชิป รุ่นล่าสุด ในราคาเริ่มต้นเพียง 18,999 บาท พร้อมมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้กับลูกค้า AIS…
ออเนอร์ กรุ๊ป เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมสุดหรู "Once Wongamat" บนทำเลทองวงศ์อมาตย์ ชูจุดเด่นการออกแบบที่ผสานความหรูหรา และความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ กลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ออเนอร์ กรุ๊ป (Honour Group)…
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มอบประกันอุบัติเหตุจากกรุงไทย แอกซ่า ฟรี 30 ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม - 31 ธันวาคม 2567…
พฤกษา โฮลดิ้ง ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสรรค์สังคมแห่งโอกาสที่เท่าเทียม เดินหน้าสู่ปีที่ 6 ของโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” โดยผนึกกำลังร่วมกับ โรงพยาบาลวิมุต และ อินโนโฮม คอนสตรัคชัน ในเครือ…
บาร์บีคิวพลาซ่า จับมือ วิตอะเดย์ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการน้ำดื่มผสมวิตามิน ส่ง "วิตอะเดย์ กะหล่ำปลี วอเตอร์" รสชาติสุดว้าว พร้อมดึงพี่ GON ร่วมสร้างสีสัน เอาใจสายเฮลท์ตี้ แถมโปรโมชั่นสุดคุ้มชุดประหยัดหมู 2…
เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…