บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับขยะอาหารและโภชนาการอาหารผ่านโครงการโรงเรียนรักษ์อาหารให้กับ 6 โรงเรียนในจังหวัดสมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
โครงการโรงเรียนรักษ์อาหาร เป็นโครงการที่ให้ความรู้แก่นักเรียนและคุณครูเกี่ยวกับวิธีการจัดการปัญหาเรื่องขยะอาหาร เช่น การนำไปทำเป็นปุ๋ยหมัก การสร้างความเข้าใจเรื่องอาหารส่วนเกินคืออะไร และมีวิธีการลดอย่างไรที่จะช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารได้ รวมถึงผลกระทบของขยะอาหารที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ยังมีการให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหารและการรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อการมีสุขภาพที่ดี
นอกจากนี้ ยังมีการสอนอ่านฉลากโภชนาการที่อยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหารเช่น ปริมาณพลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่ได้จากการรับประทาน เพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกซื้ออาหารอย่างชาญฉลาดเมื่อต้องซื้ออาหารด้วยตนเอง
ปัจจุบันมีนักเรียนกว่า 180 คนจากโรงเรียนวัดศรีสุทธาราม โรงเรียนวัดอ่างทอง โรงเรียนกุศลวิทยา โรงเรียนวัดใหญ่จอมปราสาท โรงเรียนบ้านโรงเข้ และโรงเรียนวัดเขายี่สาร เข้าร่วมในเวิร์กชอปภายใต้โครงการโรงเรียนรักษ์อาหาร ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2565 ซึ่งเป็นหนึ่งในความพยายามดำเนินงานของไทยยูเนี่ยนเพื่อส่งเสริม “การมีสุขภาพที่ดี ควบคู่กับการดูแลท้องทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์”
“โครงการนี้ เป็นโครงการที่จะทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องอาหารอย่างยั่งยืน สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้พวกเขาได้มีทักษะการบริโภคอาหารที่ดีต่อร่างกาย ถูกหลักโภชนาการ มองเห็นคุณค่าของอาหารใกล้ตัว และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากทิ้งอาหารส่วนเกินและเศษอาหารไปในสิ่งแวดล้อม และต้องการสร้างความตระหนักว่า ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมช่วยเหลือสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เด็กทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหานี้โดยอาจไม่รู้ตัว โครงการนี้เป็นต้นแบบที่ดีที่เราต้องการขยายแนวคิดเรื่องการจัดการอาหารเป็นบทเรียนที่ถูกบรรจุลงในหลักสูตรการศึกษาในยุคใหม่นอกจากนี้เราต้องการให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่สังคมไร้ขยะอาหาร และไร้ผู้หิวโหยไปด้วยกัน” ศศิวรรณ ใจอาสา เจ้าหน้าที่ประสานงานชุมชนอาวุโส มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ กล่าว
อดัม เบรนแนน ผู้อำนวยการกลุ่มความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยน กล่าวว่า “ขยะอาหารเป็นความท้าทายสำคัญระดับโลก และขยะอาหารนี้ยังเป็นตัวการในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย ทุกคนสามารถมีส่วนในการแก้ปัญหาเพื่อลดและหยุดสร้างขยะอาหารโดยการเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ทำอาหารในปริมาณที่เราสามารถรับประทานได้ และซื้ออาหารเฉพาะที่เราต้องการเท่านั้น ภายใต้โครงการโรงเรียนรักษ์อาหาร เรากำลังให้ความรู้นักเรียนด้วยการสร้างความเข้าใจเรื่องการจัดการขยะอาหาร เพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้ตระหนักมากขึ้นว่า การกระทำของพวกเขาสามารถช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมได้มากเพียงใด”
ไทยยูเนี่ยน มีการตั้งเป้าหมายในเรื่องของขยะอาหาร โดยในปี 2564 บริษัทได้ออกพันธกิจเรื่องการลดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร โดยมีเป้าหมายที่จะลดการสูญเสียอาหารในการผลิตอาหารประเภทบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ อาหารทะเลแช่เย็นและแช่แข็งให้ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2568 เปรียบเทียบกับตัวเลขฐานปี 2564 นอกจากนี้ ไทยยูเนี่ยนยังมุ่งมั่นทำงานร่วมกับคู่ค้าและพันธมิตรของบริษัท เพื่อลดขยะอาหารที่ระดับค้าปลีกและผู้บริโภคอีกด้วย
ประเทศไทยมีขยะอาหารสูงถึง 9.68 ล้านตันต่อปี ซึ่งคิดเป็น 38 เปอร์เซ็นต์ของขยะทั้งหมด ในจำนวนนี้มีอาหารส่วนเกินที่ยังทานได้ปะปนอยู่ถึง 39 เปอร์เซ็นต์ของอาหารที่ถูกทิ้งทั้งหมด จากการศึกษาของมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ โดยทางมูลนิธิฯ แนะนำวิธีการ 3 ขั้นตอนง่ายๆ ซึ่งทุกคนสามารถทำได้เพื่อลดขยะอาหารในครัวและยังได้ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ดังนี้
สถานที่บริจาค: https://goo.gl/maps/YNPiXBXMrFZaUzwRA
เซ็นทรัลพัฒนา รายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2567 ทำรายได้รวม 12,284 ล้านบาท กำไรสุทธิ 4,126 ล้านบาท ผนึก 'ฮิลตัน' เปิดตัวโรงแรมใหม่ "ฮิลตัน…
นายธีรยุทธ ศักดิ์วิลาสตระกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มทรัพยากรบุคคล รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานทรัพยากรบุคคลบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เข้ารับมอบใบรับรอง CAC Certified จาก นายทศพร รัตนมาศทิพย์ กรรมการ CAC ในงาน CAC Certification Ceremony ครั้งที่ 2/2024 ภายใต้แนวคิด…
ไปรษณีย์ไทย เดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจอีคอมเมิร์ซและการค้าระหว่างประเทศจากไทยสู่เวียดนาม โดยมุ่งใช้ 3 เส้นทางการขนส่งที่สำคัญ ได้แก่ เส้นทางอากาศ เส้นทางภาคพื้น และทางราง พร้อมจับมือการไปรษณีย์เวียดนามพัฒนาบริการไปรษณีย์ภายใต้กรอบความร่วมมือของการไปรษณีย์อาเซียน (ASEANPOST) เดินหน้ายกระดับอีคอมเมิร์ซของทั้ง 2 ประเทศ เตรียมนำสินค้าเมดอินไทยแลนด์และเวียดนาม…
งานวิจัยล่าสุดจากแพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการท่องเที่ยวอโกด้าเผยว่า กฎหมายสมรสเท่าเทียมของไทยจะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 4 ล้านคนต่อปี และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเกือบ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ภายใน 2 ปีหลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ งานวิจัยเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากกฎหมายสมรสเท่าเทียมต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ซึ่งจัดทำโดยอโกด้าร่วมกับบริษัท Access Partnership ได้ประเมินถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่ประเทศไทยจะได้รับจากการบังคับใช้กฎหมายสมรสเพศเดียวกันในวันที่ 22 มกราคม 2568 โดยประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับรองกฎหมายนี้ และเป็นประเทศที่สามในเอเชีย รองจากไต้หวันในปี 2562 และเนปาลเมื่อปีที่แล้ว กฎหมายดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ประเทศไทยดึงดูดนักท่องเที่ยว LGBTQIA+ ทั่วโลก ซึ่งมีมูลค่ากว่า 200 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี รายงานยังได้คาดการณ์ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่จะแพร่กระจายไปสู่เศรษฐกิจไทยในวงกว้างจากการบังคับใช้กฎหมายนี้ โดยคาดว่าใน 2 ปี จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น 4 ล้านคนต่อปี ซึ่งจะสร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างมากดังนี้ เพิ่มรายรับจากการท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยกระจายไปยังหลายภาคส่วน…
บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนระดับสูงสุดในอุตสาหกรรม Oil & Gas Refinery and Marketing จากการประเมินของ S&P Global…
• ราคาจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ ‘ฮอนด้า เอชอาร์-วี อี:เอชอีวี ใหม่’ มาพร้อมราคาแนะนำช่วงเปิดตัว 899,000 บาท* ในรุ่น e:HEV E จำนวนจำกัด เพื่อให้เป็นเจ้าของได้ง่ายขึ้น โดยมาพร้อมข้อเสนอรับฟรีประกันภัย…