MQDC ระดมทีมนักวิจัย 4 องค์กรใหญ่ เปิดเวทีเสวนา เมืองเปลี่ยน คนต้องปรับ รับมือวิกฤตอย่างไร

MQDC ระดมทีมนักวิจัย 4 องค์กรใหญ่ เปิดเวทีเสวนา เมืองเปลี่ยน คนต้องปรับ รับมือวิกฤตอย่างไร

MQDC (Magnolia Quality Development Corporation Limited) จัดเวทีเสวนาระดับชาติ MQDC Sustainnovation Forum 2022 ภายใต้หัวข้อ “เมืองเปลี่ยน คนต้องปรับ รับมือวิกฤตอย่างไร” เพื่อร่วมนำเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมรับมือวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นจากความเปลี่ยนแปลงของเมือง

วิสิษฐ์ มาลัยศิริรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) กล่าวว่า “ในฐานะผู้พัฒนาโครงการคุณภาพระดับสากลในประเทศไทย ทำให้ MQDC เล็งเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในมิติต่าง ๆ ของเมือง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้คนในสังคมที่ต้องอาศัยโครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้นในการดำรงชีพ MQDC จึงต้องการนำเสนอแนวทางการพัฒนาเมืองและวิธีการรับมือกับวิกฤตทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยการจัดเสวนาระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านการออกแบบเมือง นวัตกร ทีมนักวิจัยและวิเคราะห์เมือง

รวมถึงผู้สนใจด้านการพัฒนาเมืองและคนรุ่นใหม่ เพื่อช่วยกันกำหนดองค์ประกอบและทิศทางของเมืองแห่งอนาคตไปสู่เมืองพลวัตร (Resilient City) ที่เอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ซึ่งสอดคล้องตามปรัชญาการดำเนินธุรกิจของ MQDC “For All Well-Being” ทั้งนี้ MQDC ยังมุ่งหวังที่จะเป็นองค์กรที่ส่งต่อองค์ความรู้ให้กับสังคมโดยรวม โดยจะมีการจัดกิจกรรมเสวนาแบบนี้อีกครั้งต่อ ๆ ไปในหัวข้อที่เป็นความรู้และประโยชน์ในการใช้ชีวิตแก่ประชาชนทั่วไป”

งานเสวนา MQDC Sustainnovation Forum 2022 ประกอบไปด้วย 4 องค์กรสำคัญทั้ง Futuretales Lab, RISC, Creative Labและ Unisus-EEC เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครฯ ในฐานะ Resilient City ไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมและยั่งยืนมากที่สุด และแสดงถึงจุดยืนของ MQDC ที่มุ่งมั่นเป็นหนึ่งในการเป็น “ผู้บุกเบิกพัฒนานวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน” (Pioneering in Sustainnovation) ทั้งในมิติการออกแบบ การพัฒนาที่อยู่อาศัยและการบริหารจัดการเมือง ในยุคที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

EIC ชี้เป้า ตลาดบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดยังโตแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในปริมณฑล ด้วยการขยายตัวของเมืองไปพื้นที่รอบนอก

ปัจจุบัน ความเปลี่ยนแปลงและวิกฤตสิ่งแวดล้อมกำลังถาโถมสู่อารยธรรมมนุษย์ โดยเฉพาะกับมหานครและเมืองใหญ่ทั่วโลก รวมถึงกรุงเทพมหานครฯ ซึ่งกำลังประสบกับภาวะวิกฤตสิ่งแวดล้อมและภัยธรรมชาติต่าง ๆ รวมถึงมลภาวะที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่อาศัยและพัฒนาเมืองในหลาย ๆ ด้านทั้งปัญหาน้ำท่วม ฝุ่นควัน ในขณะที่เมืองใหญ่ทั่วโลกก็กำลังเผชิญกับวิกฤตที่ร้ายแรงไม่แพ้กัน ทั้ง ความผันผวนของฤดูกาล ปรากฏการณ์คลื่นความร้อน การละลายของธารน้ำแข็ง และภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าในอดีต วิกฤตเหล่านี้กระตุ้นให้เราทุกคนต้องปรับตัว มิใช่แค่ระดับกายภาพ แต่เป็นการปรับเปลี่ยนในระดับวิธีคิด เพื่อใช้ชีวิตที่มีความยืดหยุ่นในสังคมเมืองแบบ Resilient City เพื่อให้สามารถรับมือ ปรับตัว และฟื้นฟูจากวิกฤตต่าง ๆ ทั้งจากภัยธรรมชาติและสภาพสังคมได้อย่างรวดเร็ว

เนื่องจาก MQDC มุ่งเน้นพัฒนาโครงการเพื่อสร้างที่อยู่อาศัยและสังคมเปี่ยมสุขให้ทุกผู้คนและทุกสรรพสิ่ง บริษัทฯ จึงให้ความสำคัญกับการทำวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ MQDC ก้าวไปถึงเป้าหมาย ด้วยเหตุนี้ MQDC จึงจัดตั้งศูนย์วิจัยเอกชนสามแห่งแรกของภาคอสังหาริมทรัพย์ไทย ได้แก่ ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Research & Innovation for Sustainability Center: RISC) ที่มุ่งเน้นการทำงานวิจัยและบูรณาการหลายศาสตร์ เพื่อสร้างความอยู่ดีมีสุขของทุกสรรพสิ่ง (For All Well-Being) ผ่านการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ภายใต้ RISC 5 Research Hubs ได้แก่

  1. Plants & Biodiversity: ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ
  2. Air Quality: ศึกษาปัจจัยในการสร้างคุณภาพอากาศที่ดีทั้งภายในและภายนอกอาคาร
  3. Happiness Science: ศึกษาการทำงานของสมองเพื่อสร้างความสุขด้วยวิทยาศาสตร์
  4. Materials & Resources: ศึกษาวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และดีต่อสุขภาวะ
  5. Resilience: ศึกษาด้านความเสี่ยงและภัยพิบัติในสภาพแวดล้อมเพื่อวางแผนรับมือ

MQDC Sustainnovation Forum 2022

นอกจากนี้ ยังมีศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา ฟิวเจอร์เทลส์ แล็บ (FutureTales Lab) ที่ศึกษาวิจัย คาดการณ์อนาคตและแนวโน้มการอยู่อาศัยในสังคมเมือง เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการพัฒนาโครงการอสังหาฯ ที่จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนตามยุคสมัยใหม่ได้สมบูรณ์แบบมากที่สุด รวมถึง ครีเอทีฟ แล็ป (Creative Lab by MQDC) ซึ่งจะทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการของมนุษย์ เพื่อนำเสนอนวัตรกรรมของการออกแบบประสบการณ์ (Experience Innovation) ไปจนถึงวิธีคิดทางธุรกิจแบบใหม่ ๆ รวมถึงการทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างกลุ่มบริษัทอีอีซี เป็นวิศวกรที่ปรึกษาชั้นแนวหน้าที่มีผลงานทั้งในและต่างประเทศมามากกว่า 46 ปี รวมทั้ง The Forestias

และล่าสุดได้ร่วมทุนกับ MQDC และ B Grimm จัดตั้งบริษัท Unisus Green Energy เป็นธุรกิจ Green Energy ซึ่งจะช่วยลดวิกฤตภูมิอากาศโลก เป็นผู้พัฒนาและให้บริการระบบ District Cooling System, District Drinking Water System, On-site Power Generation, Renewable Energy / Energy Storage รวมทั้งเป็น Utility Company

งานเสวนา MQDC Sustainnovation Forum 2022 นำเสนอกลุ่มผู้บรรยายชั้นนำในด้านการพัฒนาเมืองจากศูนย์วิจัย 3 แห่ง รวมถึงพันธมิตรอย่างยูนิซัส ซึ่งได้มาร่วมแบ่งปันแนวคิด องค์ความรู้ และแนวโน้มของเมืองพลวัตร (Resilient City) ในหัวข้อที่น่าสนใจต่าง ๆ ได้แก่

  • ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร FutureTales Lab หัวข้อ “How Future Cities will be Transformed: เมืองในอนาคตจะเปลี่ยนไปอย่างไร” ฉายภาพฉากทัศน์ของเมืองแห่งอนาคต รวมถึงองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดรูปแบบเมืองพลวัตรแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Resilient City ) ตลอดจนการคาดการณ์อนาคตรูปแบบไลฟ์สไตล์ของคนเมืองในอีก 5-10 ปีข้างหน้
  • รศ.ดร.สิงห์ อินทรชูโต หัวหน้าคณะที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) หัวข้อ “Resilience Framework for Resilient City : กลยุทธ์การรับมือเพื่อเมืองแห่งอนาคต” การเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และแนวทางการรับมือกับอนาคตที่ไม่แน่นอน  ผ่าน Resilience Framework ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน (Sustainnovation) และกลยุทธ์การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และเมืองที่ยั่งยืน
  • ภารุต เพ็ญพายัพ ผู้อำนวยการอาวุโส ครีเอทีฟ แล็ป (Creative Lab) และผู้อำนวยการโครงการ MQDC Metaverse หัวข้อ “From Urbanscape to Humanscape: ปรับอย่างไร ให้คนและเมืองอยู่อย่างยั่งยืน” กล่าวถึง Creative Solutions ในการสร้าง Urban Resilience ที่จะมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดแก่ประชาชนผู้อยู่อาศัย  รวมถึงการกำหนดให้มนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางของการสร้างสรรค์ Urban Solution ใด ๆ ของเมือง ซึ่งต้องเป็นการสร้างสรรค์เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้คนเป็นสำคัญ
  • เกชา ธีระโกเมน ประธานคณะกรรมการ กลุ่มบริษัท EEC และประธานกรรมการ บริษัท ยูนิซัส กรีน เอ็นเนอร์จี จำกัด หัวข้อ “Engineering model for future urbanization: โมเดลวิศวกรรมสำหรับเมืองอนาคต” นำเสนอEngineering Solutions to “Retore” and “Reverse” Climate Crisis with New Mind Set  แนวทางด้านวิศวกรรมที่มีคำตอบมากมายเพื่อกู้และกลับทิศวิกฤตภูมิอากาศด้วยมุมมองใหม่

เวทีเสวนาวาระพิเศษนี้ยังได้ต้อนรับดาราสาวชื่อดัง เชอรี่-เข็มอัปสร สิริสุขะ ซึ่งเป็นคนไทยเพียงคนเดียวที่สำเร็จหลักสูตรการบริหารจัดการธุรกิจเพื่อความยั่งยืนจากมหาวิทยาลัย Oxford ซึ่งได้มาแชร์องค์ความรู้แก่ผู้ร่วมงานเสวนา เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมได้อย่างยั่งยืนในทุกมิติ

งานครั้งนี้ได้รับความสนใจอย่างมาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเมือง นวัตกร ทีมนักวิจัยและวิเคราะห์เมือง โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั้งนักเรียนนักศึกษาที่สนใจด้านการพัฒนาเมืองและการออกแบบที่อยู่อาศัย เข้าร่วมงานเสวนาอย่างคับคั่งเพื่อร่วมตั้งคำถาม หาคำตอบ และทำความเข้าใจทุกความเปลี่ยนแปลงของเมืองเพื่อการรับมือและการสร้างสรรค์สังคมอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ หัวข้อของเวทีเสวนายังมีความสอดคล้องอย่างมากกับนโยบายของกรุงเทพมหานครในการสร้างเมืองใหม่ ผ่านการเร่งรัดโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งถนน สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เส้นทางรถไฟฟ้า อุโมงค์เชื่อมต่อ รวมถึงโครงการด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการพัฒนาเมืองแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน

“วัตถุประสงค์หลักของการจัดงาน MQDC Sustainnovation Forum 2022 ครั้งนี้ คือการเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนกรุงเทพมหานครฯ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อม สุขภาวะ การบริหารเมือง การออกแบบและโครงสร้างของเมือง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของทางกรุงเทพมหานคร รวมถึงการส่งต่อองค์ความรู้จากทีมนักวิจัย เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ตระหนักรู้ พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงของเมืองในอีกหลายปีข้างหน้า และสามารถนำองค์ความรู้เชิงปฏิบัติที่ MQDC ได้ศึกษามา ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตในปัจจุบันได้อย่างเป็นรูปธรรม” วิสิษฐ์ กล่าวสรุป

Scroll to Top