ในประเทศไทยเรามีความพยายามจัดวางแนวทางผังเมืองใหม่ ด้วยการนำแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD (Transit Oriented Development) มาใช้นับตั้งแต่มีการพัฒนาเส้นทางรถไฟฟ้าระบบราง แต่การพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้า ก็ยังไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นระบบการบริหารจัดการพี้นที่ตามแนวทางของ TOD อย่างเต็มที่ แต่มีแนวโน้มเข้าข่ายลักษณะที่เรียกว่า TAD (Transit Adjacent Development) ที่เน้นการพัฒนาแค่พื้นที่รอบสถานีรถไฟเพียงอย่างเดียว แต่ด้วยรูปแบบการพัฒนาที่อยู่ใกล้สถานีขนส่งมวลชน จึงทำให้หลายคนเกิดความสับสนว่าแท้จริงแล้วพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าของกรุงเทพมหานครนั้นควรเรียกว่า TOD หรือ TAD กันแน่
เมื่อมองไปยังพื้นที่ใจกลางเมืองกรุงเทพเราจะเห็นได้ว่า มีอาคารสำนักงาน และที่อยู่อาศัยใหม่ ผุดขึ้นมากมายรอบพื้นที่สถานีรถไฟฟ้า บางอาคารได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีเส้นทางเดินเชื่อมต่อกับตัวสถานี แต่กระนั้นก็ยังไม่ดีเพียงพอที่จะเรียกว่าเป็นการพัฒนาแบบ TOD ยังคงเป็นเพียงการพัฒนาแบบ TAD เท่านั้น เพราะการพัฒนาในรูปแบบ TOD ต้องประกอบไปด้วยการพัฒนา 4 ด้านที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นรูปธรรมได้แก่
1.High Density/ Mixed-Use การใช้ที่ดินแบบผสมผสาน
การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยแนวทางของ TOD คือการผสมผสานการใช้งานพื้นที่ ให้มีทั้ง ที่อยู่อาศัย สำนักงาน ศูนย์การค้า อยู่รวมกันในพื้นที่เดียวกัน เพื่อเกิดประสิทธิภาพในการใช้งานที่ดินมากที่สุด ซึ่งการพัฒนาแบบ TAD ในด้านนี้สามารถทำได้ใกล้เคียงกับ TOD อย่างเช่น พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าของกรุงเทพมหานคร มีการขยับปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน เริ่มมีการสร้างอาคารสูง เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย หรือสำนักงาน ในบริเวณที่มีประชากรเบาบางหรือเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่เส้นทางรถไฟฟ้านั้นเข้าถึง
–บิทคับแจง หลังคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ มีคำสั่งเปรียบเทียบปรับ บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด กรณีเหรียญ KUB (Bitkub Coin)
–เบ็นคิว เปิดตัวโปรเจคเตอร์เกมมิ่ง X3000i ปลดล็อกอาณาจักรเกม Open World ให้สมจริง
ในบางโครงการมีการพัฒนาเป็นพื้นที่สำนักงาน ศูนย์การค้า และคอนโดมิเนียมอยู่ในโครงการเดียวกัน รวมทั้งลงทุนสร้างเส้นทางเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้าตามแนวทางในการพัฒนาแบบ TOD อย่างไรก็ตามในกรณีศึกษาของเมืองแฮร์ริส เคาท์ตี้ รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ได้มีการพัฒนาเมืองในรูปแบบ TAD พบว่าเมืองนี้มุ่งเน้นการจัดการบริหารพื้นที่รอบสถานีขนส่งให้มีความหลากหลายไปตามการลงทุน โดยขาดการวางแผนล่วงหน้า
ส่งผลให้พื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งซึ่งเดิมทีเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม กลายเป็นพื้นที่การค้าและที่อยู่อาศัยมากขึ้น ราคาที่ดินสูงขึ้น มีการเติบโตของเมืองอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน เป็นการเติบโตอย่างไร้ทิศทาง สร้างความเหลื่อมล้ำของชนชั้น และทำให้วัฒนธรรมของเมืองนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง
2.Linkage โครงข่ายทางเดินเท้าและเส้นทางจักรยาน
การพัฒนาในรูปแบบของ TOD สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ การออกแบบวางโครงข่ายทางเดินเท้าเชื่อมต่อพื้นที่ต่างๆ โดยรอบสถานีขนส่งสาธารณะในรัศมีประมาณ 400 – 600 เมตรเข้าด้วยกัน ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ของเมืองได้ด้วยการเดินเท้าอย่างสะดวกและปลอดภัย
แต่สำหรับการพัฒนาแบบ TAD การสร้างโครงข่ายทางเดินเท้าจะถูกเชื่อมต่อในระยะสั้นระหว่างตัวอาคารกับสถานีขนส่ง หากประชาชนต้องการเดินเท้าจากสถานีขนส่ง ไปถึงที่พักหรืออาคารสำนักงานที่อยู่ห่างไกลออกไป มักจะพบทางเดินเท้าที่คับแคบ ไม่ปลอดภัย และไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่บางส่วนของเมืองด้วยการเดินได้
ยกตัวอย่างในกรุงเทพมหานคร เราจะเห็นได้ว่าทางเดินเท้าที่สะดวกสบายมักจะเชื่อมต่อเฉพาะสถานีรถไฟฟ้ากับศูนย์การค้า แต่ถ้าเราเดินไปในเส้นทางอื่นนอกเหนือจากจุดที่เชื่อมต่อไว้ เราจะพบกับทางเดินเท้าที่ไม่เป็นมิตรกับผู้ใช้ มีหลุมบ่อและบางจุดเราอาจพบทางม้าลายที่ถูกขวางกั้น ด้วยขอบกันชนเสาสะพานข้ามแยก เป็นลักษณะของการขาดการวางแผนสร้างโครงข่ายทางเดินเท้ารอบสถานีขนส่งสาธารณะ โดยขาดความคำนึงเรื่องความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของประชาชนต่างกับ TOD ที่มีการวางแผนเส้นทางเดินเท้าขึ้นมาอย่างเป็นระบบเชื่อมต่อถึงกัน มีทางเดินกว้างขวาง ปลอดภัย และน่าเดินมากกว่า
3.Amenities สิ่งอำนวยความสะดวก
สิ่งอำนวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็นศูนย์การค้า หรือศูนย์ให้บริการด้านต่างๆ ในพื้นที่ ล้วนสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะทั้งสิ้น ตามแนวทางของ TOD สิ่งอำนวยความสะดวกนั้นมีความหมายถึง ร้านอาหาร ศูนย์การค้า ร้านจำหน่ายสินค้าประเภทต่างๆ สวนสาธารณะ ฟิตเนสออกกำลังกาย สถานีตำรวจ คลินิกแพทย์ ไปรษณีย์ และสิ่งจำเป็นต่างๆ ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน สามารถแวะใช้บริการได้ในย่านสถานีขนส่ง ก่อนไปทำงานและกลับบ้านโดยไม่จำเป็นต้องแวะเดินทางไปที่อื่น
แม้การพัฒนาพื้นที่แบบ TAD จะเปิดให้มีพื้นที่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนแต่ TAD จะไม่มีแผนในการจัดหาพื้นที่สีเขียว ให้ประชาชนได้ใช้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมทั้งแผนในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบถ้วน TAD จะปล่อยให้พื้นที่เติบโตไปตามการลงทุนที่เข้ามา ทำให้พื้นที่นั้นเสี่ยงต่อการเติบโตอย่างไร้ทิศทาง และนำไปสู่แหล่งเสื่อมโทรม เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในเมืองใหญ่มาแล้วทั่วโลก
4.Non – Motorized ลดการใช้พาหนะส่วนบุคคล
เป้าหมายสูงสุดคือพัฒนาสภาพแวดล้อมในพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะแบบ TOD คือ สร้างแรงจูงใจแก่ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะให้มากที่สุด ด้วยการสร้างที่จอดรถขนาดใหญ่ไว้เป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางเข้าเมือง สร้างโครงข่ายทางเดินเท้าที่น่าเดิน มีเส้นทางปั่นจักรยานสำหรับประชาชนที่อยู่ห่างไกลจากสถานีเกินระยะ 600 เมตร วางแผนกำหนดพื้นที่พัฒนารองรับความต้องการของคนเมืองในอนาคตระยะยาว
แต่สำหรับการพัฒนาแบบ TAD นั้นมุ่งเน้นเพียงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางระบบขนส่งสาธารณะแต่ไม่ได้คำนึงถึงการสนับสนุนให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ด้วยการสร้างแรงจูงใจต่างๆ เช่นมีพื้นที่จอดรถส่วนบุคคลก่อนเดินทางด้วยรถไฟฟ้าระบบราง มีโครงการข่ายทางเดินเท้าที่สะดวกสะบาย หรือเส้นทางจักรยานที่ทำให้ประชาชนอยากใช้ระบบขนส่งสาธารณะ เช่นเดียวกับกรณีของกรุงเทพมหานคร แม้จะมีการพัฒนาที่ดินโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าเกิดขึ้นมากมาย แต่ก็ยังไม่สามารถจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากพอที่จะบรรเทาปัญหาสภาพการจราจรได้
ทั้งหมดนี้เราจึงสรุปได้ว่า TAD พัฒนาแค่เพียงพื้นที่รอบสถานีขนส่งสาธารณะ ตามความต้องการของนักลงทุน โดยขาดทิศทางรองรับการขยายตัวของเมือง ไม่สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อจูงใจให้ประชาชนหันมาใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ ต่างกับแนวทางของ TOD ที่คำนึงถึงการใช้งานในชีวิตประจำวันของผู้คน ที่ต้องการเข้าถึงสถานีขนส่งอย่างสะดวกสบาย ใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่โดยรอบสถานีอย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกด้าน
ข้อมูลจาก : บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด, www.kinder.rice.edu
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…